ประวัติ

ประวัติ

 ประวัติพระปัญญาภิษารเถร (ศุก)
00019

ประวัติพระปัญญาภิษารเถร (ศุก)
พระปัญญาภิศาลเถร หรือพระอาจารย์ศุก ท่านเกิดประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๗๘ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ท่านบรรพชา-อุปสมบท ณ วัดโคกขวิด (โคกมะขวิด) แขวงอยุธยา อุปสมบทแล้วเล่าเรียนพระปริยัติ และพระกรรมฐาน ในสำนัก
พระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้ออกสัญจรจาริกธุดงค์ หาความสงบ วิเวก ไปตามสถานที่ต่างๆ
ไปกับหมู่คณะบ้าง ไปลำพังเพียงองค์เดียวบ้าง จนท่านมีความชำนาญ ในการออกป่า
ขากลับจากรุกขมูล ท่านพบพระอาจารย์สุก ที่ป่าชุมแพ (อยุธยา) แขวงสิงห์บุรี
พระอาจารย์สุก ทรงสอนวิชาพระกรรมฐานชั้นสูง โดยให้ท่านศึกษาวิชาสงัดจิต สงัดใจ
เพ่งจิตให้สงบวิเวก วังเวง อธิฐานอาโปธาตุ ลงไปในน้ำ ทำให้เย็น ทำให้ร้อน ทำให้เดือด
ท่านได้พบไม้เท้าเถาอริยะในถ้ำแห่งหนึ่ง ท่านนำติดตัวไป-มาเสมอ เป็นไม้เท้า
ของเก่า ของบูรพาจารย์ แต่โบราณกาล ท่านพบในถ้ำป่าลึกแห่งหนึ่ง
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗ ท่านจาริกกลับจากป่า มาวัดท่าหอย ทราบข่าวว่า
พระอาจารย์สุก และคณะสงฆ์อนุจร มาสถิตอยู่วัดพลับ ท่านจึงเดินทางออกจากวัดท่าหอย พร้อมเพื่อนสหธรรมิก มาวัดพลับ เพื่อช่วยกิจการพระศาสนา ต่อมาพระญาณ
สังวรเถร (ศุก) ตั้งให้ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครู
วิปัสสนาธุระที่ พระครูธรรมสถิต เป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐาน ในวัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ พระครูธรรมสถิต (ศุก) ได้รับพระราชทานเลื่อน
สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระปัญญาภิษารเถร โปรดเกล้าฯ ให้
ไปครองวัด โปรดเกษเชษฐาราม วัดอรัญวาสีหัวเมือง สืบสายพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ชาวบ้านแถวเมืองนครเขื่อนขันธ์ ให้
ฉายานามท่านว่า ท่านท่าหอย เนื่องจากท่านมีปฏิปทา มีเมตตา เหมือนสมเด็จพระอาจารย์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๗ ประมาณกลางปี พระปัญญาภิษารเถร (ศุก) อาพาธ
ลงด้วยโรคชรา และได้มรณะภาพลง เมื่อสิริมายุได้ประมาณ ๘๘ ปีเศษ ณ วัดโปรดเกษ
เชษฐาราม เมืองนครเขื่อนขันธ์

 
 

00018 ประวัติพระครูกิจานุวัตร(สี)

ประวัติพระครูกิจานุวัตร(สี)
พระครูกิจจานุวัตร หรือพระอาจารย์สี ท่านเกิดประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๗๙ รัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ แขวงเมืองนครสวรรค์ บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดพระ
ศรีฯ เมืองนครสวรรค์
ท่านพบ กับพระอาจารย์สุก ที่ป่าดงพญาเย็น แขวงอุตรดิตถ์ ท่านมีความศรัทธา
เลื่อมใสในพระอาจารย์สุก ต่อมาท่านได้ขอศึกษาวิชากรรมฐานชั้นสูง พระอาจารย์สุก
ได้สอนวิชาแยกธาตุขันธ์ วิชาสลายธาตุขันธ์ ให้กับพระอาจารย์สี ไว้เจริญวิปัสสนา
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๐ สมัยธนบุรี ท่านทราบข่าวว่าพระอาจารย์สุก
มาสถิตวัดท่าหอย ท่านจึงจาริกติดตามมาอยู่ที่วัดท่าหอยด้วย และได้ช่วยพระอาจารย์สุก
ทำอุปสมบทกรรมอุปสมบท
ต่อมาพระอาจารย์สุก ได้มอบไม้เท้าเบิกไพร ที่เรียกว่า ไม้เท้าเถาอริยะ ที่
พระองค์ท่านได้มาจากถ้ำแห่งหนึ่งในป่าลึก อันเป็นของบูรพาจารย์ มาแต่โบราณกาล ซึ่ง
ท่านมาละสังขาร พร้อมทิ้งไม้เท้าเถาอริยะนี้ไว้ในถ้ำแห่งนั้น พระองค์ท่าน ทรงประทาน
ไม้เท้าเถาอริยนี้ให้ กับพระอาจารย์สี ไว้ใช้เบิกไพร เปิดทาง แหวกทาง แผ่เมตตา เวลา
สัญจรจาริกธุดงค์ ออกป่าเขาลำเนาไพร
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗ ท่านกลับออกมาจากป่า ถึงวัดท่าหอย ทราบข่าวว่า
พระอาจารย์สุก มากรุงเทพฯ สถิตวัดพลับ ท่านจึงเดินทางจาริกมา วัดพลับ พร้อมด้วย
เพื่อนสหธรรมิก มาช่วยพระอาจารย์สุก พระอาจารย์ ของท่านในกิจการต่างๆ ภายในวัด
พลับ ต่อมาพระญาณสังวรเถร (สุก) ตั้งท่านให้ช่วยดูแลพระกรรมฐาน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ท่านเป็นพระถานานุกรม ของสมเด็จพระญาณสังวร
ที่พระครูสมุห์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ ท่านพระครูสมุห์สี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
เป็นพระครูฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระครูกิจจานุวัตร
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ - ๒๓๖๕ เป็นคณะกรรมการสังคายนาพระกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับ และเป็นคณะกรรมการหล่อพระรูป สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๖ ท่านอาพาธด้วยโรคชรา และถึงแก่มรณะภาพด้วย
อาการสงบ เมื่ออายุได้ ๘๖ ปีเศษ ได้ทำการพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดราชสิทธาราม

 
 

 ประวัติพระธรรมรัตนวิสุทธิ์

 

ประวัติพระธรรมรัตนวิสุทธิ์
พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ มีนามเดิมว่า พลายงาม นามสกุล บุญชัย เกิดวันอังคาร ขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ บิดาชื่อง้วน มารดาชื่อ
ลุ่ย บ้านเลขที่ ๒๐ หมู่๕ ตำบลท่าเสา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี บรรพชาเป็น
สามเณร วันจันทร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๕ พฤษาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระ
ครูวรวัตรวิบูรณ์ เจ้าคณะอำเภอท่ามะกา วัดท่าเรือ เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบท วันพฤหัสบดี แรม ๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๕ มีนาคม
พ.ศ. ๒๔๙๖ ณ. พัทธสีมา วัดปากบาง ตำบลท่าเสา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
พระครูจริยาภิรัต เจ้าคณะอำเภอท่ามะกา วัดลูกแก ตำบลดอนขมิ้น จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้ว ศึกษาพระกรรมฐาน กับพระครูจริยาภิรัต ต่อมาศึกษา
พระปริยัติธรรมบาลี
พ.ศ. ๒๔๙๐สำเร็จวิชาชั้นประถมศึกษาสมบูรณ์ โรงเรียนประชาบาล วัดปากบาง
พ.ศ. ๒๔๙๘ สอบได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดสนามชัย ต.เจ็ดเสมียญ อ.โพ
ธาราม จ.ราชบุรี
พ.ศ.๒๕๐๔ เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตาม พระศากยบุตติวงศ์ (อยู่) มาวัดราชสิทธา
ราม และเป็นพระปลัด ถานานุกรม ของพระศากยบุตติวงศ์ด้วย
พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นพระครูปลัด ถานานุกรม ของพระราชวิสุทธิญาณ (อยู่) วัดราช
สิทธาราม
พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม
พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวิบูลสาธุวัตร (จ.ป.ร.)
พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม พ.ศ.๒๕๑๗ เลื่อนเป็นพระครู
ชั้นเอก รองเจ้าอาวาส(รจล.ชอ.)
พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระพิพัฒนวิริยาภรณ์
พ.ศ. ๒๕๒๕ รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม และเป็นเจ้าอาวาสวัดราช
สิทธาราม
พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับพระบัญชาเป็น พระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะแขวงวัดอรุณ
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชพิพัฒนาภรณ์
พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นเจ้าคณะเขตบางกอกใหญ่
พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพศีลวิสุทธิ์
พ.ศ.๒๕๔๕เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมรัตนวิสุทธิ์

 พ.ศ. ๒๕๕๔ จัดพิธีสมโภชพระอาราม เนื่องในโอกาสวรสิทธิมงคล พระอนุจรครบ ๕๐ ปี พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ เมื่อ๑๙-๒๐ มิถุนายน

 

 
 

 ประวัติพระราชสังวรวิสุทธิ์

 

