- หน้าแรก
- พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
- เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
- ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
- พระเครื่องและวัตถุมงคลยุคพระครูสิทธิสังวร
- ทำเนียบเจ้าอาวาส
- ทำเนียบกรรมฐาน
- ประวัติตำแหน่ง
- ประวัติพระครูสิทธิสังวร
- เรื่องกรรมฐาน
- พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน
- ไม้เท้าพระราหุล
- ไม้เท้าพระพุทธเจ้า
- ตำนานพระฤาษี
- พระเครื่องวัดพลับ
- รวมลิงก์ธรรม
- แผนที่และข้อมูลติดต่อ
๑๕. ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร(เมฆ)
ดู ๙. ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร(เมฆ) จากหนังสือ ทำเนียบอดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร
พระสังวรานุวงศ์เถร มีนามเดิมว่า เมฆ บ้านเดิมอยู่ แขวงกรุงเก่า เกิดเมื่อ
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๓ ปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เข้ามาบรรพชา
อุปสมบทวัดพลับ เพราะศรัทธาเลื่อมใสในพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๗ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดา ได้นำท่านมาฝาก
บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักพระวินัยรักขิต (ฮั้น) เพื่อศึกษาอักขรสมัย ต่อมาได้ศึกษา
พระกรรมฐานในสำนักพระอุปัชฌาย์ด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๔๔ บรรพชาอุปสมบท ณ. พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม
พระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร หรือท่านเจ้าคุณหอไตร เป็น
พระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระพรหมมุนี
(ชิต) และพระครูวินัยธรรมกัน ครั้งเป็นพระใบฎีกาด้วย
ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น). ต่อมาได้ออก
รุกขมูลเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ที่ต่างๆ
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ในรัชกาลที่ ๒เป็นพระปลัด ว่าที่ถานานุ
กรมชั้นที่ ๑ ของพระญาณวิสุทธิ์เถร (เจ้า) เป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานในปีนั้น
ด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๒ ในรัชกาลที่๓ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น พระ
ครูศีลสมาจารย์ พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ รับพระราชทานนิตยภัต ๑ ตำลึง ๒
บาทปีที่สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นสมเด็จ
พระสังฆราชเจ้า องค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระราชา
คณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระสังวรานุวงศ์เถร มีนิตยภัต ๓ ตำลึง และให้จ่ายข้าวสาร
ซ้อมแล้ว ๑๕ ทะนาน เป็นประจำทุกเดือน รับพระราชทานพัดงาสาน ปีนั้นสิริรวมอายุ
ท่านได้ ๘๐ ปีพอดี ตำแหน่งพระสังวรานุวงศ์เถร หมายความว่าผู้สืบวงศ์พระกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒อีก ๕ เดือนต่อมา พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) ได้
มรณะภาพลง พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นอาจารย์ใหญ่
ฝ่ายวิปัสสนาธุระประจำวัดราชสิทธาราม เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี เจ้าคณะมณฑล
ธนบุรี รับพระราชทานนิตยภัต ๓ ตำลึง ๒ บาท
ด้านการศึกษา
ด้านพระกรรมฐาน พระสังวรานุวงศ์เถร เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระครูสังวร
สมาธิวัตร (เอี่ยม) ๑ พระปลัดโต ๑ พระสมุห์กลั่น ๑ พระปลัดมาก ๑ พระสมุห์คง ๑ พระ
ปลัดเอี่ยม ๑ พระสมุห์ชุ่ม ๑ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย ในสมัยท่านพระกรรมฐาน
เจริญรุ่งเรืองมาก มีพระเถรานุเถรมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับกันมากมาย
เช่น พระมหาแพต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช นำมาฝากโดยสมเด็จ
พระวันรัต(แดง) วัดสุทัศน์ พระภิกษุเงิน หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน พระภิกษุศุข หรือ
หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า พระภิกษุทอง หลวงพ่อทองวัดราชโยธา พระมหาเสาร์ กันตสี
โร หรือพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร ฯลฯ
ฝ่ายพระปริยัติธรรม-บาลี พระสุธรรมธีรคุณ (เกิด) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระ
อมรเมธาจารย์ (เกษ) ๑ พระปลัดอ่อน ๑ พระอาจารย์ทอง๑ พระมหาด้วง ๑ พระมหาแก้ว
๑ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ท่านมรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อสิริรวมอายุได้
๑๐๖ ปีพรรษา ๘๕ เป็นเจ้าอาวาสมา ๒๖ ปี สรีระของท่านเก็บบำเพ็ญกุศลไว้ประมาณ
สองปีเศษ จึงพระราชทานเพลิงศพ ระหว่างที่เก็บสรีระ ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)
พระสุธรรมธีรคุณ (เกิด) เจ้าอาวาสองค์ต่อมาได้มรณะภาพลง ต่อมาอีกประมาณ ๖ เดือน
พระอมรเมธาจารย์ (เกด) เจ้าอาวาสองค์ต่อมา ก็ได้มรณะภาพลงอีก เนื่องจากท่านทั้ง
สามองค์มีพรรษายุกาลชราภาพมากแล้ว เวลานั้นวัดราชสิทธาราม จึงมีงานตั้งบำเพ็ญ
กุศลศพ ๓ ศพ
และกาลต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๑จึงได้พระราชทานเพลิงศพ
พร้อมกันทั้ง ๓ ศพในวันเดียวกัน วันที่พระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จมาเป็น
องค์ประธานฝ่ายคณะสงฆ์ พระราชทานเพลิงศพ ครั้งนั้นกล่าวว่า พระบรมวงศานุวงศ์
และเจ้านายในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ที่ทรงพระชนชีพอยู่มาจนถึงรัชกาลที่ ๕
ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย พระสงฆ์ผู้ใหญ่ ผู้น้อย มาแน่นขนัดเต็มลานวัดไปหมด เรือที่มา
งานศพก็จอดยาวตั้งแต่ครองบางกอกใหญ่ เข้ามาแน่นคลองวัดราชสิทธาราม เนื่องจาก
ท่านทั้ง ๓ เป็นพระมหาเถรมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น
และในสมัยนั้น สำนักวิปัสสนาธุระในประเทศไทย วัดราชสิทธารามเป็นสำนักที่
มีชื่อเสียงมาก และเป็นวัดอรัญวาสีสำคัญที่เหลืออยู่ในเวลานั้น อีกทั้งในเวลานั้นใน
ประเทศไทยก็ยังไม่มีสำนักกรรมฐานใหญ่ๆเกิดขึ้นเลย จึงมีแห่งเดียวที่ วัดราชสิทธา
รามนี้เท่านั้น
ทำเนียบ สมณศักดิ์ พระราชราคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่พระสังวรานุวงศ์เถร
ประจำวัดราชสิทธารามศูนย์กลางพระกรรมฐานประจำกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีขึ้นใน
รัชสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๑. พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๐๒ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ถึงแก่
มรณะภาพ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๘ ในรัชกาลที่ ๕
๒. พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๒๙ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ถึงแก่
มรณะภาพ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ในรัชกาลที่ ๖
๓.พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๕๗ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ถึงแก่
มรณะภาพ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๐ ในรัชกาลที่ ๗
๔.พระสังวรานุวงศ์เถร (สอน) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๙๐ เทียบชั้นราช ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๙ ถึงแก่มรณะภาพ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๕๐๐ ในรัชกาลที่ ๙
- Printer-friendly version
- Log in or register to post comments
- 13383 reads
Recent comments