ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน


ปฐมบท

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกรรมฐานเหมาะกับทุกจริต



โดยเริ่มแรกของผู้ปฎิบัติลำดับห้อง ในการภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ในระดับขั้นต้น พระพุทธานุสสติ มี 3 ห้อง
คือรูปกรรมฐาน ตอน ๑ ได้แก่
๑.ห้องพระปีติห้า
๒.ห้องพระยุคลหก
๓.ห้องพระสุขสมาธิ
พระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์


เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้ มาขอขึ้นกรรมฐานที่วัดราชสิทธารามคณะ5 กับพระครูสิทธิสังวร(หลวงพ่อวีระ) ผู้สืบทอดกรรมฐานมัชณิมาในยุคนี้ (โทร. 084-651-7023;weera2548@yahoo.co.th )


ถ้าผู้ใดยังไม่สะดวกมาไหว้ครูกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับหลวงพ่อว่าก็สามารถภาวนาไปก่อนได้แล้วค่อยมาไหว้ครูกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับพร้อมแจ้งอารมณ์กรรมฐานภายหลัง


จากนี้ไปจะเป็นการเริ่มนั่งกรรมฐานตามรูปแบบนะครับ เริ่มโดยกล่าวบททำวัตรพระก่อน


บททำวัตรพระ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
(ให้ว่า ๓ หน)
พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุํ วรุตฺตมํ,
พุทเธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
(กราบ)
ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ
เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ
(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
(กราบ)
สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
(หมอบกราบ แล้วว่า)
ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
(กราบ)


2. จากนั้นให้กล่าวคำขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยซึ่งโทษนั้นๆที่เราเคยทำอาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน
(สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้องกล่าวทุกครั้งก่อนนั่งกรรมฐาน)

คำกล่าวขอขมาโทษ
อุกาสะ วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺ เต มยากตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ (กราบ)
ข้าขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าฯ บุญที่ข้าฯทำแล้ว ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าฯด้วยฯ (กราบ)
สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ทวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ขมามิ ภนฺเต (กราบ)
ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงให้แก่ข้าฯด้วยเถิด ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงที่ข้าฯทำด้วยทวาร(กาย วาจา ใจ) ทั้งสามแก่ข้าฯด้วยเถิด ข้าฯก็อดโทษให้แก่ท่านด้วย (กราบ)
ก่อนที่จะนั่งภาวนาพระกรรมฐานนั้น จะเกิดผลสำเร็จได้ ต้องมีการขอขมาโทษก่อน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขมานะกิจ คือการนำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมาโทษต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ท่านทั้งหลายอาจเคยล่วงเกินต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็น อดีต ปัจจุบัน เป็นเหตุให้มีโทษติดตัว การเจริญกุศลธรรมอาจไม่เกิดขึ้นได้ หรือ เจริญขึ้นได้ และ อาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน จึงต้องมีการ ขอขมาโทษก่อน เพื่อไม่ให้ เป็นเวร เป็นกรรม ปิดกั้น กุศลธรรม ที่กำลังบำเพ็ญอยู่ และเป็น ปฏิปทาห่างจากกรรมเวร


3.จากนั้นกล่าวคำอาราธนาพระกรรมฐานเป็นบาทฐาน(สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้องกล่าวทุกครั้งและเริ่มด้วยพระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า จนกว่าจะสอบอารมณ์กับพระอาจารย์วีระผ่านท่านจึงจะให้เปลี่ยนคำอาราธนาครับ ห้ามเปลี่ยนเองโดยพลการ)



อธิบายคำอาราธนาสมาธินิมิต(เหตุใดต้องกล่าวคำอาราธนาพระกรรมฐานทุกครั้ง)
เมื่อจะนั่งเข้าที่ภาวนานั้น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดไว้ว่า ต้องอธิษฐานสมาธินิมิต หรือ อาราธนาสมาธินิมิต เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป กุศลธรรมในที่นี้หมายถึง สมาธิจิตที่ตั้งมั่น เป็น สัมมาสมาธิ อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการ เตรียมจิต ก่อนที่จะภาวนาสมาธิ ดังปรากฏใน พระสุตตนฺตปิฏก องฺคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปาปณิกสูตรที่ ๑

คำอาราธนาพระกรรมฐาน
(อธิษฐานสมาธินิมิต)
ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

ข้าฯขอภาวนาพระพุทธคุณเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมาตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ
อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ


อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจะระณะสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวะมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ
อรหํ อรหํ อรหํ
(องค์ภาวนา พุทโธ)



ปล.