ประวัติพระราชสังวรวิสุทธิ์ (พระธรรมสิริชัย)
พระราชสังวรวิสุทธิ์ มีนามเดิมว่า บุญเลิศ นามสกุล ปรักมสิทธิ์ เกิดวันจันทร์
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ บิดาชื่อบุญเรื่อน
มารดาชื่อเขียน ตำบลบ้านกระแซง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
บรรพชาอุปสมบท วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ ตรงกับวันที่ ๕ มิถุนายน
๒๔๘๔ ณ. วัดบ้านนา อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พระครูบวรธรรมกิจ (เทียน) วัด
โบสถ์ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาทาง
พระพุทธศาสนาว่า โฆสโก อุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระกรรมฐาน กับพระครูบวรธรรม
กิจ (เทียน) ต่อมาศึกษาพระปริยัติธรรมบาลี แล้วย้ายมาศึกษาต่อที่ วัดอรุณราชวราราม
พ.ศ. ๒๔๗๔ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนวัดไก่เตี้ย ปทุมธานี
พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบนักธรรมเอกได้ ณ. สำนักเรียนวัดอรุณฯ
พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นพระครูธรรมธร ถานานุกรม ของพระธรรมไตรโลกาจารย์ (วน
ฐิติญาโน) วัดอรุณราชวราราม
พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นเจ้าคณะ๗ วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ และได้รับพระราชทานเป็น
พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงที่ พระครูประกาศสมณคุณ จ.ป.ร.
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตามพระศากยบุตติวงศ์ (อยู่) มาวัดราชสิทธา
ราม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสด้วย
พ.ศ. ๒๕๐๗ รักษาการเจ้าอาวาสวัดดอน และเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก
ในนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๑๒ รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระสังวร
กิจโกศล
พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับพระบัญชาเป็น เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์วิสามัญ
พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่
พระราชสังวรวิสุทธิ์
พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะแขวงวัดอรุณฯ
พ.ศ.๒๕๒๕ ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ต่อมาเป็นเจ้าคณะเขต
บางกอกใหญ่ ปัจจุบันเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมสิริชัย

พ.ศ. ๒๓๕๑ พระรรมสิริชัย มรณภาพ ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุ ๙๐ พรรษา๖๘

 
 

 ประวัติพระราชวิสุทธิญาณ

ประวัติพระราชวิสุทธิญาณ
พระราชวิสุทธิญาณ มีนามเดิมว่า อยู่ บิดาชื่อมี มารดาชื่อแย้ม นามสกุลคุ้มบุญ
มี เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.
๒๔๓๑ ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง
พ.ศ. ๒๔๔๗ อายุ ๑๔ บรรพชาเป็นสามเณร ในสำนักพระอาจารย์มี วัดอรุณ
ราชวราราม วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๑ อุปสมบท ณ. พัทธสีมา วัดอรุณราชวราราม
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็น พระธรรมโกษาจารย์ เป็น
พระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) วัดระฆัง ขณะคำรงสมณศักดิ์
เป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปัญญาคัมภีร์เถร (พุ่ม) วัด
อรุณราชวราราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วศึกษาพระกรรมมัชฌิมา แบบ
ลำดับ กับพระปัญญาคัมภีร์เถร(พุ่ม) ต่อมาศึกษาพระปริยัติธรรมบาลี
พ.ศ.๒๔๔๕ สอบได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๕๖ สอบนักธรรมตรีได้ สอบเปรียญธรรม ๔ ประโยคได้
พ.ศ. ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่๖ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ
สามัญที่ พระศากยบุตติวงศ์
พ.ศ.๒๔๘๘ ได้รับแต่งตั้งรักษาการ เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ
พ.ศ. ๒๕๐๔ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ย้ายมาคำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดราชสิทธา
ราม ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย
พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระ
ราชวิสุทธิญาณ
พ.ศ.๒๕๑๒มรณภาพลงด้วยโรคชราอายุได้๘๑พรรษา๖๐

 
 
 ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร(สอน)

ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร
พระสังวรานุวงศ์ มีนามเดิมว่า สอน ชาติภูมิ อยู่หลังวัดสังข์จาย ตำบลท่าพระ
อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี บิดาชื่อเอี่ยม มารดาชื่อบัว เกิดเมื่อวันอาทิตย์ แรม
๑๑ ค่ำ ปีวอก จัตวาศก ตรงกับวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๓๑๕ บรรพชาเป็น สามเณร ศึกษา
พระปริยัติธรรม อยู่ที่วัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๕ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ. พัทธสีมา วัดราชสิทธา
ราม สมเด็จพระวันรัตน์(แดง) วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระ
พุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) วัดระฆัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสังวรานุวงศ์เถร
(เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม เป็นอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้ว พรรษานั้น ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระสัวรา
นุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม จบสี่ห้องพระกรรม ออกพรรษาแล้วได้ออกสัญจร
จาริกธุดงค์ ไปตามสถานที่ต่างๆ กับพระอาจารย์ทุกปี
ศึกษาพระบาลี และหัดเทศ มหาเวศสันดรชาดก กับพระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม)
เฉพาะกัณฑ์ ทานกัณฑ์ กัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี ท่านเทศได้ไพเราะเพาะพริ้งนัก ถึงกับ
ถวายเทศหน้าพระที่นั่ง
ปีพระพุทธศักราช. ๒๔๓๘ เป็นพระใบฎีกา ถานานุกรม ของพระสังวรานุวงศ์ เถร (เอี่ยม)
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๔๓ สอบไล่ได้เป็น เปรียญ ๓ ประโยค
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูปริยัติโกศล
พระครูพิเศษ รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระราชา
คณะสามัญที่ พระปริยัติโกศล เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์ เป็นพระราชา
คณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระสังวรานุวงศ์เถร เสมอชั้นราช พระราชทานพัดแฉกพุ่ม ข้าวบิณฑ์
วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา อายุได้ ๘๕ พรรษา
๖๔ ครองตำแหน่งเจ้าอาวาส ๒๕ ปี

 
 

 พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)

พระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม) พระสังวรานุวงศ์เถร มีนามเดิมว่า ชุ่ม เป็นบุตรนายอ่อน โพอ่อน นางขลิบ โพ อ่อน เกิดที่ตำบลเกาะท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เมื่อวันพุธ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ ตรงกับวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ในต้นรัชกาลที่ ๔ ได้เล่าเรียนภาษาไทย ภาษาบาลี ในสำนักพระอาจารย์ทอง วัดราชสิทธาราม ตั้งแต่ ๑๐ ขวบ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๙ ในรัชกาลที่ ๔ อายุ ๑๓ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ในสำนัก พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ได้ศึกษาอยู่ตลอดมา ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๑๗ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์กลั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) และศึกษาพระกรรมฐานต่อกับ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ครั้งยังเป็นพระครู สังวรสมาธิวัตร แล้วได้ออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นประจำทุกปี ต่อมาได้รับสืบทอดไม้เท้า ไผ่ยอดตาล จากพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) องค์พระอุปัชฌาย์

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๑ เป็นเจ้าคณะหมวด เมื่อพรรษาได้ ๔ พรรษา ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๔ เป็นพระใบฏีกา ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๓ ของ พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๗ พรรษา ๑๐ เป็นพระสมุห์ ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๒ ของพระอมรเมธาจารย์ (เกษ) ในพรรษานั้นท่านได้รับแต่งตั้งจาก พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ให้เป็น พระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ พรรษาที่ ๑๒ ได้เป็นพระปลัด ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๑ ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูชั้นพิเศษ ตำแหน่งรองเจ้าอาวาสที่ พระครูสังวรสมาธิวัตร ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ ๗ บาท และในปีเดียวกันนี้ พระครูสังวรสมาธิวัตร(ชุ่ม) ได้รับแต่งตั้งเป็น พระคณาจารย์ เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระราชา คณะสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระสังวรานุวงศ์เถร รับพระราชทานพัดงาสาน เป็นองค์สุดท้ายของวัดราชสิทธาราม ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ ๑๒ บาท ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๘ พระสุธรรมสังวร (ม่วง) ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดราช สิทธาราม กลับไปวัดเดิม พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัด ราชสิทธาราม เป็นองค์ต่อมา และเป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี มณฑลธนบุรี นับเป็นองค์ สุดท้าย ที่เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ได้เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ประจำมณฑลธนบุรี และได้รับพระราชทานพัดงาสาน เป็นองค์สุดท้าย ของวัดราชสิทธาราม

ผู้คนทั้งหลาย ในสมัยนั้น เรียกขานนามท่านว่า ท่านเจ้าคุณสังวราฯ บ้าง หลวงปู่ชุ่มบ้าง ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานนิตยภัตเพื่มขึ้นอีก เดือนละ ๒ บาท รวมเป็น ๒๔ บาท เทียบพระราชาคณะชั้นราช ปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๐ พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ครองวัดราชสิทธารามแล้ว พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยท่านเจริญรุ่งเรื่องมาก มีพระเถรพระมหาเถร มาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับกันมากมาย มีปรากฏชื่อเสียงหลายท่านคือ พระภิกษุพริ้ง (พระครูประสาธสิกขกิจ ) วัดบางประกอก พระภิกษุสด(พระมงคลเทพ มุนี) วัดปากน้ำ พระภิกษุโต๊ะ (พระราชวังวราภิมนต์) วัดประดู่ฉิมพลี พระภิกษุกล้าย (พระครูพรหมญาณวินิจ) วัดหงส์รัตนาราม พระภิกษุขัน (พระครูกสิณสังวร) วัดสระเกศ พระภิกษุเพิ่ม (พระพุทธวิถีนายก) วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อปานวัดบางนมโค มาศึกษากับพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)ไม่ทัน ท่านจึงไปศึกษากับ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอกฯ แทน ในกาลต่อมา การศึกษาสมัยท่านครองวัด ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระเอง พระ ครูสังวรสมาธิวัตร(แป๊ะ) เป็นผู้ช่วยพระอาจารย์ใหญ่ ทางด้านพระปริยัติธรรม พระ มหาสอนเป็น พระอาจารย์ใหญ่ เรียนพระบาลีไปเรียนที่วัดประยูรวงศาวาสบ้าง วัดอรุณ ราชวรารามบ้าง ในสมัยที่ท่านครองวัด พระกรรมฐานเจริญรุ่งเรื่องมาก ถึงขนาดมีพระสงฆ์มา ศึกษาพระกรรมฐานมากถึง ๒๐๐ รูปเศษ ท่านเป็นผู้เก็บรักษา เครื่องบริขารต่างๆของ บูรพาจารย์พระกรรมฐาน ต่อจากพระอาจารย์ของท่าน มีบริขารของสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) เป็นต้น ปัจจุบันบริขารต่างๆได้เก็บรักษาไว้ใน พิพิธภัณฑ์พระกรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม

ปีพระพุทธศักราช. ๒๔๗๐ ท่านมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๗๐ รวมสิริรวมอายุได้ ๗๕ ปี พรรษา ๕๔ เมื่อท่านมรณะภาพไม่นาน มี ผู้คนคณะสงฆ์ที่เคารพนับถือท่านได้มาที่วัดราชสิทธารามกันแน่นวัดมีเรือจอดที่คลอง หน้าวัดแน่นขนัด เก็บสรีระของท่าน ไว้บำเพ็ญกุศลประมาณ ๑๐๐ วัน ระหว่างบำเพ็ญ กุศลมีการจุดพลุตลอดทั้ง ๑๐๐ วัน เมื่อจะพระราชทานเพลิงศพทางวัด ได้จัดทำเมรุ ทำเป็นรูปทรงเขาพระสุเมรุราช ข้างพระเจดีย์ใหญ่หน้าวัดด้านใต้ พระราชทานเพลิงศพเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๗๐(นับเดือนไทย ตั้งแต่ เดือนเมษายน เป็นปี ๒๔๗๑) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์เสด็จมาเป็นองค์ประธาน พระราชทาน เพลิงศพ ท่านเสด็จมาโดยมิได้มีหมายกำหนดการมาก่อน เมื่อมาถึงทางวัดได้จัดการให้ พระองค์ท่านประทับนั่งอย่างสมพระเกียรติ (นั่งโต๊ะ) แต่พระองค์ท่านได้ตรัสว่า ฉันมาเผาอาจารย์ฉัน แล้วพระองค์ท่านก็ให้พระสงฆ์ที่ติดตามท่านมาปูลาดอาสนะธรรมดา ประทับนั่งลงกับพื้นในที่ชุมนุมสงฆ์แถวหน้าอย่างโดยไม่ถือพระองค์ กล่าวว่าท่านเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์เดียว ที่เสด็จมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับจนจบ กล่าวขานกันในสมัยนั้นว่าท่านเป็นพระมหาเถรองค์หนึ่งที่ บรรลุคุณวิเศษใน พระพุทธศาสนา พระองค์ท่านจะมาศึกษาแบบส่วนพระองค์ในเวลาค่ำ หลังเสร็จราชกิจ ทรงศึกษา กับพระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม) ณ วัดราชสิทธารามที่กุฏิหลังเขียว (ปัจจุบันรื้อไปแล้วไปปลูกไว้ที่คณะ ๓) ใกล้เช้า พระองค์ท่านก็เสด็จกลับโดยเรือจ้าง (ไป กลับเรือจ้าง) พระองค์ท่านไม่ทรงใช้ของเรือหลวง เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงแล้ว คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ได้ทำการหล่อรูปเหมือนท่าน ประดิษฐานไว้ที่มุมเจดีย์หน้าพระอุโบสถด้านทิศใต้ เป็นที่สักการบูชา มาจนทุกวันนี้

นับแต่สิ้น พระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม)แล้ว ก็เกิดมีสำนักพระกรรมฐานต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในกรุงรัตนโกสินทร์ สภาพความเป็นวัดอรัญวาสีหลัก ที่วัดราชสิทธารามนี้ ก็เกือบจะหมดไปด้วย แต่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จ พระสังฆราช ไก่เถื่อน ก็ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

 
 

พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม)

 ประวัติพระมงคลเทพมุนี

ประวัติพระมงคลเทพมุนี
พระมงคลเทพมุนี มีนามเดิมว่า เอี่ยม ฉายาว่า เกสรภิกขุ เป็นสกุลพราหมณ์ ชาติ
ภูมิอยู่ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี บิดาชื่อเกษ มารดาชื่อส้ม เกิดใน
รัชกาลที่ ๓ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๑๐ ค่ำ ปี จอ จุลศักราช ๑๒๐๐ ตรงกับ พ.ศ.
๒๓๘๑ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๖ ในรัชกาลที่ ๔ เมื่ออายุ ได้ ๑๕ ปี ได้เป็นศิษย์พระ
ญาณสังวร (บุญ) อยู่ที่วัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๘ อายุ๑๗ บรรพชาเป็นสามเณร ในสำนักพระปลัด
อ่อน วัดราชสิทธาราม ศึกษาอัก ขระสมัย และเรียนพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ ใน
สำนักมหาดวง วัดราชสิทธาราม
ครั้นถึงปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒ อายุครบอุปสมบท ๆ ณ. พัทธสีมา วัดราช สิทธาราม
พระวินัยรักขิต วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) วัดราชสิทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) วัดราชสิทธาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้ว ศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ต่อมาใน
รัชกาลที่ ๔ พรรษาแรกได้เป็น พระพิธีธรรม
ต่อมาพรรษาที่ ๑๔ ได้ออกสัญจรจาริกถือธุดงค์ ไปตามจังหวัดภาคเหนือ โดย
ตามพระสังวรานุวงศ์เถร(เมฆ) ไปบ้าง บางที่ก็ไปเองบ้าง และเคยแรมพรรษาที่วัดดอย
ท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ สองพรรษา กลับมาแล้วได้รับแต่งตั้งเป็น พระถานานุกรมที่
พระใบฏีกา ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๓ ของพระสังวรานุวงเถร (เมฆ)ต่อมาพรรษาที่ ๑๙ ได้
เป็นพระปลัด ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๑ ของพระสุทธิศีลาจารย์ วัดราชสิทธาราม
ปีที่ท่านเป็น พระปลัด นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา
บำราบปรปักษ์ มีพระประสงค์ ให้พระมงคลเทพมุนี ครั้งเป็นที่ พระปลัดเอี่ยม ช่วย
แต่ง ลิลิตมหาราช ท่านก็แต่งถวายจนสำเร็จ การแต่งในครั้งนั้นมีผู้อื่นช่วยบ้างเล็กน้อย
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ได้นำหนังสือที่ท่าน
แต่งเสร็จแล้ว ไปไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ
ต่อมาได้ถวายเทศ กัณฑ์วนประเวศ หน้าพระที่นั่ง รัชกาลที่ ๕ จึงทรงแต่งตั้งเป็น
พระครูชั้นพิเศษที่ พระครูพจนโกศล ท่านเป็นทั้งนักกวี เป็นทั้งนักเทศมหาชาติฝีปาก
เอก เป็นพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย กรมพระยาดำรง ได้เขียนเล่าประวัติ พระ
มงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ไว้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ของพระมงคลเทพมุนี
(เอี่ยม) เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ ว่า
. ” กระบวนเทศมหาชาติ ของมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ดูเหมือนจะเทศได้ทุกกัณฑ์
แต่กัณฑ์วนประเวศ นั้นนับว่า ไม่มีตัวที่จะเสมอ ท่านได้เคยถวายเทศนั้นประจำตัว มา
ตั้งแต่ข้าพเจ้า (กรมพระยาดำรง)ยังเด็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ก็ทรง
โปรด แต่ทรงมีพระราชดำรัสติ อยู่คราวหนึ่ง ว่า...
“พระครูเอี่ยม (พระครูพจนโกศล) เทศก็ดี แต่อย่างไรดูเหมือน อมก้อนอิฐไว้ในปาก”
ต่อมาเมื่อท่านได้เป็น พระมงคลเทพมุนี ฟันหักหมดปากแล้ว ได้ถวายเทศอีกครั้ง
หนึ่ง รัชกาลที่ ๕ ทรงดำรัสชมว่า “ตั้งแต่ก้อนอิฐหลุดออกจากปากหมด พระมงคลเทพฯ
เทศเพราะขึ้นมาก” ท่านนับอยู่ในพระราชาคณะที่ทรงพระเมตตา องค์หนึ่ง คู่กับ
พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม
พระสังวรานุวงศ์เถร คนทั้งหลายเรียกว่า พระปลัดเอี่ยมใหญ่ (สมัยท่านเป็น พระปลัด)
พระมงคลเทพมุนี คนทั้งหลายเรียกว่า พระปลัดเอี่ยมเล็ก (สมัยท่านเป็น พระ ปลัด)
ถึงปีเถาะ พระพุทธศักราช ๒๔๓๔ สมัยรัชกาลที่ ๕ เลื่อนสมณะศักดิ์ จากพระ
ครูพจนโกศล เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระสุธรรมธีรคุณ ได้รับพระราชทานนิตยภัต
เดือนละ ๑๒ บาท
วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๓๔ เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระมงคลเทพมุนี
สมณะศักดิ์เสมอชั้นเทพ มีสำเนาประกาศดังนี้
ให้เลื่อนพระสุธรรมธีรคุณเป็น พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนไพรวัน ปรันต
ประเทศ เขตอรัญวาสีบพิตร สถิตย์ ณ. พระพุทธบาท เมืองปรันตะปะ บังคบคณะพระ
พุทธบาท มีนิตยภัตร ราคา ๓ ตำลึงกึ่ง มีถานานุศักดิ์ ควรตั้งได้ ๕ รูป คือพระครูปลัด ๑
พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฏีกา ๑ รวม ๕ รูป มี
ตำแหน่งพระครูผู้ช่วย ๓ รูปคือ
๑. พระครูพุทธบาล พระครูรักษาพระพุทธบาท
๒. พระครูมงคลวิจารย์ พระครูรักษาพระพุทธบาท
๓. พระครูญาณมุนี พระครูรักษาพระพุทธบาท
พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ได้เป็นผู้ช่วยพระพุฒาจารย์ (มา) วัดจักรวรรดิ์ ปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๕๖ รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (พลับ) ต่อมาปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (พลับ)
ด้านการศึกษา พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนา
ธุระ ด้านการศึกษา พระปริยัติธรรม พระมหาสอน เป็นพระอาจารย์ใหญ่
วันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน ๒๔๕๗ จึงขอลาออกจากเจ้าคณะพระพุทธบาท และ
เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เพราะชราทุพพลภาพ จึงถวายพระพร ขอลาออกจากหน้าที่
ต่อพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (สิ้นรัชกาลที่ ๕ แล้ว) ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่
ประมาณ สามเดือนเศษ
พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) อาพาธด้วยโรคชรา และถึงแก่มรณะภาพ เมื่อวันเสาร์
ที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ คำนวนอายุได้ ๘๕ ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวัน
พฤหัสบดีที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖(นับเดือนไทย เดือนสิงหาคม-เดือนมีนาคม เป็นปี
๒๔๖๖- เดือนเมษายน เป็นปี ๒๔๖๗ )
ผลงาน ของพระมงคลเทพมุนี คิดทำนองหลวงสวดพระอภิธรรม ๑
เป็นนักเทศมหาชาติฝีปากเอก ๑
เป็นกวี แต่งลิลิตมหาราชครั้งเป็น พระปลัดเอี่ยม ๑

 
 

 ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร

                                                             

พระสังวรานุวงศ์เถร มีนามเดิมว่า เอี่ยม ท่านเป็นบุตรคหบดี บิดามีนามว่า เจ้าสัวเส็ง มารดามีนามว่า จัน เกิดเมื่อ วันเสาร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๙๓ ตรงกับวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๔ ในรัชกาลที่ ๓ ที่บ้านท่าหลวง ริมคลองบางหลวง อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี

เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี มารดาบิดา ได้นำท่านมาฝากตัวเป็นศิษย์ พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) ต่อมาท่านอายุ ๑๕ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ในสำนักพระญาณโกศลเถร (รุ่ง) เรียนอักขรสมัยในสำนัก พระมหาทัด (พระอมรเมธาจารย์) วัดราชสิทธิ์ฯ เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี ตรงกับปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๕ ในรัชกาลที่ ๔ ได้อุปสมบท ณ. พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสังวร (บุญ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วภายในพรรษานั้น พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) พระอุปัชฌาย์ของท่าน ก็ถึงมรณะภาพลง

ต่อมาได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระญาณสังวร (บุญ) แล้วมาศึกษาต่อ กับพระโยคาภิรัติเถร (มี) แล้วมาศึกษาเพิ่มเติม กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) จนเชี่ยวชาญ จบทั้งสมถะวิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อมาท่านได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระอมรเมธาจารย์ (เกษ)ครั้งเป็นพระปลัดเกษ และเหตุที่ไม่ได้เรียนบาลีมูลกัจจายน์ กับพระอมรเมธาจารย์ (ทัด) พระอนุสาวนาจารย์ เพราะท่านชราทุพพลภาพมากแล้ว เมื่อออกพรรษาของทุกปี ท่านได้ออกสัญจรจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ ไปกับพระอาจารย์บ้าง ไปเองบ้าง ไปทุกแห่งหน

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒ พรรษาที่เจ็ด ได้เป็นพระปลัด ถานานุกรมชั้นที่ ๑ ของพระสังวรานุวงศ์เถร(เมฆ) และทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แก่พระภิกษุสามเณรด้วย ในพรรษานั้นเองท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด (ตำบล) ด้วย คนทั้งหลายมักเรียกท่านว่าพระปลัดเอี่ยมใหญ่ พระปลัดเอี่ยมเล็กคือ ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี แต่ยังมีพระครูสังวรสมาธิวัตรนามว่า เอี่ยม อีกองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นรุ่นพี่ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ที่เรียกกันว่าปลัดเอี่ยมใหญ่

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๕ พรรษาที่สิบ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็น พระครูสังวรสมาธิวัตร ฝ่ายวิปัสสนาธุระ นิตยภัต ๑ ตำลึง ๒ บาท ต่อมาได้เป็น พระคณาจารย์เอกฝ่ายวิปัสสนาธุระ ปีนั้นเองได้มี เจ้านายในรัชกาลที่ห้า ถวายพัดลอง ทำด้วยใบลาน ให้ท่านหนึ่งด้าม สำหรับผู้เป็นประธานสงฆ์ ใช้บอกศีล และอนุโมทนากถา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระกรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระสังวรานุวงศ์เถร เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี มีนิตยภัต ๓ ตำลึง และควรตั้งถานานุศักดิ์ได้ ๓ รูปคือ พระปลัด ๑ พระสมุห์ ๑ พระใบฏีกา ๑ ได้รับพระราชทานพัดงาสาน ทรงพระราชทานบาตรฝาประดับมุก จ.ป.ร. ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระวัดราชสิทธารามองค์ต่อมา และรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสีเจ้าคณะธนบุรี ทางราชการได้ถวายนิตยภัตเพิ่มอีก ๒ บาท เป็น ๓ ตำลึง ๒ บาท (๑๔ บาท)

การศึกษาสมัยท่าน การศึกษาพระวิปัสสนาธุระเจริญมาก พระสังวรานุวงศ์เถร(เอี่ยม) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระปลัดชุ่ม เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย ด้านพระกรรมฐานมีพระเถรานุเถระ มาศึกษาพระกรรมฐานมากมายเช่น พระภิกษุบุญ (พระพุทธวิถีนายก) วัดกลางบางแก้ว, พระภิกษุเอี่ยม (พระภาวนาโกศลเถร) วัดหนัง บางประวัติว่าศึกษากับพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ), พระสมุห์ชุ่ม สุวรรณศร วัดอมรินทร์, พระภิกษุมั่น หรือพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งต่อมาพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ให้พระอาจารย์มั่นไปศึกษาต่อกับ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร ซึ่งเป็นศิษย์วัดพลับมาแต่เดิม, พระวินัยธรรม เจ๊ก วัดศาลารี ตลาดขวัญ (นนทบุรี), พระอาจารย์โหน่ง สุพรรณบุรี, พระอาจารย์น้อยสุพรรณบุรี ต่อมาพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ให้ทั้งสองท่านไปเรียนต่อกับพระอาจารย์เนียม ซึ่งเป็นศิษย์วัดพลับมาแต่เดิม, พระภิกษุปาน (วัดบางเหี้ย)ฯลฯ การเรียนพระปริยัติธรรมเรียนภายในวัด พระมหาสอน เป็นพระอาจารย์ใหญ่ปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๑ จัดงานพระราชทานเพลิงศพ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามพร้อมกัน ๓ องค์

พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ท่านมีอุปนิสัยรักสันโดด มีของสิ่งใดมักจะให้ทานแก่ผู้อื่นหมด เมื่อท่านไปกิจนิมนต์ ได้ไทยทานมาท่านจะนำมาแจกทานแก่พระภิกษุสามเณร ภายในวัดจนหมด แม้ของในกุฏิท่านก็ให้ทานจนหมด ท่านมีมรดก ซึ่งมารดาบิดายกให้ ท่านก็ไม่เอา ยกให้พี่น้องหมด ชาวบ้านมักเรียกขานนามท่านว่า หลวงพ่อใจดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรัสเรียกนามท่านว่าหลวงพ่อผิวเหลือง เพราะผิวท่านเหลืองดังทอง สมัยท่านมีชีวิตอยู่ ท่านมีพรหมวิหารแก่กล้ามาก กล่าวว่า อีกาตาแวว อีกาขาว มักมาเกาะอยู่ที่กุฎิของท่านเสมอ เวลาท่านไปไหนมาไหนในวัดพลับ พวกอีกาตาแวว อีกาขาว มักบินตามท่านไปด้วยเสมอ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระเมตตา ท่านเจ้าคุณพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) มาก ถึงคราวพระราชทานผ้าพระกฐินทาน ณ.วัดราชสิทธาราม ต้องเสด็จมาทรงเยี่ยมท่านก่อนเสมอทุกครั้ง ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานเตียง หรือตั่งอยู่ไฟ ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๔ ถวายพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการซ่อมแซมเสนาสนะสงฆ์ในบริเวณคณะ ๑ กุฎิเจ้าอาวาส ที่สร้างมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ พร้อมกันนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทาพื้นกุฎิด้วยชาดแดง พร้อมทาชาด เตียง หรือตั่งอยู่ไฟ ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๔ ประดิษฐานไว้ที่กุฎิคณะ ๑ อันเป็นกุฎิพำนักของเจ้าอาวาสปัจจุบันนี้เตียง หรือตั่งอยู่ไฟ ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๔ อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๐ นั้นพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ท่านชราทุพพลภาพลงมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานแคร่คานหาม ที่เก็บรักษาไว้ที่วัดราชสิทธาราม เดิมรัชกาลที่ ๓ พระราชทานให้พระเทพโมลี (กลิ่น)พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานแคร่คานหาม พร้อมกับมีพระดำรัสตรัสสั่งให้ประกาศว่า ถ้าใครนิมนต์ หลวงพ่อผิวเหลือง (ซึ่งหมายถึงพระสังวรานุวงศ์เถรเอี่ยม บางที่ก็เรียกท่านว่า หลวงพ่อใจดี ) ไปกิจนิมนต์ ต้องถวาย ๑ ตำลึง บางแห่งว่าถ้านิมนต์ท่านไปเกิดอาพาธขึ้นมาต้องจ่าย ๑ ตำลึง ทั้งนี้เพราะมีพระราชประสงค์ ไม่ให้ใครมารบกวนท่าน เพราะท่านชราทุพพลภาพมาก แต่นั้นมาเมื่อท่านไปกิจนิมนต์ ได้ปัจจัยไทยทานกลับมา ท่านก็จะเอาไว้ที่หอฉัน แล้วประกาศว่า พระภิกษุสามเณร ขาคปัจจัยไทยทานสิ่งใดให้มาหยิบเอาที่หอฉัน สมัยต่อมาท่านมีของสิ่งไรท่านก็บริจาคจนหมด ไม่เหลือ เหลือแต่อัฏฐะบริขารเท่านั้น ปัจจุบัน แคร่คานหามพระราชทานยังมีอยู่จนทุกวันนี้ ที่พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม (พลับ)

