๘. ประวัติพระญาณโกศลเถร (มาก)

 ประวัติพระญาณโกศลเถร (มาก)

00016

ประวัติพระญาณโกศลเถร (มาก)
อดีตพระอาจารย์กรรมฐาน และอดีตรักษาการเจ้าอาวาส
พระญาณโกศลเถร มีนามเดิมว่า มาก เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๙ สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองกรุงศรีอยุธยา ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘
บรรพชาอุปสมบท เมื่ออายุได้ ๓๙ ปีเศษ ณ.พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม เมื่อวันผูกพัทธ
สีมา ท่านอุปสมบทเป็นองค์แรกของพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม พระญาณสังวรเถร
(สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดชิต (พระพรหมมุนี หรือเจ้าคุณหอไตร) เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ พระสมุห์ฮั่น เปรียญ (พระวินัยรักขิต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เหตุที่
ท่านไม่ได้บรรพชาอุปสมบทมาแต่อายุ ๒๐ นั้น เพราะมีเหตุยุ่งยากกับเหตุการบ้านเมือง
ครอบครัวท่านพลัดพรากกระจัดกระจาย
เมื่ออุปสมบทแล้วศึกษาพระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระญาณ
สังวรเถร (สุก) และพระพรหมมุนี ครั้งเป็นพระปลัดชิต ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจ
จายน์ กับพระวินัยรักขิต ครั้งเป็นพระสมุห์ฮั่น ต่อมาได้เที่ยวออกสัญจรจาริกธุดงค์ไป
ตามสถานที่ต่างๆทุกปีมิได้ขาด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ เป็นพระครูพรหมวิหาร พระครูวิปัสสนา ถานานุ
กรมของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) เป็นพระอาจารย์บอกพระ
กรรมฐานในครั้งนั้นด้วย
ปีพระพุทธศักราช .๒๓๖๔ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ทำสังคายนาพระ
กรรมฐาน ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ ประมาณกลางปีเป็นพระราชาคณะ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ที่ พระญาณโกศลเถร พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมัย
เดียวกันกับ พระเทพโมลี (ฉิม) วัดพระเชตุพนฯ ต่อมา ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๕
พระเทพโมลี (ฉิม) ได้รับสถาปนาเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ ย้ายไปครองวัดโมลีโลกฯ
พระญาณโกศลเถร (มาก) เป็นพระราชาคณะได้ไม่ถึงสองเดือน พระเทพโมลี (กลิ่น) ก็
ถึงแก่มรณะภาพลง
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ หลังจากพระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า)มรณะภาพลง
ระหว่างรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามนั้น พระญาณโกศลเถร (มาก) ได้
รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นองค์ต่อมา และท่านก็ถึงแก่มรณะภาพลง ใน
ระหว่างรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๐ ปีเศษ พรรษา ๔๑
ครั้งนั้นที่วัดราชสิทธารามนี้ ได้ตั้งบำเพ็ญมหากุศลสรีระสังขาร ของอดีตพระ
มหาเถรผู้ใหญ่ ของวัดราชสิทธารามนี้ถึงเจ็ดพระองค์ พระมหาเถรทั้งเจ็ดพระองค์นี้ ต่าง
เป็นผู้มีชื่อเสียงผู้คนทั้งหลายนิยม เคารพนับถือมาก หลังจากพระญาณโกศลเถร (มาก)
สิ้นแล้ว ทางคณะสงฆ์วัดราชสิทธารามเก็บสรีระสังขารของอดีตมหาเถรทั้งเจ็ดท่านไว้
อีกประมาณสามปี
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๑ จึงพระราชทานเพลิงศพพร้อมกันทั้งเจ็ด
องค์ เมื่อถึงคราวออกเมรุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานโกศ
หนึ่งองค์ สำหรับพระพรหมมุนีชิต ตามตำแหน่ง และทรงอุทิศพระราชทานให้ทั้งหก
ท่านด้วย ในพระโกศใบเดียวกันนี้ โดยนำพระโกศตั้งหน้าหีบทองทึบทั้งเจ็ด เป็น
เกียรติยศสำหรับพระมหาเถรทั้งเจ็ดท่าน ทรงพระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง
ทางคณะสงฆ์มี สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ การ
พระราชทานเพลิงศพครั้งนั้น กล่าวว่า มีผู้คนมาร่วมในงานพระราชทานเพลิงสรีรสังขาร
พระมหาเถรทั้งเจ็ด ตั้งแต่เย็นจดเที่ยงคืน จึงหมด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงสถาปนาพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุพระอัฏฐิธาตุ และพระ
อังคาร ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ส่วนที่คณะสงฆ์เก็บไว้ที่วัดราชสิทธาราม
พร้อมกันนั้นก็ได้บรรจุอัฏฐิธาตุ และอังคาร ของพระมหาสงฆเถระทั้งเจ็ดองค์ ไว้ใน
พระเจดีย์องค์เดียวกันนี้ในครั้งนั้นด้วย พระเจดีย์องค์นี้ทรงสถาปนาไว้ทางด้านหน้าพระ
อุโบสถข้างทิศไต้ พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำการบูรณะวัดราช
สิทธารามเป็นการใหญ่ในปีนั้นด้วย ทำการฉลองในปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๔
ปรากฏ ในหนังสือประชุมพงศาวดารประกาศ รัชกาลที่ ๔ ภาค ๒๕ ปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๖๕ หน้า ๗๒ ตอนหนึ่งว่า
“พระสถูปเจดีย์ทั้งคู่มี พระอัคฆิยเจดีย์ ๔ ทิศเป็นบริวาร ที่หน้าพระอุโบสถวัด
ราชสิทธาราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระบรมเชษฐาธิราช
ทรงสถาปนาไว้ในหมู่ข้างใต้แต่ก่อน ครั้งนี้มีพระราชศรัทธา (หมายถึงรัชกาลที่ ๔) ทรง
อุตสาหะปฏิสังขรณ์ ให้วัฒนาถาวรดีกว่าเก่า “
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงสถาปนาเป็นพระเจดีย์แบบลังกาทรงเครื่อง มีสังวาลย์พาดห้อยประกอบด้วย
ลวดลาย ปิดทองประดับกระจก คลอบพระเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสององค์เดิม มีเจดีย์ย่อ
มุมไม้สิบสองขนาดเล็ก ๔ ทิศ ๔ มุมเป็นบริวาร อันเป็นของพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าพระ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่ทรงสถาปนาไว้หน้าพระอุโบสถ ข้างทิศใต้มาแต่ก่อน และ
พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงสถาปนาพระเจดีย์แบบลังกาทรงเครื่องอย่างเดียวกันไว้ ทางหน้า
พระอุโบสถข้างทิศเหนือ แล้วพระราชทานนามพระเจดีย์ของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
เจ้าอยู่หัวว่า พระสิราศนเจดีย์ และพระราชทานขนานพระนามพระสถูปเจดีย์ ด้วยการ
สถาปนาไว้ด้วยพระองค์เองว่า พระสิรจุมภฏเจดีย์