การเริ่มนั่งกรรมฐานตามแบบที่พระอาจารย์บอกสืบๆกันมา โดยแรกท่านจะให้ องค์ภาวนาว่าพุท-โธ ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ อยู่ใต้สะดือ2 นิ้ว

คำว่า2 นิ้วนี้วัดโดยใช้นิ้วมือของเรา2นิ้วทาบใต้สะดือสุดที่ใดก็ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ไว้ตรงจุดนั้นนั่นเอง



4. คำอธิบายเวลากำหนดจิต


หลังจากอาราธนาองค์พระกรรมฐานแล้ว ครั้งแรกกำหนดจิตให้มารวมไว้ที่ใต้สะดือ ๒ นิ้วมือ(ภาวนา พุท-โธ) กำหนดด้วยความตั้งใจจริง ค่อยดำเนินไปด้วยความเพียรชั้นกลาง แลมีสติค่อยประคับประคองให้ตรงต่อจุดมุ่งหมาย อย่ารีบร้อนให้มี ให้เป็นจนเกินไปกว่าเหตุผลจะอำนวยให้ เพราะคุณสมบัติสมาธินี้เป็นของกลาง เป็นเองด้วย บังคับไม่ได้ เราอยากให้เป็นสมาธิก็ไม่เป็น ไม่อยากให้เป็นสมาธิก็ไม่เป็น เราทำก็ไม่เป็น เราหยุดเสียไม่ทำก็ไม่เป็น แต่จะสำเร็จผลในขณะที่เราทำให้มาก เจริญให้มากโดยสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่ขาดสายทำไปโดยอาการเยือกเย็น และจิตกล้าหาญ ในเมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งได้แล้ว กระบวนการแห่งสมาธิก็จะเป็นไปเอง

วิธีนั่งเข้าที่ภาวนาโดยละเอียด


นั่งคู้บัลลังก์ เท้าขวาทับ เท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้ายตั้งกายตรง บริกรรม พุทโธ กำหนดจิตดังนี้


๑.สมาธินิมิต คือเครื่องหมายสำหรับตั้งสมาธิ ให้ตั้งที่ใต้นาภี คือ สะดือ สองนิ้วมือ เป็นที่ชุมนุมธาตุ และ สัมปยุตธาตุ บริกรรมในที่นี้จะเกิดกำลังมาก อันห้องพระพุทธคุณ อยู่ใต้นาภี สองนิ้วมือ
๒. ปัคคาหะนิมิต คือการยกจิตไปอยู่ที่สมาธินิมิต คือที่ใต้นาภี สองนิ้วมือ จิต ได้แก่ การนึก การคิด การรับรู้อารมณ์ หรือ สติ
๓. อุเบกขานิมิต คือ การวางเฉยในอารมณ์ จิตไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ ที่เป็น อดีต ที่เป็นอนาคต ให้มีจิตอยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน จิตที่แล่นไปใน อดีต อนาคต เป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน
การกำหนด สมาธินิมิต (นาภี) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
การกำหนดปัคคาหะนิมิต (ยกจิต) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
การกำหนด อุเบกขานิมิต (วางเฉย) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่น
ต้องกำหนดนิมิต สามประการ คือ สมาธินิมิต ปัคคาหะนิมิต อุเบกขานิมิต ไปพร้อมกันตลอดกาล ตามกาล จึงทำให้จิตอ่อนควรแก่การงาน จิตที่อ่อนควร แก่การงาน คือ จิต ที่ปราศจากนิวรณธรรม คือ กามฉันท์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พยาบาท ได้แก่การปองร้าย ถีนะมิทธะ ความง่วงหงาวหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ วิจิกิจฉา ความสงสัย
การกำหนด สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต มาใน พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต สมุคคสูตร ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุประกอบสมาธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหะนิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่องและ ไม่เสียหาย จิตย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นอาสวะ และ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยธรรมอันยิ่งใดๆเธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุเป็นอยู่ มีอยู่
ก่อนนั่งสมาธิภาวนาพึงสำเหนียกในใจก่อนว่า
จิตของเราจักเป็นจิตหยุด ตั้งมั่นอยู่ภายใน ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องไม่ยึดจิตของเรา ตั้งอยู่
เป็นการอธิษฐานจิต ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อมิให้จิตซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ เป็นการวางอารมณ์ ของจิตให้แน่วแน่ มีสติรู้ทัน ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล เช่น นิวรณธรรมเป็นต้น ไม่ให้มารบกวนจิต ยึดจิตติดอยู่ ทำให้จิตไม่บรรลุสมาธิได้ง่าย