สมัยที่ท่านครองวัดนั้น มีพระภิกษุสามเณร ปะขาว ชี มาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับท่านกันมากมาย เพราะเป็นศูนย์กลางกรรมฐาน ของกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านมีศิษย์ทั้งในเมือง และหัวเมือง ยุคของท่านนั้นมีชื่อเสียงมากทางปฎิบัติภาวนา เป็นที่เกรงใจของคณะสงฆ์ และในสมัยนั้นยังไม่มีสำนักพระกรรมฐานที่ไหนเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ มีสำนักวัดราชสิทธารามเป็นสำนักใหญ่แห่งเดียว เพราะเป็นวัดอรัญวาสีมาแต่เดิม เมื่อท่านมีชีวิตอยู่ จะมีผู้คนเอาเงิน มาใส่พานให้ท่านทุกวัน ท่านก็จะเอาเงินนั้นแจกทานจนหมดทุกวัน โดยให้มาหยิบเอาเอง มีเรื่องเล่าว่า เมื่อคราวที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินมา ทอดผ้าพระกฐินทาน ต้องมากราบนมัสการ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ทุกครั้ง คราวนั้นพระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) วัดพลับ จะเอาของมาตั้งรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ได้บอกกับ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)ว่า ของนี้ให้ยืมไว้รับเสด็จ ห้ามให้ใคร ที่บอกอย่างนี้เพราะมีของอะไรใกล้มือ ท่านจะให้ทานหมดเมื่อมีคนขอ

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ท่านมีสติสัมปชัญญะรู้ตัว ก่อนมรณะภาพประมาณเจ็ดวัน เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี พรรษา ๖๑ ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ๒๖ ปี ท่านเป็นพระสังฆเถรที่มีชื่อเสียงผู้คนเคารพนับถือมากในสมัยนั้น กล่าวว่าเมื่อท่านมรณะภาพไม่นาน คณะศิษยานุศิษย์ ทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายฆราวาส ทราบข่าวพากันมาเคารพศพท่านกันแน่นลานวัด สรีระของท่าน คณะศิษยานุศิษย์เก็บไว้บำเพ็ญกุศล ประมาณ ๕ ปี (พ.ศ.๒๔๖๑) จึงพระราชทานเพลิงศพ และอีกประการหนึ่งเวลานั้น ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ซึ่งเวลานั้นลาออกจากเจ้าอาวาสและยังมีชีวิตอยู่ แต่ก็อาพาธกระเสาะกระแสะเรื่อยมา ทางคณะกรรมการวัด และคณะศิษยานุศิษย์ เกรงว่าจะมีงานศพซ้อนกัน เหมือนกาลก่อน จึงได้พระราชทานเพลิงสรีระสังขาร พระสังวรานุวงศ์เถร(เอี่ยม) ก่อน ส่วนหีบชั้นในที่ใส่สรีระของพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) นั้น ท่านเจ้าคุณพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ได้นำมาต่อเป็นเตียงไว้จำวัด สำหรับปลงพระกรรมฐาน เป็นการกำหนดสติระลึกถึงความตายเนืองๆ ต่อมาพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) และคณะศิษยานุศิษย์ ได้หล่อรูปพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ประดิษฐานไว้ที่มุมเจดีย์ด้านหน้าพระอุโบสถ ข้างทิศเหนือ เป็นที่สักการบูชามาจนทุกวันนี้

เมื่อคราวงานพระราชทานเพลิงศพ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) นั้น ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จมาเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ประวัติพระอมรเมธาจารย์
00012

ประวัติพระอมรเมธาจารย์
พระอมรเมธาจารย์ มีนามเดิมว่า เกษ เป็นชาวเมืองอ่างทอง เกิดเมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๔๒ ในรัชกาลที่ ๑ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๖ ในรัชกาที่ ๑
ท่านอายุได้ ๑๔ ปี บิดามารดา นำท่านมาฝากบรรพชาเป็นสามเณร ในสำนักพระญาณวิ
สุทธิ (ชิต) เล่าเรียนอักขรสมัย และศึกษาวิปัสสนาธุร
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๒ (นับเดือนไทย) ได้บรรพชาอุปสมบท
ณ.พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม สมเด็จพระญาณสังวร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี
(ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร หรือท่านเจ้าคุณหอไตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระ
วินัยรักขิต (ฮั่น) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังท่านอุปสมบทแล้วไม่นาน จึงเกิด
อหิวาตกโรค ห่าลงเมืองในรัชกาลที่ ๒
หลังจากนั้น ๔ เดือนคือ ถึงเดือนอ้าย ขึ้น๒ ค่ำ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒
(๒๓๖๓)สมเด็จพระญาณสังวร ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นที่ สมเด็จพระสังฆราช
ท่านอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระพรหมมุนี
(ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิเถร และพระครูวินัยธรรมกันด้วย
ศึกษาพระปริยัติบาลีคัมภีร์มูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น) และพระเทพโมลี
(กลิ่น) ออกพรรษาแล้วได้ออกสัญจรจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ กับพระสงฆ์วัดราช
สิทธาราม เป็นประจำทุกปี
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระปลัด ของพระอมร
เมธาจารย์ (ทัด) และเป็นพระอาจารย์บอกหนังสือบาลีมูลกัจจายน์ และเป็นพระอาจารย์
ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระครูวินัยธรรมกันด้วย ต่อมาสอบได้
เป็นเปรียญ ๓ ประโยค
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๓ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศีลสมาจารย์ พระ
คณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ แทนที่พระครูศีลสมาจารย์ (เมฆ)ที่ได้รับพระราชทาน
เลื่อนเป็นพระราชาคณะ
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๗ ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะที่ พระอมร
เมธาจารย์ ทำหน้าที่บอกหนังสือ และบอกพระกรรมฐานด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ เป็นรักษาการ และเป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
การศึกษาสมัยท่านเป็นเจ้าอาวาส ด้านวิปัสสนาธุระ พระสังวรานุวงศ์เถร์ (เอี่ยม) ครั้ง
เป็น พระครูสังวรสมาธิวัตร เป็นพระอาจารย์ใหญ่ มีพระปลัดชุ่ม ๑ เป็นพระอาจารย์
ผู้ช่วย พระอมรเมธาจารย์ (เกษ) เป็นเจ้าอาวาสอยู่ประมาณ ๓ เดือน ก็ถึงแก่มรณะภาพ
ลงด้วยโรคชรา เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี ขณะเมื่อพระอมรเมธาจารย์ (เกษ) มรณะภาพ
นั้น วัดราชสิทธาราม ได้ตั้งบำเพ็ญกุศลศพ อดีตเจ้าอาวาสถึง ๒ องค์แล้ว เมื่อมาสิ้นบุญ
พระอมรเมธาจารย์ (เกษ) ที่วัดราชสิทธาราม จึงมีการตั้งบำเพ็ญกุศลศพ อดีตเจ้าอาวาส
ถึง ๓ องค์ ต่อมาจึงได้ทำการพระราชทานเพลิงศพพร้อมกันทั้ง ๓ องค์ในเวลานั้น

 
 

 ประวัติพระสุธรรมธีรคุณ
00011

ประวัติพระสุธรรมธีรคุณ
พระสุธรรมธีรคุณ มีนามเดิมว่า เกิด เป็นชาวเมืองธนบุรี เกิดเมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๓๙ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๓ ในรัชกาลที่ ๒
ท่านอายุได้ ๑๔ ปี บิดา-มารดานำท่านมาฝากบรรพชาในสำนักพระญาณวิสุทธิ์เถร (ชิต)
เล่าเรียนอักขรสมัย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๐ บรรพชาอุปสมบทที่วัดราชสิทธาราม สมเด็จพระ
ญาณสังวร เป็นพระอุปัชฌาย์พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิเถร เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วศึกษาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระญาณวิ
สุทธิเถร และกับพระวินัยธรรมกันด้วย จนจบสมถะวิปัสสนา ศึกษาพระปริยัติธรรม
บาลี กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น) และพระเทพโมลี (กลิ่น) ออกพรรษาทุกปีออกเที่ยวสัญจร
จาริกไปตามสถานที่ต่างๆ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ เป็นที่พระปลัด ถานานุกรม ชั้นที่ ๑ ของพระวินัย
รักขิต (ฮั่น) และเป็นอาจารย์ผู้ช่วย ของพระครูวินัยธรรมกัน บอกพระกรรมฐาน และ
บอกพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ด้วย ต่อมาสอบทานได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น
พระครูศีลวิสุทธิ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๖ ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะที่ พระสุธรรม
ธีรคุณ สมัยที่สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระเปาเรศวิริยาลงกรณ์ สมเด็จ
พระสังฆราชเจ้า องค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ เป็นเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม ด้านการศึกษา
พระสังวรานุวงศ์เถระ(เอี่ยม) เป็นครั้งเป็นพระครูสังวรสมาธิวัตร เป็นพระอาจารย์ใหญ่
ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระสมุห์ชุ่ม ๑ ด้านพระปริยัติธรรม พระอมร
เมธาจารย์ (เกษ) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ประมาณ ๓ เดือน ถึงแก่
มรณะภาพลง ด้วยโรคชรา เมื่ออายุได้ ๙๐ ปีพรรษา ๖๙ ขณะนั้น สังขารของพระสังวรา
นุวงศ์เถร (เมฆ) ยังตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ เวลานั้น วัดราชสิทธาราม มีการตั้งบำเพ็ญกุศลศพ
เจ้าอาวาสถึง ๒ องค์ ได้พระราชทานเพลิงศพพร้อมกับ พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)

 
 

 ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร

00003ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร
พระสังวรานุวงศ์เถร มีนามเดิมว่า เมฆ บ้านเดิมอยู่ แขวงกรุงเก่า เกิดเมื่อ
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๓ ปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เข้ามาบรรพชา
อุปสมบทวัดพลับ เพราะศรัทธาเลื่อมใสในพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๗ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดา ได้นำท่านมาฝาก
บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักพระวินัยรักขิต (ฮั้น) เพื่อศึกษาอักขรสมัย ต่อมาได้ศึกษา
พระกรรมฐานในสำนักพระอุปัชฌาย์ด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๔๔ บรรพชาอุปสมบท ณ. พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม
พระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร หรือท่านเจ้าคุณหอไตร เป็น
พระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระพรหมมุนี
(ชิต) และพระครูวินัยธรรมกัน ครั้งเป็นพระใบฎีกาด้วย
ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น). ต่อมาได้ออก
รุกขมูลเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ที่ต่างๆ
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ในรัชกาลที่ ๒เป็นพระปลัด ว่าที่ถานานุ
กรมชั้นที่ ๑ ของพระญาณวิสุทธิ์เถร (เจ้า) เป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานในปีนั้น
ด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๒ ในรัชกาลที่๓ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น พระ
ครูศีลสมาจารย์ พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ รับพระราชทานนิตยภัต ๑ ตำลึง ๒
บาทปีที่สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นสมเด็จ
พระสังฆราชเจ้า องค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระราชา
คณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระสังวรานุวงศ์เถร มีนิตยภัต ๓ ตำลึง และให้จ่ายข้าวสาร
ซ้อมแล้ว ๑๕ ทะนาน เป็นประจำทุกเดือน รับพระราชทานพัดงาสาน ปีนั้นสิริรวมอายุ
ท่านได้ ๘๐ ปีพอดี ตำแหน่งพระสังวรานุวงศ์เถร หมายความว่าผู้สืบวงศ์พระกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒อีก ๕ เดือนต่อมา พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) ได้
มรณะภาพลง พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นอาจารย์ใหญ่
ฝ่ายวิปัสสนาธุระประจำวัดราชสิทธาราม เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี เจ้าคณะมณฑล
ธนบุรี รับพระราชทานนิตยภัต ๓ ตำลึง ๒ บาท
ด้านการศึกษา
ด้านพระกรรมฐาน พระสังวรานุวงศ์เถร เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระครูสังวร
สมาธิวัตร (เอี่ยม) ๑ พระปลัดโต ๑ พระสมุห์กลั่น ๑ พระปลัดมาก ๑ พระสมุห์คง ๑ พระ
ปลัดเอี่ยม ๑ พระสมุห์ชุ่ม ๑ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย ในสมัยท่านพระกรรมฐาน
เจริญรุ่งเรืองมาก มีพระเถรานุเถรมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับกันมากมาย
เช่น พระมหาแพต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช นำมาฝากโดยสมเด็จ
พระวันรัต(แดง) วัดสุทัศน์ พระภิกษุเงิน หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน พระภิกษุศุข หรือ
หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า พระภิกษุทอง หลวงพ่อทองวัดราชโยธา พระมหาเสาร์ กันตสี
โร หรือพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร ฯลฯ
ฝ่ายพระปริยัติธรรม-บาลี พระสุธรรมธีรคุณ (เกิด) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระ
อมรเมธาจารย์ (เกษ) ๑ พระปลัดอ่อน ๑ พระอาจารย์ทอง๑ พระมหาด้วง ๑ พระมหาแก้ว
๑ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ท่านมรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อสิริรวมอายุได้
๑๐๖ ปีพรรษา ๘๕ เป็นเจ้าอาวาสมา ๒๖ ปี สรีระของท่านเก็บบำเพ็ญกุศลไว้ประมาณ
สองปีเศษ จึงพระราชทานเพลิงศพ ระหว่างที่เก็บสรีระ ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)
พระสุธรรมธีรคุณ (เกิด) เจ้าอาวาสองค์ต่อมาได้มรณะภาพลง ต่อมาอีกประมาณ ๖ เดือน
พระอมรเมธาจารย์ (เกด) เจ้าอาวาสองค์ต่อมา ก็ได้มรณะภาพลงอีก เนื่องจากท่านทั้ง
สามองค์มีพรรษายุกาลชราภาพมากแล้ว เวลานั้นวัดราชสิทธาราม จึงมีงานตั้งบำเพ็ญ
กุศลศพ ๓ ศพ
และกาลต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๑จึงได้พระราชทานเพลิงศพ
พร้อมกันทั้ง ๓ ศพในวันเดียวกัน วันที่พระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จมาเป็น
องค์ประธานฝ่ายคณะสงฆ์ พระราชทานเพลิงศพ ครั้งนั้นกล่าวว่า พระบรมวงศานุวงศ์
และเจ้านายในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ที่ทรงพระชนชีพอยู่มาจนถึงรัชกาลที่ ๕
ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย พระสงฆ์ผู้ใหญ่ ผู้น้อย มาแน่นขนัดเต็มลานวัดไปหมด เรือที่มา
งานศพก็จอดยาวตั้งแต่ครองบางกอกใหญ่ เข้ามาแน่นคลองวัดราชสิทธาราม เนื่องจาก
ท่านทั้ง ๓ เป็นพระมหาเถรมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น
และในสมัยนั้น สำนักวิปัสสนาธุระในประเทศไทย วัดราชสิทธารามเป็นสำนักที่
มีชื่อเสียงมาก และเป็นวัดอรัญวาสีสำคัญที่เหลืออยู่ในเวลานั้น อีกทั้งในเวลานั้นใน
ประเทศไทยก็ยังไม่มีสำนักกรรมฐานใหญ่ๆเกิดขึ้นเลย จึงมีแห่งเดียวที่ วัดราชสิทธา
รามนี้เท่านั้น
ทำเนียบ สมณศักดิ์ พระราชราคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่พระสังวรานุวงศ์เถร
ประจำวัดราชสิทธารามศูนย์กลางพระกรรมฐานประจำกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีขึ้นใน
รัชสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๑. พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๐๒ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ถึงแก่
มรณะภาพ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๘ ในรัชกาลที่ ๕
๒. พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๒๙ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ถึงแก่
มรณะภาพ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ในรัชกาลที่ ๖
๓.พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๕๗ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ถึงแก่
มรณะภาพ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๐ ในรัชกาลที่ ๗
๔.พระสังวรานุวงศ์เถร (สอน) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๙๐ เทียบชั้นราช ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๙ ถึงแก่มรณะภาพ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๕๐๐ ในรัชกาลที่ ๙

 
 

