- หน้าแรก
- พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
- เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
- ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
- พระเครื่องและวัตถุมงคลยุคพระครูสิทธิสังวร
- ทำเนียบเจ้าอาวาส
- ทำเนียบกรรมฐาน
- ประวัติตำแหน่ง
- ประวัติพระครูสิทธิสังวร
- เรื่องกรรมฐาน
- พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน
- ไม้เท้าพระราหุล
- ไม้เท้าพระพุทธเจ้า
- ตำนานพระฤาษี
- พระเครื่องวัดพลับ
- รวมลิงก์ธรรม
- แผนที่และข้อมูลติดต่อ
๑๘. ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)
ดู ๑๓. ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) จากหนังสือ ทำเนียบอดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร
พระสังวรานุวงศ์เถร มีนามเดิมว่า เอี่ยม ท่านเป็นบุตรคหบดี บิดามีนามว่า
เจ้าสัว เส็ง มารดามีนามว่า จันเกิดเมื่อ วันเสาร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ จัตวาศก จุล
ศักราช ๑๑๙๓ ตรงกับวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๔ ในรัชกาลที่ ๓ ที่บ้านท่า
หลวง ริมคลองบางหลวง อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี
เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี มารดาบิดา ได้นำท่านมาฝากตัวเป็นศิษย์ พระญาณโกศลเถร
(รุ่ง) ต่อมาท่านอายุ๑๕ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ในสำนักพระญาณโกศลเถร (รุ่ง) เรียน
อักขรสมัยในสำนัก พระมหาทัด (พระอมรเมธาจารย์) วัดราชสิทธิ์ฯ
เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี ตรงกับปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๕ ในรัชกาลที่๔ ได้อุปสมบท
ณ. พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม
พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระญาณสังวร (บุญ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้วภายในพรรษานั้น พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) พระอุปัชฌาย์ ของท่าน
ก็ถึงมรณะภาพลง ต่อมาได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระญาณสังวร
(บุญ) แล้วมาศึกษาต่อ กับพระโยคาภิรัติเถร (มี) แล้วมาศึกษาเพิ่มเติม กับพระสังวรานุ
วงศ์เถร (เมฆ) จนเชี่ยวชาญ จบทั้งสมถะวิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ต่อมาท่านได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระอมรเมธาจารย์ (เกษ)
ครั้งเป็นพระปลัดเกษ และ เหตุที่ไม่ได้เรียนบาลีมูลกัจจายน์ กับพระอมรเมธาจารย์ (ทัด)
พระอนุสาวนาจารย์ เพราะท่านชราทุพพลภาพมากแล้ว เมื่อออกพรรษาของทุกปี ท่าน
ได้ออกสัญจรจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ ไปกับพระอาจารย์บ้าง ไปเองบ้าง ไปทุกแห่งหน
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒ พรรษาที่เจ็ด ได้เป็นพระปลัด ถานานุกรมชั้นที่ ๑
ของพระสังวรานุวงศ์เถร(เมฆ) และทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกพระกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับ แก่พระภิกษุสามเณรด้วย ในพรรษานั้นเองท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้า
คณะหมวด (ตำบล) ด้วย คนทั้งหลายมักเรียกท่านว่าพระปลัดเอี่ยมใหญ่ พระปลัดเอี่ยม
เล็กคือ ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี แต่ยังมีพระครูสังวรสมาธิวัตรนามว่า เอี่ยม อีก
องค์หนึ่ง ซึ่งเป็นรุ่นพี่ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ที่เรียกกันว่าปลัดเอี่ยมใหญ่
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๕ พรรษาที่สิบ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็น พระครูสังวร
สมาธิวัตร ฝ่ายวิปัสสนาธุระ นิตยภัต ๑ ตำลึง ๒ บาท ต่อมาได้เป็น พระคณาจารย์เอก
ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ปีนั้นเองได้มี เจ้านายในรัชกาลที่ห้า ถวายพัดลอง ทำด้วยใบลาน ให้
ท่านหนึ่งด้าม สำหรับผู้เป็นประธานสงฆ์ ใช้บอกศีล และอนุโมทนากถา ปัจจุบันอยู่ที่
พิพิธภัณฑ์พระกรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ
ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระสังวรานุวงศ์เถร เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี มีนิตยภัต ๓ ตำลึง และ
ควรตั้งถานานุศักดิ์ได้ ๓ รูปคือ พระปลัด ๑ พระสมุห์ ๑ พระใบฏีกา ๑ ได้รับ
พระราชทานพัดงาสาน ทรงพระราชทานบาตรฝาประดับมุก จ.ป.ร. ท่านเป็นพระ
อาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระวัดราชสิทธารามองค์ต่อมา และรักษาการเจ้าอาวาสวัด
ราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
เจ้าคณะธนบุรี ทางราชการได้ถวายนิตยภัตเพิ่มอีก ๒ บาท เป็น ๓ ตำลึง ๒ บาท (๑๔ บาท)
การศึกษาสมัยท่าน การศึกษาพระวิปัสสนาธุระเจริญมาก พระสังวรานุวงศ์เถร
(เอี่ยม) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระปลัดชุ่ม เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย ด้านพระกรรมฐานมี
พระเถรานุเถระ มาศึกษาพระกรรมฐานมากมายเช่น พระภิกษุบุญ (พระพุทธวิถีนายก)
วัดกลางบางแก้ว, พระภิกษุเอี่ยม (พระภาวนาโกศลเถร)วัดหนัง บางประวัติว่าศึกษากับ
พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ), พระสมุห์ชุ่ม สุวรรณศร วัดอมรินทร์ , พระภิกษุมั่น หรือ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งต่อมาพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ให้พระอาจารย์มั่นไป
ศึกษาต่อกับ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร ซึ่งเป็นศิษย์วัดพลับมาแต่เดิม, พระวินัยธรรม
เจ๊ก วัดศาลารี ตลาดขวัญ (นนทบุรี),พระอาจารย์โหน่ง สุพรรณบุรี พระอาจารย์น้อย
สุพรรณบุรี ต่อมาพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ให้ทั้งสองท่านไปเรียนต่อกับพระอาจารย์
เนียม ซึ่งเป็นศิษย์วัดพลับมาแต่เดิม,พระภิกษุปาน (วัดบางเหี้ย)ฯลฯ การเรียนพระปริยัติ
ธรรมเรียนภายในวัด พระมหาสอน เป็นพระอาจารย์ใหญ่
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๑ จัดงานพระราชทานเพลิงศพ อดีตเจ้า
อาวาสวัดราชสิทธารามพร้อมกัน ๓ องค์ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ท่านมีอุปนิสัย
รักสันโดด มีของสิ่งใดมักจะให้ทานแก่ผู้อื่นหมด เมื่อท่านไปกิจนิมนต์ ได้ไทยทานมา
ท่านจะนำมาแจกทานแก่พระภิกษุสามเณร ภายในวัดจนหมด แม้ของในกุฏิท่านก็ให้
ทานจนหมด ท่านมีมรดก ซึ่งมารดาบิดายกให้ ท่านก็ไม่เอา ยกให้พี่น้องหมด ชาวบ้าน
มักเรียกขานนามท่านว่า หลวงพ่อใจดี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ ตรัสเรียกนามท่านว่า
หลวงพ่อผิวเหลือง เพราะผิวท่านเหลืองดังทอง สมัยท่านมีชีวิตอยู่ ท่านมีพรหมวิหารแก่
กล้ามาก กล่าวว่า อีกาตาแวว อีกาขาว มักมาเกาะอยู่ที่กุฎิของท่านเสมอ เวลาท่านไป
ไหนมาไหนในวัดพลับ พวกอีกาตาแวว อีกาขาว มักบินตามท่านไปด้วยเสมอ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระเมตตา ท่านเจ้าคุณพระสังวรา
นุวงศ์เถร (เอี่ยม)มาก ถึงคราวพระราชทานผ้าพระกฐินทาน ณ.วัดราชสิทธาราม ต้อง
เสด็จมาทรงเยี่ยม ท่านก่อนเสมอทุกครั้ง
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่๕ ทรงพระราชทานเตียง หรือตั่งอยู่ไฟ ของเจ้าจอมในรัชกาลที่๔ ถวาย
พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำ
การซ่อมแซมเสนาสนะสงฆ์ในบริเวณคณะ๑ กุฎิเจ้าอาวาส ที่สร้างมาแต่ครั้งรัชกาลที่๓
และรัชกาลที่ ๔ พร้อมกันนั้นทรงโปรดเกล้าฯให้ช่างทาพื้นกุฎิด้วยชาดแดง พร้อมทา
ชาด เตียง หรือตั่งอยู่ไฟ ของเจ้าจอมในรัชกาลที่๔ ประดิษฐานไว้ที่กุฎิคณะ๑ อันเป็นกุฎิ
พำนักของเจ้าอาวาส
ปัจจุบันนี้เตียง หรือตั่งอยู่ไฟ ของเจ้าจอมในรัชกาลที่๔ อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ คณะ๕
วัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๐ นั้นพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ท่านชราทุพพลภาพ
ลงมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทาน แคร่คานหาม ที่เก็บ
รักษาไว้ที่วัดราชสิทธาราม เดิมรัชกาลที่ ๓ พระราชทานให้พระเทพโมลี (กลิ่น)
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ ทรงพระราชทานแคร่คานหาม พร้อมกับมีพระดำรัส
ตรัสสั่งให้ประกาศว่า ถ้าใครนิมนต์ หลวงพ่อผิวเหลือง (ซึ่งหมายถึงพระสังวรานุวงศ์เถร
เอี่ยม บางที่ก็เรียกท่านว่า หลวงพ่อใจดี )ไปกิจนิมนต์ ต้องถวาย ๑ ตำลึง บางแห่งว่าถ้า
นิมนต์ท่านไปเกิดอาพาธขึ้นมาต้องจ่าย ๑ ตำลึง ทั้งนี้เพราะมีพระราชประสงค์ ไม่ให้ใคร
มารบกวนท่าน เพราะท่าน ชราทุพพลภาพมาก แต่นั้นมาเมื่อท่านไปกิจนิมนต์ ได้ปัจจัย
ไทยทานกลับมา ท่านก็จะเอาไว้ที่หอฉัน แล้ว ประกาศว่า พระภิกษุสามเณร ขาคปัจจัย
ไทยทานสิ่งใดให้มาหยิบเอาที่หอฉัน สมัยต่อมาท่านมีของสิ่งไรท่านก็บริจาคจนหมด ไม่
เหลือ เหลือแต่อัฏฐะบริขารเท่านั้น ปัจจุบัน แคร่คานหาม พระราชทาน ยังมีอยู่จนทุก
วันนี้ ที่พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม (พลับ)
สมัยที่ท่านครองวัดนั้น มีพระภิกษุสามเณร ปะขาว ชี มาศึกษาพระกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับ กับท่านกันมากมาย เพราะเป็นศูนย์กลางกรรมฐาน ของกรุง
รัตนโกสินทร์ ท่านมีศิษย์ทั้งในเมือง และหัวเมือง ยุคของท่านนั้นมีชื่อเสียงมากทาง
ปฎิบัติภาวนา เป็นที่เกรงใจของคณะสงฆ์ และในสมัยนั้นยังไม่มีสำนักพระกรรมฐานที่
ไหนเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ มีสำนักวัดราชสิทธารามเป็นสำนักใหญ่แห่งเดียว เพราะเป็นวัด
อรัญวาสีมาแต่เดิม เมื่อท่านมีชีวิตอยู่ จะมีผู้คนเอาเงิน มาใส่พานให้ท่านทุกวัน ท่านก็จะ
เอาเงินนั้นแจกทานจนหมดทุกวัน โดยให้มาหยิบเอาเอง
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อคราวที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ เสด็จพระราชดำเนินมา ทอดผ้า
พระกฐินทาน ต้องมากราบนมัสการ พระสังวรานุวงศ์เถร(เอี่ยม) ทุกครั้ง คราวนั้นพระ
มงคลเทพมุนี (เอี่ยม)วัดพลับ จะเอาของมาตั้งรับเสด็จ พระเจ้าอยู่หัว พระมงคลเทพมุนี
(เอี่ยม)ได้บอกกับ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)ว่า ของนี้ให้ยืมไว้รับเสด็จ ห้ามให้ใคร ที่
บอกอย่างนี้เพราะมีของอะไรใกล้มือ ท่านจะให้ทานหมด เมื่อมีคนขอ
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ท่านมีสติสัมปชัญญะรู้ตัว ก่อนมรณะภาพประมาณ
เจ็ดวัน เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๒ ปีพรรษา ๖๑ ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ๒๖ ปี ท่านเป็น
พระสังฆเถรที่มีชื่อเสียงผู้คนเคารพนับถือมากในสมัยนั้น กล่าวว่าเมื่อท่านมรณะภาพไม่
นาน คณะศิษยานุศิษย์ ทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายฆราวาส ทราบข่าวพากันมาเคารพศพท่าน
กันแน่นลานวัด สรีระของท่าน คณะศิษยานุศิษย์เก็บไว้บำเพ็ญกุศล ประมาณ ๕ ปี (พ.ศ.
๒๔๖๑) จึงพระราชทานเพลิงศพ และอีกประการหนึ่งเวลานั้น ท่านเจ้าคุณพระมงคล
เทพมุนี (เอี่ยม) ซึ่งเวลานั้นลาออกจากเจ้าอาวาสและยังมีชีวิตอยู่ แต่ก็อาพาธ
กระเสาะกระแสะเรื่อยมา ทางคณะกรรมการวัด และคณะศิษยานุศิษย์ เกรงว่าจะมีงาน
ศพซ้อนกัน เหมือนกาลก่อน จึงได้พระราชทานเพลิงสรีระสังขาร พระสังวรานุวงศ์เถร
(เอี่ยม)ก่อน ส่วนหีบชั้นในที่ใส่สรีระของพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)นั้น ท่านเจ้าคุณ
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)ได้นำมาต่อเป็นเตียงไว้จำวัด สำหรับปลงพระกรรมฐาน เป็น
การกำหนดสติระลึกถึงความตายเนืองๆ ต่อมาพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) และคณะศิษยา
นุศิษย์ ได้หล่อรูปพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ประดิษฐานไว้ที่มุมเจดีย์ด้านหน้าพระ
อุโบสถ ข้างทิศเหนือ เป็นที่สักการบูชามาจนทุกวันนี้
เมื่อคราวงานพระราชทานเพลิงศพ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)นั้น ประมาณปี
พระพุทธศักราช ๒๔๖๑ สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ เสด็จมาพระราชทานเพลิง
ศพ สมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัด
บวรนิเวศวิหาร เสด็จมาเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์
- Printer-friendly version
- Log in or register to post comments
- 14654 reads
Recent comments