ประวัติพระมงคลเทพมุนี พระมงคลเทพมุนี มีนามเดิมว่า เอี่ยม ฉายาว่า เกสรภิกขุ เป็นสกุลพราหมณ์ ชาติ ภูมิอยู่ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี บิดาชื่อเกษ มารดาชื่อส้ม เกิดใน รัชกาลที่ ๓ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๑๐ ค่ำ ปี จอ จุลศักราช ๑๒๐๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๘๑ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๖ ในรัชกาลที่ ๔ เมื่ออายุ ได้ ๑๕ ปี ได้เป็นศิษย์พระ ญาณสังวร (บุญ) อยู่ที่วัดราชสิทธาราม ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๘ อายุ๑๗ บรรพชาเป็นสามเณร ในสำนักพระปลัด อ่อน วัดราชสิทธาราม ศึกษาอัก ขระสมัย และเรียนพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ ใน สำนักมหาดวง วัดราชสิทธาราม ครั้นถึงปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒ อายุครบอุปสมบท ๆ ณ. พัทธสีมา วัดราช สิทธาราม พระวินัยรักขิต วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) วัดราชสิทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) วัดราชสิทธาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้ว ศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ต่อมาใน รัชกาลที่ ๔ พรรษาแรกได้เป็น พระพิธีธรรม ต่อมาพรรษาที่ ๑๔ ได้ออกสัญจรจาริกถือธุดงค์ ไปตามจังหวัดภาคเหนือ โดย ตามพระสังวรานุวงศ์เถร(เมฆ) ไปบ้าง บางที่ก็ไปเองบ้าง และเคยแรมพรรษาที่วัดดอย ท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ สองพรรษา กลับมาแล้วได้รับแต่งตั้งเป็น พระถานานุกรมที่ พระใบฏีกา ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๓ ของพระสังวรานุวงเถร (เมฆ)ต่อมาพรรษาที่ ๑๙ ได้ เป็นพระปลัด ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๑ ของพระสุทธิศีลาจารย์ วัดราชสิทธาราม ปีที่ท่านเป็น พระปลัด นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา บำราบปรปักษ์ มีพระประสงค์ ให้พระมงคลเทพมุนี ครั้งเป็นที่ พระปลัดเอี่ยม ช่วย แต่ง ลิลิตมหาราช ท่านก็แต่งถวายจนสำเร็จ การแต่งในครั้งนั้นมีผู้อื่นช่วยบ้างเล็กน้อย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ได้นำหนังสือที่ท่าน แต่งเสร็จแล้ว ไปไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ ต่อมาได้ถวายเทศ กัณฑ์วนประเวศ หน้าพระที่นั่ง รัชกาลที่ ๕ จึงทรงแต่งตั้งเป็น พระครูชั้นพิเศษที่ พระครูพจนโกศล ท่านเป็นทั้งนักกวี เป็นทั้งนักเทศมหาชาติฝีปาก เอก เป็นพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย กรมพระยาดำรง ได้เขียนเล่าประวัติ พระ มงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ไว้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ของพระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ ว่า . ” กระบวนเทศมหาชาติ ของมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ดูเหมือนจะเทศได้ทุกกัณฑ์ แต่กัณฑ์วนประเวศ นั้นนับว่า ไม่มีตัวที่จะเสมอ ท่านได้เคยถวายเทศนั้นประจำตัว มา ตั้งแต่ข้าพเจ้า (กรมพระยาดำรง)ยังเด็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ก็ทรง โปรด แต่ทรงมีพระราชดำรัสติ อยู่คราวหนึ่ง ว่า... “พระครูเอี่ยม (พระครูพจนโกศล) เทศก็ดี แต่อย่างไรดูเหมือน อมก้อนอิฐไว้ในปาก” ต่อมาเมื่อท่านได้เป็น พระมงคลเทพมุนี ฟันหักหมดปากแล้ว ได้ถวายเทศอีกครั้ง หนึ่ง รัชกาลที่ ๕ ทรงดำรัสชมว่า “ตั้งแต่ก้อนอิฐหลุดออกจากปากหมด พระมงคลเทพฯ เทศเพราะขึ้นมาก” ท่านนับอยู่ในพระราชาคณะที่ทรงพระเมตตา องค์หนึ่ง คู่กับ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม พระสังวรานุวงศ์เถร คนทั้งหลายเรียกว่า พระปลัดเอี่ยมใหญ่ (สมัยท่านเป็น พระปลัด) พระมงคลเทพมุนี คนทั้งหลายเรียกว่า พระปลัดเอี่ยมเล็ก (สมัยท่านเป็น พระ ปลัด) ถึงปีเถาะ พระพุทธศักราช ๒๔๓๔ สมัยรัชกาลที่ ๕ เลื่อนสมณะศักดิ์ จากพระ ครูพจนโกศล เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระสุธรรมธีรคุณ ได้รับพระราชทานนิตยภัต เดือนละ ๑๒ บาท วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๓๔ เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระมงคลเทพมุนี สมณะศักดิ์เสมอชั้นเทพ มีสำเนาประกาศดังนี้ ให้เลื่อนพระสุธรรมธีรคุณเป็น พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนไพรวัน ปรันต ประเทศ เขตอรัญวาสีบพิตร สถิตย์ ณ. พระพุทธบาท เมืองปรันตะปะ บังคบคณะพระ พุทธบาท มีนิตยภัตร ราคา ๓ ตำลึงกึ่ง มีถานานุศักดิ์ ควรตั้งได้ ๕ รูป คือพระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฏีกา ๑ รวม ๕ รูป มี ตำแหน่งพระครูผู้ช่วย ๓ รูปคือ ๑. พระครูพุทธบาล พระครูรักษาพระพุทธบาท ๒. พระครูมงคลวิจารย์ พระครูรักษาพระพุทธบาท ๓. พระครูญาณมุนี พระครูรักษาพระพุทธบาท พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ได้เป็นผู้ช่วยพระพุฒาจารย์ (มา) วัดจักรวรรดิ์ ปีพระ พุทธศักราช ๒๔๕๖ รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (พลับ) ต่อมาปีพระ พุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (พลับ) ด้านการศึกษา พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนา ธุระ ด้านการศึกษา พระปริยัติธรรม พระมหาสอน เป็นพระอาจารย์ใหญ่ วันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน ๒๔๕๗ จึงขอลาออกจากเจ้าคณะพระพุทธบาท และ เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เพราะชราทุพพลภาพ จึงถวายพระพร ขอลาออกจากหน้าที่ ต่อพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (สิ้นรัชกาลที่ ๕ แล้ว) ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ประมาณ สามเดือนเศษ พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) อาพาธด้วยโรคชรา และถึงแก่มรณะภาพ เมื่อวันเสาร์ ที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ คำนวนอายุได้ ๘๕ ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวัน พฤหัสบดีที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖(นับเดือนไทย เดือนสิงหาคม-เดือนมีนาคม เป็นปี ๒๔๖๖- เดือนเมษายน เป็นปี ๒๔๖๗ ) ผลงาน ของพระมงคลเทพมุนี คิดทำนองหลวงสวดพระอภิธรรม ๑ เป็นนักเทศมหาชาติฝีปากเอก ๑ เป็นกวี แต่งลิลิตมหาราชครั้งเป็น พระปลัดเอี่ยม ๑ |
Recent comments