- หน้าแรก
- พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
- เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
- ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
- พระเครื่องและวัตถุมงคลยุคพระครูสิทธิสังวร
- ทำเนียบเจ้าอาวาส
- ทำเนียบกรรมฐาน
- ประวัติตำแหน่ง
- ประวัติพระครูสิทธิสังวร
- เรื่องกรรมฐาน
- พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน
- ไม้เท้าพระราหุล
- ไม้เท้าพระพุทธเจ้า
- ตำนานพระฤาษี
- พระเครื่องวัดพลับ
- รวมลิงก์ธรรม
- แผนที่และข้อมูลติดต่อ
เชิญร่วมหล่อปู่ฤาษีโภคทรัพย์ หล่อที่ โรงหล่อท้าวผาแดง งานศีลป ติดต่อ ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม โทร. 084-651-7023
( 31 ธ.ค.57-1 ม.ค.58 ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่)
ปู่ฤาษีปัญจะโภคทรัพย์
พระเจ้าจักรพรรดิ ทัลหเนมิ เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนไป พระองค์จึงออกผนวชเป็นฤาษี พร้อม
ด้วยอำมาตย์ มหาอำมาตย์ เมื่อผนวชแล้วมีพระนามว่า พระราชฤาษีธรรมราชาบดี
พระราชฤาษีธรรมราชาบดี พระองค์เคยฟังธรรมของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อผนวชเป็นราชฤาษีแล้ว
ทรงสำเร็จอานาคามิมรรค อานาคามิผล เมื่อสิ้นชีพแล้ว อุบัติอยู่ในสุธาวาสพรหมโลก ส่วน อำมาตย์ มหาอำมาตย์ และ
บริวาร ก็ถือเพศเป็นฤาษี ประพฤติธรรมเป็นประโยชน์ในปัจจุบัน ประพฤติธรรมประโยชน์ในภายหน้า พระราชา และ
คณะอำมาตย์ทั้ง ๔ ประพฤติธรรมได้ ๓ วัน สรีระร่างกายที่เคยทรวดทรงดี ก็กลับกลายเป็น สรีระร่างกายที่อ้วนพี สม
ลักษณะเจ้าแห่งโภคทรัพย์
อำมาตย์ทั้ง ๔ ที่ถือเพศเป็นฤาษี มีนามดังนี้ ๑.อำมาตย์คลังทอง มีนามว่า พระฤาษีคลังทอง (ฤาษีขุนคลัง)๒.อำมาตย์
คลังแก้วแหวน มีนามว่า พระฤาษีคลังแก้วแหวน(ฤาษีโภคทรัพย์) ๓.อำมาตย์คลังธัญญาหาร มีนามว่า พระฤาษี
ธัญญาหาร (ฤาษีโภสพ) ๔.อำมาตย์คลังสินค้ามีนามว่า พระฤาษีคฤหบดี
พระฤาษีทั้ง ๕ ตนได้ประพฤติธรรมของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระฤาษีทั้ง ๕ จึงเป็นที่นับถือของคนทั่วไป ผู้คนทั้งหลายไปฟังธรรมจากพระฤาษีทั้ง ๕ ตนนี้ทุกวันพระ ๑๕ ค่ำ
ธรรมของปู่ฤาษีปัญจะโภคทรัพย์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน แก่กุลบุตร ๔ ประการ คือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑
อุฏฐานสัมปทา คือ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยก
อารักขสัมปทา คือ กุลบุตรในโลกนี้ มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
กัลป์ยาณมิตตตา คือ เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วย ศรัทธา ๑ ศีล ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑
สมชีวิตา คือ รู้ทางเจริญทรัพย์ และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟุมฟาย
ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้นี้เรียกว่าสมชีวิตา ฯ
โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑
โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรดี สหายดีเพื่อนดี ๑ ไม่เล่นการพนัน ๑ มีมิตรดีสหายดี เพื่อนดี ๑
ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในภายหน้า ธรรม ๔ ประการ คือ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑ ฯ
สัทธาสัมปทา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
สีลสัมปทา คือ กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้น จากปาณาติบาต ฯลฯ
จาคสัมปทา คือ กุลบุตรในโลกนี้ มีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี่
ปัญญาสัมปทา คือ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ
ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ฯ
คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสม
เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์ที่หามาได้ มีศรัทธา
ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ ชำระทาง
สัมปรายิกประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าว
นี้ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนาม
อันแท้จริง ตรัสว่า นำสุขมาให้ในโลกทั้งสอง คือ ประโยชน์
ในปัจจุบันนี้และความสุขในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้
ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ
พระคาถาบูชาขอพร ปู่ฤาษีปัญจะโภคทรัพย์ ทั้ง๕
(ให้ว่า นะโม ๓ จบ)
พุทธังชีวิตตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณังคัจฉามิ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
อุอากะสะ สสจป นะชาลีติ นะชาลีเต หังชาลีติ พะลิราชา ปิยังมะมะ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิ มา มา นะ โม พุท ธา ยะ
เ
Recent comments