 ประวัติพระอมรเมธาจารย์
00009

ประวัติพระอมรเมธาจารย์
พระอมรเมธาจารย์ มีนามเดิมว่า ทัด เป็นชาวกรุงเก่า เกิดเมื่อประมาณปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๑๘ สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๒ ท่านอายุได้
๑๔ ปี บิดา-มารดานำท่านมาฝากบรรพชาเป็นสามเณร ในสำนักพระญาณวิสุทธิเถร
(ชิต) เพื่อเล่าเรียน อักขรสมัยภาษาไทย ภาษาบาลี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๙ บรรพชาอุปสมบท ณ.วัดราชสิทธาราม พระญาณ
สังวร (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ พระใบฏีกากัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วศึกษาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิเถร และ
พระครูวินัยธรรมกัน ครั้งเป็นพระใบฎีกา จนจบสมถะวิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ และได้ศึกษาปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น) ออกพรรษาแล้ว
เที่ยวออกสัญจรจาริกธุดงค์ ไปกับพระภิกษุกรรมฐานวัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๐ ในรัชกาลที่ ๑ เป็นพระปลัด ถานานุกรม ของพระวินัย
รักขิต (ฮั่น) และเป็นพระอาจารย์บอกหนังสือบาลีมูลกัจจายน์ เป็นอาจารย์ผู้ช่วยบอก
พระกรรมฐาน ของพระครูวินัยธรรมกันด้วย ซึ่งเป็นพระอาจารย์กรรมฐานของท่าน
ต่อมาพระภิกษุทัด ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๖ เป็นพระครูศีลสมาจารย์ พระครูวิปัสสนาธุระ พระ คณาจารย์เอก
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๔ วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ในรัชกาลที่ ๔ ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ เป็นพระราชาคณะที่ พระอมรเมธาจารย์ เมื่ออายุได้
๗๖ ปี สมัยเดียวกับที่ตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก เฉลิมพระนาม กรมสมเด็จ
พระปรมานุชิตชิโนรส
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม การศึกษาเมื่อท่าน
ครองวัด ด้านปริยัติท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่เอง พระสุธรรมธีรคุณ (เกิด) ๑ พระมหา
เกด ๑ เป็นอาจารย์ผู้ช่วย การศึกษาด้านพระวิปัสสนาธุระ พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)
เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระครูปลัดโต ๑ พระครูสมุห์กลั่น ๑พระครูปลัดเอี่ยม ๑ เป็นพระ
อาจารย์ผู้ช่วย พระอมรเมธาจารย์ครองวัดราชสิทธารามอยู่ประมาณ ๕ เดือน ก็ถึงแก่
มรณะภาพลง ด้วยโรคชรา เมื่ออายุ ๘๔ ปี

 
 

 ประวัติพระโยคาภิรัตเถร

00006ประวัติพระโยคาภิรัตเถร
พระโยคาภิรัติเถระ มีนามเดิมว่า มี เป็นชาวบ้านตลอดขวัญ (นนทบุรี)แต่บ้านเดิมท่านอยู่นครศรีธรรมราช บิดามารดาของท่านมีศรัทธา
เลื่อมใสในพระญาณสังวรเถร สุก ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๗ ในรัช
สมัย พระเจ้ากรุงธนบุรี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๑ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ มารดาบิดา ของท่านนำท่านมา
ฝากบรรพชาเป็นสามเณรในสำนัก ของพระวินัยรักขิต (ฮั้น) เพื่อเล่าเรียนอักขระสมัย
ต่อมาได้เล่าเรียนพระกรรมฐานด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๘ บรรพชาอุปสมบท ณ. วัดราชสิทธาราม พระญาณ
สังวร (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็นอนุสาวนาจาย์
อุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระอุปัชฌาย์ และ
พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็น พระญาณวิสุทธิเถร แลกับพระวินัยธรรมกัน ครั้งเป็นพระ
ใบฎีกาด้วย
ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น) ออกพรรษาแล้ว
เที่ยวออกสัญจรจาริกรุกขมูลไปตามสถานที่ต่างๆ กับพระภิกษุสงฆ์ วัดราชสิทธาราม หา
ความสงบวิเวกเป็นประจำทุกปี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ในรัชกาลที่๒ เป็นพระปลัด ถานานุกรม ของพระ
รัตนมุนี (กลิ่น) ได้เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานด้วย
ปีพระพุทธศักราช .๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ เป็นพระครูสังวรสมาธิวัตร พระครู
วิปัสสนาธุระ พระคณาจารย์เอก
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๔ วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณโยคาภิรัติเถร เมื่ออายุ
ได้ ๗๗ ปี รับพระราชทานพัดงาสาน ปีเดียวที่ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งพระราชพิธีมหา
สมณุตมาภิเษก เฉลิมพระนามกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
เป็นอาจารย์ใหญ่วิปัสสนาธุระด้วย
การศึกษาสมัย พระโยคาภิรัติเถระ ครองวัดราชสิทธิ์ ด้านวิปัสสนาธุระ พระโย
คาภิรัตเถร เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระครูศีลสมาจารย์ (เมฆ) ๑ ฯ
การศึกษาด้านปริยัติธรรม-บาลีมูลกัจจายน์ พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) เป็นพระ
อาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระอาจารย์มหาเกิด ๑ พระมหาเกด ๑
ปีพระพุทธศักราช.๒๔๐๒ ลาออกจากเจ้าอาวาส เมื่ออายุได้ ๘๕ ปี เพราะชรา
ทุพพลภาพ ท่านมีปกตินิสัยชอบปลีกวิเวก หาความสงบ

เมื่อท่านลาออกจากเจ้าอาวาสแล้ว ท่านได้เปรยว่า ถ้าวัดพลับไม่มีกรรมฐาน จะไม่สงบ

ท่านได้กล่าวไว้เป็นคำกลอนว่า  วัดเอ๋ยวัดพลับ จะย่อยยับเหมือนสับขิง ฝูงสงฆ์จะลงเป็นฝูงลิง ฝูงเณร และเด็ก จะวิ่งเป็นสิงคลี

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๔ มรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี

 
 

 ประวัติพระญาณสังวร
00002

ประวัติพระญาณสังวร
พระญาณสังวร มีนามเดิมว่า บุญ เป็นชาวเมืองเพรชบุรี เกิดปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๑๗ ในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๒ ท่านมีอายุ
ได้ ๑๕ ปี บิดามารดา นำท่านมาฝากอยู่กับป้า บ้านคลองบางกอกน้อย ธนบุรี ต่อมา
คุณป้า นำท่านมาฝากบรรพชาเป็นสามเณร ในสำนักพระวินัยรักขิต (ฮั้น) ท่านได้เล่า
เรียนอ่าน-เขียน หนังสือภาษาไทย หนังสือขอม กับพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านก็ได้ศึกษา
เล่าเรียนพระกรรมฐานมัชฌิมา ในสำนักอุปัชฌาย์ด้วย ตอนเป็นสามเณร ท่านเคยตาม
พระอาจารย์ ออกไปรุกขมูล ตามป่าเขาด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๗ ท่านบรรพชา-อุปสมบท ณ. พัทธสีมา วัดราชสิทธา
ราม (พลับ) โดยมีพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็น
พระญาณวิสุทธิเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็นพระอนุสาวนา
จารย์
อุปสมบทแล้ว ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระพรหมมุนี (ชิต)
หรือท่านเจ้าคุณหอไตร และท่านได้ศึกษา กับพระวินัยธรรมกัน ครั้งเป็นพระใบฏีกาด้วย
ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น).ออกพรรษาของทุกปี
เที่ยวออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ กับพระสงฆ์ในวัดราชสิทธาราม เป็น
ประจำทุกปี
ประมาณปีพระพุทธศักราช. ๒๓๔๔ พรรษที่๗ เป็นพระปลัด ถานานุกรม ของ
พระวินัยรักขิต (ฮั่น) และเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมาด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๐ พรรษาที่ ๑๓ ในรัชกาลที่ ๑ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่
พระครูศีลสมาจารย์ พระครูวิปัสสนาธุระ พระคณาจารย์เอก
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ ณ.วันพุธ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำปีเถาะ
เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณสังวรเถร เจ้าคณะอรัญวาสี พระ
คณาจารย์เอก เมื่ออายุได้ประมาณ ๗๐ ปีเศษ เป็นปีที่ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช
(นาค) วัดราชบูรณะ พระญาณสังวรเถร (บุญ)ได้รับพระราชทานพร้อม กับพระญาณ
โกศลเถร (รุ่ง)รับนิตยภัต ๒ ตำลึงกึง พระราชทานพัดงาสาน ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์
ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ของวัดราชสิทธาราม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านเป็นที่เคารพ
นับถือ ของพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านายในพระราชวงศ์ และคณะสงฆ์ ข้าราชการผู้ใหญ่
ผู้น้อย รวมทั้งบรรดาญาติโยมทั่วไป เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณธรรมสูง บรรลุคุณวิเศษใน
พระพุทธศาสนา
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๗ ในรัชสมัยรัชกาลที่๓ พระญาณสังวรเถร (บุญ)
ได้รับพระราชทาน นิตยภัต เพิ่มอีกเป็น ๓ ตำลึง ต่อมาเพิ่มเป็น ๔ ตำลึงกึ่ง คนทั้งหลาย
ในสมัยนั้นมักเรียกขานนามของท่านว่า พระอาจารย์บุญบ้าง หลวงปู่บุญบ้าง เนื่องจาก
ท่านได้เป็นพระอาจารย์กรรมฐานมาตั้งแต่ ยังไม่ได้เป็นพระปลัด คนทั้งหลายจึงเรียก
ขานนามท่านจนติดปากว่า พระอาจารย์บุญบ้าง หลวงปู่บุญบ้าง
พระญาณสังวร (บุญ) ท่านจะหลีกเร้น ปลีกวิเวกเป็นเวลาเจ็ดวัน ทุกเดือน ณ กุฎิ
วิปัสสนาหลังเล็ก ในป่าช้าของวัด เป็นธรรมเนียมของพระสมถะ วัดราชสิทธาราม ที่ถือ
เป็นวัตรปฏิบัติสืบกันมาทุกพระองค์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๘ ในรัชสมัยรัชกาลที่๓ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)วัด
ราชบูรณะ ทุพพลภาพ พระญาณสังวรเถร (บุญ) นั่งหน้ากรมพระปรมานุชิตฯ องค์ทำ
หน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช (นาค) พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ จึงได้พระราชทาน
เลื่อนสมณะศักดิ์ พระญาณสังวรเถร (บุญ) เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ในราชทินนามเดิม
ที่ พระญาณสังวร มีสร้อยราชทินนามดังนี้
สำเนา แต่งตั้ง
ให้เลื่อนพระญาณสังวรเถรเป็น พระญาณสังวร สุนทรสังฆเถรา สัตตวิสุทธิ์
จริยาปรินายก สปิฏกธรา มหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี สถิตวัดราชสิทธาวาส พระ
อารามหลวง
มีถานานุกรม ๕ รูป พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครู
สมุห์๑ พระครูใบฎีกา๑ได้รับพระราชทานนิตยภัตเพิ่มเป็น ๕ ตำลึง เป็นเจ้าคณะใหญ่
อรัญวาสี ตำแหน่งพระญาณสังวร สร้อยราชทินนามมีคำว่า ปรินายก สูงกว่าตำแหน่ง
พระพุฒาจารย์เดิม แทนพระพุฒาจารย์ (สนธิ์) เนื่องจากพระพุฒาจารย์ (สนธิ์) เจ้าคณะ
ใหญ่อรัญวาสีเดิม ทรงโปรดให้ยกขึ้นเป็นกิตติมาศักดิ์ คุมพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระทั่ว
สังฆมณฑล รอบนอก
ปีที่พระญาณสังวรเถร (บุญ) เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระญาณสังวร
นั้น พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) ยังคงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (พลับ) อยู่
แต่พระญาณสังวร (บุญ) ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ควบคุมพระสงฆ์
วิปัสสนาธุระ ในกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะยุคนั้นเวลานั้นวัดราชสิทธาราม (พลับ)เป็น
ศูนย์กลาง การศึกษาพระกรรมฐานประจำกรุงรัตนโกสินทร์ พระสงฆ์วิปัสสนาธุระทั้ง
สังฆมลฑล ต้องมาศึกษาพระกรรมฐาน ณ วัดราชสิทธาราม (พลับ)อันเป็นศูนย์กลาง
พระกรรมฐานประจำกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชสิทธาราม (พลับ) เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐานประจำกรุงรัตน์โกสินทร์
มาจนถึงประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๘๐ จึงหมดสภาพความเป็นศูนย์กลางพระ
กรรมฐาน ของกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากปีพระพุทธศักราช ๒๔๘๐ ก็เกิดสำนักพระ
กรรมฐานขึ้นมากมาย ในกรุงรัตนโกสินทร์ ต่างตั้งแบบแผนการศึกษาพระกรรมฐาน
ขึ้นมาเป็นของตัวเอง ประจำสำนักต่างๆ โดยไม่รักษาแบบแผนการปฏิบัติพระ
กรรมฐานมัชฌิมาอันมีแต่ดั่งเดิม แต่ครั้งโบราณกาลมา
ตำแหน่งพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี เมื่อมรณะภาพเข้าโกศ เนื่องจาก
เวลานั้นพระญาณสังวร (บุญ) เป็นพระมหาเถรรัตตัญญู ผู้มีพรรษายุกาลมากกว่า
พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ทั้งปวงในเวลานั้น เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช (นาด) วัด
ราชบูรณะ ทุพพลภาพ
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ศิษย์สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ประสูติพ.ศ.
๒๓๓๓ พระญาณสังวร (บุญ) เกิด พ.ศ. ๒๓๑๗ อายุพรรษามากกว่าถึง ๑๖ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ พระราชทานพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
หรือพัดใบสาเก ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี สำหรับใช้นั่งเป็นประธานสงฆ์ เมื่อมีกิจ
นิมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระญาณสังวร (บุญ) นั่งหน้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
องค์ทำหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๕ สมัยต้นรัชกาลที่ ๔ พระญาณสังวร (บุญ) รักษาการ
เจ้าอาวาส ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ท่านเป็นอยู่ประมาณ ๒ ปี ถึงปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๙๗ ก็ถึงแก่มรณภาพ ศิษย์สำคัญของพระญาณสังวร (บุญ)คือ สมเด็จ
พระวันรัตน (แดง) ท่านมาศึกษาแต่ครั้งยังเป็นพระมหาแดง
การศึกษาในสมัย พระญาณสังวร (บุญ) ครองวัดราชสิทธาราม (พลับ) ฝ่าย
วิปัสสนาธุระ พระญาณสังวร (บุญ) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระ
ญาณโยคาภิรัติเถร (มี) ๑ พระครูศีลสมาจารย์(เมฆ) ๑ ฯ
การศึกษาด้าน พระปริยัติบาลีมูลกัจจายน์ พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) เป็นพระ
อาจารย์ใหญ่ พระสุธรรมธีรคุณ (เกิด) ๑ พระมหาเกด ๑ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ ท่านอาพาธด้วยโรคชรา มรณะภาพลงเมื่อสิริรวม
อายุได้ ๘๐ ปีเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานโกศเจ้า
คณะใหญ่อรัญวาสี ให้ตามตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี แต่เอาโกศตั้งไว้ข้างหน้าฉาก
สรีระของท่านใส่หีบทองทึบไว้ด้านหลังฉาก
สรีระสังขารของท่าน คณะศิษยานุศิษย์เก็บไว้บำเพ็ญกุศลนานประมาณสามปี
และนับเป็นสมัยสุดท้าย เมื่อสิ้นพระญาณสังวร (บุญ) แล้ว
ตำแหน่งพระญาณสังวร ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี อาวุโสทางพรรษานั่ง
หน้า ผู้มีสมณะศักดิ์สูง ก็ทรงยกเลิกทั้งหมดในรัชกาลที่ ๔ นี้เอง ทรงจัดการตั้งระเบียบ
แบบแผน ของคณะสงฆ์ใหม่
ถึงคราวพระราชทานเพลิงสรีระสังขารพระญาณสังวร (บุญ) พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ทำเมรุพิเศษด้วยโคลงไม้ ขึง
ด้วยผ้าขาว ตามแบบประเพณีเดิม ณ.วัดราชสิทธาราม ประดับด้วยกระดาษทองกระดาษ
เงิน ตัดฉลุ ทำเป็นลวดลายวิจิตร ประดับพวงดอกไม้หอมต่างๆ แต่การประดับประดา
นั้น ยังน้อยกว่าครั้ง งานพระราชทานเพลิงศพ พระญาณสังวร (ด้วง)
ใกล้เวลาพระราชทานเพลิงศพมี พระสงฆ์มากมาย มานั่งล้อมรอบเมรุหลายชั้น
คราคร่ำไปด้วยผู้คนมากมาย เมื่อถึงเวลาพระราชทานเพลิงศพเสด็จพระราชดำเนินมา
ประราชทานเพลิงสรีระสังขารท่าน สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลง
กรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ การพระราชทานเพลิงนั้นอยู่
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๐
พระญาณสังวร (ด้วง) พระญาณสังวร (บุญ) ได้เป็นพระอาจารย์กรรมฐานของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัวครั้งทรงผนวช และเสด็จพระราชดำเนินไปมา
ระหว่าง วัดพลับ กับวัดสมอลาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสรรเสริญไว้เมื่อได้
ทรงพระราชนิพนธ์ ถึงการทรงศึกษาพระกรรมฐาน ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ว่า.ได้ทรงประทับศึกษาอาจารย์สมัยในสำนักวัดสมอลาย ทรงทราบเสร็จสิ้นจนสุดทางที่จะศึกษาต่อไปอีกได้ จึงได้ย้ายไปประทับอยู่ ณ. วัดพลับ (ตรงกับสมัย พระญาณ สังวร(ด้วง)ครองวัดพลับ พระญาณสังวร (บุญ) เป็นพระราชาคณะพ.ศ.๒๓๘๖ ครองวัด พลับ พ.ศ. ๒๓๙๓) ันเป็นแหล่งสำคัญเชี่ยวชาญในการ วิปัสสนาธุระ อีกแห่งหนึ่ง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๓)ได้ทรงผนวชที่นั้น แต่หาได้เสด็จ ประทับประจำอยู่เสมอไม่ เสด็จไปอยู่วัดราชสิทธิ์บ้าง เสด็จกลับมาประทับอยู่วัดสมอ รายบ้าง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอ กรมดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า (เรื่องประวัติ
วัดมหาธาตุ ๒๔๖๑) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงผนวช
แล้วเสด็จไปประทับอยู่ ณ. วัดสมอลาย ๑ ปี ทรงศึกษาวิธีสมถะภาวนา ทั้งที่ในสำนักวัด
สมอราย และเสด็จไปศึกษาที่สำนักวัดราชสิทธิ์ ทรงทราบตลอดลิทธิอาจารย์ทั้งสองแห่ง
นั้น ต่อมาปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ เดือน ๘ ปีขาล หลังจากเสด็จเถลิงถวัลย์ราช
สมบัติแล้ว ๓ ปี หลังพระราชทานเพลิงสรีระสังขารของ พระญาณสังวร (บุญ) แล้ว จึง
ทรงสร้างพระเจดีย์ คลอบพระเจดีย์องค์เดิมด้านทิศใต้ ของพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อ
บรรจุอัฏฐิธาตุ อังคารธาตุ ของพระปิฏกโกศล (แก้ว) พระญาณโกศลเถร(รุ่ง ) พระญาณ
สังวร (ด้วง) พระญาณสังวร (บุญ) และเป็นสำคัญว่า เคยเสด็จมาประทับศึกษา ณ. สำนักอาจารย์เดียวกัน จึงทรง สร้าง พระสิรจุมภฏะเจดีย์ ไว้เป็นคู่กันกับ พระสิราศนเจดีย์ ที่ทรงพระราชอุทิศถวาย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

 
 

Pages

Subscribe to RSS - ประวัติ