5.
หลังเลิกนั่งภาวนา

เมื่อเจริญภาวนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าพึ่งลุกออกจากอาสนะ ให้แผ่เมตตา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์ก่อน จึงลุกออกจากที่ เมื่อนั่งแล้วรู้เห็นอะไร ห้ามไปคุยกันเอง ให้ไปแจ้งบอกกล่าว กับพระอาจารย์กรรมฐาน โดยมากพระอาจารย์จะให้กล่าวบทกรวดน้ำยังกิญจิ

บทกรวดน้ำยังกิญจิ
ของพระเจ้าโลกวิชัย ผู้เป็นพระบรมโพธิสัตว์

ยังกิญจิ กุสะลัง กัมมัง กัตตัพพัง กิริยัง มะมะ
กาเยนะ วาจามะนะสา ติทะเส สุคะตัง กะตัง
เย สัตตา สัญญิโน อัตถิ เยจะ สัตตา อะสัญญิโน
กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
เย ตัง กะตัง สุวิทิตัง ทินนัง ปุญญะผะลัง มะยา
เย จะ ตัตถะ นะ ชานันติ เทวา คันตวา นิเวทะยุง
สัพเพ โลกัมหิ เย สัตตา ชีวันตาระเหตุกา
มะนุญญัง โภชะนัง สัพเพ ละภันตุ มะมะ เจตะสาติฯ
กุศลกรรมอย่าง ใดอย่างหนึ่งเป็นกิจที่ควรฝักใฝ่ ด้วยกาย วาจา ใจ เราทำแล้วเพื่อไปสวรรค์ สัตว์ใดมีสัญญา หรือไม่มีสัญญา ผลบุญที่ข้าฯทำนั้นทุกๆสัตว์ จงมีส่วน สัตว์ใดรู้ก็เป็นอันว่าข้าฯให้ แล้วตามควร สัตว์ใดมิรู้ถ้วน ขอเทพเจ้าจงไปบอกปวงสัตว์ ในโลกีย์ มีชีวิตด้วยอาหาร จงได้โภชนะสำราญ ตามเจตนา ของข้าฯเทอญ ฯ





6.วิธีแจ้งพระกรรมฐาน
(รูปกรรมฐาน สอบนิมิต อรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์)


เมื่อจะไป แจ้งพระกรรมฐาน หรือไปสอบอารมณ์นั้น พระภิกษุให้ห่มผ้าเรียบร้อย ไปพร้อมดอกไม้ธูปเทียน กราบพระพุทธรูปก่อนแล้ว จึงกราบพระอาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน ถวายดอกไม้ให้พระอาจารย์ด้วย แล้วจึง แจ้งอารมณ์พระกรรมฐาน กับพระอาจารย์(ถ้าเป็นฆราวาสก็เพียงแต่ติดต่อไปยังพระอาจารย์วีระ หรือ
หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023;หรือแจ้งทาง e-mail : weera2548@yahoo.co.th
;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]

รายละเอียดของสถานที่ฝึก
ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023)

รูปพระอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับที่ท่านควรรู้จักครับ






Forums: 
หมวดหมู่: