๖. ประวัติพระญาณสังวร (บุญ)

 ประวัติพระญาณสังวร
00002

ประวัติพระญาณสังวร
พระญาณสังวร มีนามเดิมว่า บุญ เป็นชาวเมืองเพรชบุรี เกิดปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๑๗ ในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๒ ท่านมีอายุ
ได้ ๑๕ ปี บิดามารดา นำท่านมาฝากอยู่กับป้า บ้านคลองบางกอกน้อย ธนบุรี ต่อมา
คุณป้า นำท่านมาฝากบรรพชาเป็นสามเณร ในสำนักพระวินัยรักขิต (ฮั้น) ท่านได้เล่า
เรียนอ่าน-เขียน หนังสือภาษาไทย หนังสือขอม กับพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านก็ได้ศึกษา
เล่าเรียนพระกรรมฐานมัชฌิมา ในสำนักอุปัชฌาย์ด้วย ตอนเป็นสามเณร ท่านเคยตาม
พระอาจารย์ ออกไปรุกขมูล ตามป่าเขาด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๗ ท่านบรรพชา-อุปสมบท ณ. พัทธสีมา วัดราชสิทธา
ราม (พลับ) โดยมีพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็น
พระญาณวิสุทธิเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็นพระอนุสาวนา
จารย์
อุปสมบทแล้ว ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระพรหมมุนี (ชิต)
หรือท่านเจ้าคุณหอไตร และท่านได้ศึกษา กับพระวินัยธรรมกัน ครั้งเป็นพระใบฏีกาด้วย
ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น).ออกพรรษาของทุกปี
เที่ยวออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ กับพระสงฆ์ในวัดราชสิทธาราม เป็น
ประจำทุกปี
ประมาณปีพระพุทธศักราช. ๒๓๔๔ พรรษที่๗ เป็นพระปลัด ถานานุกรม ของ
พระวินัยรักขิต (ฮั่น) และเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมาด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๐ พรรษาที่ ๑๓ ในรัชกาลที่ ๑ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่
พระครูศีลสมาจารย์ พระครูวิปัสสนาธุระ พระคณาจารย์เอก
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ ณ.วันพุธ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำปีเถาะ
เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณสังวรเถร เจ้าคณะอรัญวาสี พระ
คณาจารย์เอก เมื่ออายุได้ประมาณ ๗๐ ปีเศษ เป็นปีที่ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช
(นาค) วัดราชบูรณะ พระญาณสังวรเถร (บุญ)ได้รับพระราชทานพร้อม กับพระญาณ
โกศลเถร (รุ่ง)รับนิตยภัต ๒ ตำลึงกึง พระราชทานพัดงาสาน ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์
ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ของวัดราชสิทธาราม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านเป็นที่เคารพ
นับถือ ของพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านายในพระราชวงศ์ และคณะสงฆ์ ข้าราชการผู้ใหญ่
ผู้น้อย รวมทั้งบรรดาญาติโยมทั่วไป เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณธรรมสูง บรรลุคุณวิเศษใน
พระพุทธศาสนา
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๗ ในรัชสมัยรัชกาลที่๓ พระญาณสังวรเถร (บุญ)
ได้รับพระราชทาน นิตยภัต เพิ่มอีกเป็น ๓ ตำลึง ต่อมาเพิ่มเป็น ๔ ตำลึงกึ่ง คนทั้งหลาย
ในสมัยนั้นมักเรียกขานนามของท่านว่า พระอาจารย์บุญบ้าง หลวงปู่บุญบ้าง เนื่องจาก
ท่านได้เป็นพระอาจารย์กรรมฐานมาตั้งแต่ ยังไม่ได้เป็นพระปลัด คนทั้งหลายจึงเรียก
ขานนามท่านจนติดปากว่า พระอาจารย์บุญบ้าง หลวงปู่บุญบ้าง
พระญาณสังวร (บุญ) ท่านจะหลีกเร้น ปลีกวิเวกเป็นเวลาเจ็ดวัน ทุกเดือน ณ กุฎิ
วิปัสสนาหลังเล็ก ในป่าช้าของวัด เป็นธรรมเนียมของพระสมถะ วัดราชสิทธาราม ที่ถือ
เป็นวัตรปฏิบัติสืบกันมาทุกพระองค์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๘ ในรัชสมัยรัชกาลที่๓ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)วัด
ราชบูรณะ ทุพพลภาพ พระญาณสังวรเถร (บุญ) นั่งหน้ากรมพระปรมานุชิตฯ องค์ทำ
หน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช (นาค) พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ จึงได้พระราชทาน
เลื่อนสมณะศักดิ์ พระญาณสังวรเถร (บุญ) เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ในราชทินนามเดิม
ที่ พระญาณสังวร มีสร้อยราชทินนามดังนี้
สำเนา แต่งตั้ง
ให้เลื่อนพระญาณสังวรเถรเป็น พระญาณสังวร สุนทรสังฆเถรา สัตตวิสุทธิ์
จริยาปรินายก สปิฏกธรา มหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี สถิตวัดราชสิทธาวาส พระ
อารามหลวง
มีถานานุกรม ๕ รูป พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครู
สมุห์๑ พระครูใบฎีกา๑ได้รับพระราชทานนิตยภัตเพิ่มเป็น ๕ ตำลึง เป็นเจ้าคณะใหญ่
อรัญวาสี ตำแหน่งพระญาณสังวร สร้อยราชทินนามมีคำว่า ปรินายก สูงกว่าตำแหน่ง
พระพุฒาจารย์เดิม แทนพระพุฒาจารย์ (สนธิ์) เนื่องจากพระพุฒาจารย์ (สนธิ์) เจ้าคณะ
ใหญ่อรัญวาสีเดิม ทรงโปรดให้ยกขึ้นเป็นกิตติมาศักดิ์ คุมพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระทั่ว
สังฆมณฑล รอบนอก
ปีที่พระญาณสังวรเถร (บุญ) เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระญาณสังวร
นั้น พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) ยังคงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (พลับ) อยู่
แต่พระญาณสังวร (บุญ) ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ควบคุมพระสงฆ์
วิปัสสนาธุระ ในกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะยุคนั้นเวลานั้นวัดราชสิทธาราม (พลับ)เป็น
ศูนย์กลาง การศึกษาพระกรรมฐานประจำกรุงรัตนโกสินทร์ พระสงฆ์วิปัสสนาธุระทั้ง
สังฆมลฑล ต้องมาศึกษาพระกรรมฐาน ณ วัดราชสิทธาราม (พลับ)อันเป็นศูนย์กลาง
พระกรรมฐานประจำกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชสิทธาราม (พลับ) เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐานประจำกรุงรัตน์โกสินทร์
มาจนถึงประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๘๐ จึงหมดสภาพความเป็นศูนย์กลางพระ
กรรมฐาน ของกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากปีพระพุทธศักราช ๒๔๘๐ ก็เกิดสำนักพระ
กรรมฐานขึ้นมากมาย ในกรุงรัตนโกสินทร์ ต่างตั้งแบบแผนการศึกษาพระกรรมฐาน
ขึ้นมาเป็นของตัวเอง ประจำสำนักต่างๆ โดยไม่รักษาแบบแผนการปฏิบัติพระ
กรรมฐานมัชฌิมาอันมีแต่ดั่งเดิม แต่ครั้งโบราณกาลมา
ตำแหน่งพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี เมื่อมรณะภาพเข้าโกศ เนื่องจาก
เวลานั้นพระญาณสังวร (บุญ) เป็นพระมหาเถรรัตตัญญู ผู้มีพรรษายุกาลมากกว่า
พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ทั้งปวงในเวลานั้น เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช (นาด) วัด
ราชบูรณะ ทุพพลภาพ
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ศิษย์สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ประสูติพ.ศ.
๒๓๓๓ พระญาณสังวร (บุญ) เกิด พ.ศ. ๒๓๑๗ อายุพรรษามากกว่าถึง ๑๖ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ พระราชทานพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
หรือพัดใบสาเก ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี สำหรับใช้นั่งเป็นประธานสงฆ์ เมื่อมีกิจ
นิมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระญาณสังวร (บุญ) นั่งหน้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
องค์ทำหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๕ สมัยต้นรัชกาลที่ ๔ พระญาณสังวร (บุญ) รักษาการ
เจ้าอาวาส ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ท่านเป็นอยู่ประมาณ ๒ ปี ถึงปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๙๗ ก็ถึงแก่มรณภาพ ศิษย์สำคัญของพระญาณสังวร (บุญ)คือ สมเด็จ
พระวันรัตน (แดง) ท่านมาศึกษาแต่ครั้งยังเป็นพระมหาแดง
การศึกษาในสมัย พระญาณสังวร (บุญ) ครองวัดราชสิทธาราม (พลับ) ฝ่าย
วิปัสสนาธุระ พระญาณสังวร (บุญ) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระ
ญาณโยคาภิรัติเถร (มี) ๑ พระครูศีลสมาจารย์(เมฆ) ๑ ฯ
การศึกษาด้าน พระปริยัติบาลีมูลกัจจายน์ พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) เป็นพระ
อาจารย์ใหญ่ พระสุธรรมธีรคุณ (เกิด) ๑ พระมหาเกด ๑ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ ท่านอาพาธด้วยโรคชรา มรณะภาพลงเมื่อสิริรวม
อายุได้ ๘๐ ปีเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานโกศเจ้า
คณะใหญ่อรัญวาสี ให้ตามตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี แต่เอาโกศตั้งไว้ข้างหน้าฉาก
สรีระของท่านใส่หีบทองทึบไว้ด้านหลังฉาก
สรีระสังขารของท่าน คณะศิษยานุศิษย์เก็บไว้บำเพ็ญกุศลนานประมาณสามปี
และนับเป็นสมัยสุดท้าย เมื่อสิ้นพระญาณสังวร (บุญ) แล้ว
ตำแหน่งพระญาณสังวร ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี อาวุโสทางพรรษานั่ง
หน้า ผู้มีสมณะศักดิ์สูง ก็ทรงยกเลิกทั้งหมดในรัชกาลที่ ๔ นี้เอง ทรงจัดการตั้งระเบียบ
แบบแผน ของคณะสงฆ์ใหม่
ถึงคราวพระราชทานเพลิงสรีระสังขารพระญาณสังวร (บุญ) พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ทำเมรุพิเศษด้วยโคลงไม้ ขึง
ด้วยผ้าขาว ตามแบบประเพณีเดิม ณ.วัดราชสิทธาราม ประดับด้วยกระดาษทองกระดาษ
เงิน ตัดฉลุ ทำเป็นลวดลายวิจิตร ประดับพวงดอกไม้หอมต่างๆ แต่การประดับประดา
นั้น ยังน้อยกว่าครั้ง งานพระราชทานเพลิงศพ พระญาณสังวร (ด้วง)
ใกล้เวลาพระราชทานเพลิงศพมี พระสงฆ์มากมาย มานั่งล้อมรอบเมรุหลายชั้น
คราคร่ำไปด้วยผู้คนมากมาย เมื่อถึงเวลาพระราชทานเพลิงศพเสด็จพระราชดำเนินมา
ประราชทานเพลิงสรีระสังขารท่าน สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลง
กรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ การพระราชทานเพลิงนั้นอยู่
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๐
พระญาณสังวร (ด้วง) พระญาณสังวร (บุญ) ได้เป็นพระอาจารย์กรรมฐานของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัวครั้งทรงผนวช และเสด็จพระราชดำเนินไปมา
ระหว่าง วัดพลับ กับวัดสมอลาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสรรเสริญไว้เมื่อได้
ทรงพระราชนิพนธ์ ถึงการทรงศึกษาพระกรรมฐาน ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ว่า.ได้ทรงประทับศึกษาอาจารย์สมัยในสำนักวัดสมอลาย ทรงทราบเสร็จสิ้นจนสุดทางที่จะศึกษาต่อไปอีกได้ จึงได้ย้ายไปประทับอยู่ ณ. วัดพลับ (ตรงกับสมัย พระญาณ สังวร(ด้วง)ครองวัดพลับ พระญาณสังวร (บุญ) เป็นพระราชาคณะพ.ศ.๒๓๘๖ ครองวัด พลับ พ.ศ. ๒๓๙๓) ันเป็นแหล่งสำคัญเชี่ยวชาญในการ วิปัสสนาธุระ อีกแห่งหนึ่ง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๓)ได้ทรงผนวชที่นั้น แต่หาได้เสด็จ ประทับประจำอยู่เสมอไม่ เสด็จไปอยู่วัดราชสิทธิ์บ้าง เสด็จกลับมาประทับอยู่วัดสมอ รายบ้าง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอ กรมดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า (เรื่องประวัติ
วัดมหาธาตุ ๒๔๖๑) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงผนวช
แล้วเสด็จไปประทับอยู่ ณ. วัดสมอลาย ๑ ปี ทรงศึกษาวิธีสมถะภาวนา ทั้งที่ในสำนักวัด
สมอราย และเสด็จไปศึกษาที่สำนักวัดราชสิทธิ์ ทรงทราบตลอดลิทธิอาจารย์ทั้งสองแห่ง
นั้น ต่อมาปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ เดือน ๘ ปีขาล หลังจากเสด็จเถลิงถวัลย์ราช
สมบัติแล้ว ๓ ปี หลังพระราชทานเพลิงสรีระสังขารของ พระญาณสังวร (บุญ) แล้ว จึง
ทรงสร้างพระเจดีย์ คลอบพระเจดีย์องค์เดิมด้านทิศใต้ ของพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อ
บรรจุอัฏฐิธาตุ อังคารธาตุ ของพระปิฏกโกศล (แก้ว) พระญาณโกศลเถร(รุ่ง ) พระญาณ
สังวร (ด้วง) พระญาณสังวร (บุญ) และเป็นสำคัญว่า เคยเสด็จมาประทับศึกษา ณ. สำนักอาจารย์เดียวกัน จึงทรง สร้าง พระสิรจุมภฏะเจดีย์ ไว้เป็นคู่กันกับ พระสิราศนเจดีย์ ที่ทรงพระราชอุทิศถวาย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