- หน้าแรก
- พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
- เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
- ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
- พระเครื่องและวัตถุมงคลยุคพระครูสิทธิสังวร
- ทำเนียบเจ้าอาวาส
- ทำเนียบกรรมฐาน
- ประวัติตำแหน่ง
- ประวัติพระครูสิทธิสังวร
- เรื่องกรรมฐาน
- พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน
- ไม้เท้าพระราหุล
- ไม้เท้าพระพุทธเจ้า
- ตำนานพระฤาษี
- พระเครื่องวัดพลับ
- รวมลิงก์ธรรม
- แผนที่และข้อมูลติดต่อ
๑๑. ประวัติพระญาณโกศลเถร(รุ่ง)
ดู ๕. ประวัติพระญาณโกศลเถร(รุ่ง) จากหนังสือ ทำเนียบอดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
ประวัติพระญาณโกศลเถร(รุ่ง)
พระญาณโกศลเถร มีนามเดิมว่า รุ่ง เกิดเมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๖ ในรัช
สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่เมืองราชบุรี ต่อมามารดา-บิดา ย้ายมาอยู่ณ เมืองธนบุรี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๐ ในรัชกาลที่ ๑ ท่านมีอายุได้ ๑๔ ปี บิดามารดา นำ
ท่านมาฝากบรรพชา เป็นสามเณร ในสำนัก ท่านเจ้าคุณหอไตร หรือพระพรหมมุนี (ชิต)
เล่าเรียนศึกษา อักขรภาษาไทย ภาษาขอม ศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักอุปัชฌาย์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๗ บรรพชา-อุปสมบท ณ.วัดราชสิทธาราม พระญาณ
สังวร (สุก) เป็นอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร
หรือท่านเจ้าคุณหอไตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยธรรมกัน ครั้งเป็นพระใบฎีกา
เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้ว ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระพรหมมุนี (ชิต)
ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิเถร หรือ ท่านเจ้าคุณหอไตร กับพระใบฎีกากันด้วย และศึกษา
พระปริยัติธรรม-พระบาลีมูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๔๓ พรรษาที่หก เที่ยวสัญจรจาริกธุดงค์ ไปตามสถานที่
ต่างๆ กับคณะของพระภิกษุวัดราชสิทธาราม เป็นประจำทุกปี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๔๔ เป็นพระปลัด ถานานุกรม ของพระพรหมมุนี (ชิต)
ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร และ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอก พระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ ในปีนั้นด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๐ เป็นได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูฝ่าย
วิปัสสนาธุระที่ พระครูศีลวิสุทธิ์ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกพระกรรมฐาน ในวัดราช
สิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๕ รักษาการณ์ เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม สมัยพระ
ญาณสังวรเถร (ด้วง) ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดประยูรวงศ์ รักษาการจนถึง พ.ศ. ๒๓๗๙
รักษาการเป็นเวลา ๕ ปี รักษาการเมื่อสิ้นบุญ พระญาณสังวรเถร (ด้วง) ขณะเก็บสรีระ
ของท่านอีกประมาณ ๕ ปี หลังพระราชทานเพลิงศพแล้วท่านรักษาการอีกประมาณ ๑ ปี
รวมรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ๑๑ ปี
กล่าวไว้ในสมัยนั้นว่า เหตุที่ท่านพระครูศีลวิสุทธิ์ (รุ่ง) หรือพระญาณโกศลเถร
(รุ่ง) ท่านรักษาการเจ้าอาวาสมานานถึง ๑๑ ปี เพราะเหตุยุ่งยากบางประการ ของ
บุคคลภายนอกพระอาราม ที่ไม่ศึกษาพระกรรมฐาน ไม่เห็นพระไตรลักษณ์ เนื่องมาจาก
ครั้ง เรื่องการแบ่งปันพระอัฏฐิธาตุ เรื่องไม้เท้าไผ่ยอดตาล ของพระญาณสังวร (ด้วง)
และเนื่องจากมีพระสงฆ์ราชาคณะอยากจะมาเป็น เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (พลับ) กัน
มากราย เพราะสมัยนั้น วัดราชสิทธาราม มีชื่อเสียงมากในทางวิปัสสนาธุระ
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (พลับ) จึงยาวนานมาเป็นเวลา ๑๑ ปี
โดยอ้างว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของขุนนางผู้ใหญ่ขัดแย้งกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระองค์ท่าน จึงทรงวางพระองค์เป็นกลาง
เพื่อไม่ให้เกิดความแตกร้าวเกิดขึ้นในแผ่นดิน
แต่พระสงฆ์ทรงสมถะ วัดราชสิทธารม (พลับ) ท่านไม่สนใจในเรื่องเหล่านี้
ท่านนั่งดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ด้วยจิตเป็นอุเบกขาเฉยๆ ท่านจึงอยู่อย่างสบายใจ สบาย
กาย เรื่องยุ่งยากต่างๆเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายนอกพระอาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๖ วันพุธ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระครูศีลวิสุทธิ์เป็นพระราชา
คณะ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณโกศลเถร เมื่อชนมายุได้ ๗๐ ปีเศษ และเป็นเจ้าอาวาส
วัดราชสิทธาราม ท่านได้รับแต่งตั้ง เมื่อสมัยสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช (นาค) สมเด็จ
พระสังฆราชองค์ที่ ๖ วัดราชบูรณะ (จากจดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๕ เลขที่
๑๖๑ สมุดไทยดำ)
การแต่งตั้งครั้งนั้นจึง เป็นกาลเวลาที่เหมาะสมพอดี เพราะเป็นการแต่งตั้ง
สถาปนาครั้งใหญ่ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะผู้ใหญ่ พระราชาคณะ
ผู้น้อย ในกรุง ๗๔ รูป และหัวเมือง ๓รูป รวม ๗๗ รูป พระอารามที่เป็นพระราชาคณะ
สองรูปมีถึง ๒๒ พระอาราม ครั้งนั้นวัดราชสิทธาราม ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น
พระราชาคณะ ๒ องค์ คือ พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) ๑ พระญาณสังวรเถร (บุญ) ๑ ใน
เวลานั้นขุนนางผู้ใหญ่ ผู้น้อย ไม่มีใครกล่าวติเตียนได้ เพราะการสถาปนา แต่งตั้ง เป็นไป
โดยยุติธรรม สมควรแก่เหตุ
การศึกษาสมัย พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) เป็นเจ้าอาวาส
ด้านวิปัสสนาธุระท่านมอบให้ พระญาณสังวรเถร (บุญ) เป็นพระอาจารย์ใหญ่
พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระอาจารย์มี พระอาจารย์เมฆ(พระครูศีลสมาจารย์)
ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม-บาลี พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) เป็นพระอาจารย์
ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระอาจารย์มหาเกิด ๑ พระอาจารย์มหาเกด ๑
พระพุทธศักราช ๒๓๙๕ ถึงแก่มรณะภาพลง ด้วยโรคชรา อายุได้ประมาณ ๗๙
ปี รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นเวลานานถึง ๑๑ ปี รักษาการนานกว่าเจ้า
อาวาสทุกองค์ ของวัดราชสิทธารามที่ล่วงมาแล้ว เป็นเจ้าอาวาสครองวัดราชสิทธาราม
เป็นเวลานาน ๙ ปี รวมรักษาการ และเป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นเวลา ๒๐ ปี
พอดี
- Printer-friendly version
- Log in or register to post comments
- 16827 reads
Recent comments