อาจารย์

 ประวัติพระครูสังวรสมาธิวัตร(แป๊ะ)

 

ประวัติพระครูสังวรสมาธิวัตร(แป๊ะ)
พระครูสังวรสมาธิวัตร มีนามเดิมว่า แป๊ะ สีเนื้อขาว สันฐานสันทัด ตำหนิใฝ่ ที่
ริมฝีปากบนข้างซ้าย อาชีพกสิกรรม บิดาชื่อนายจิ๋ว มารดาชื่อนางฉิม เกิดเมื่อวันศุกร์
แรม ๕ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๔๑๒ ตำบลโตนด กิ่งอำเภอ
คิรีมาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรคนที่ ๓ ใน ๖ คน
บรรพชาอุปสมบท ณ. วัดกงไกรลาศ สุโขทัย วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๒
อายุ ๒๑ ปี พระอธิการบุญ วัดกงไกรลาศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัด
วาลุการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์นวม วัดทุ่งหลวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สำเร็จยัติจตุถกรรมวาจา เมื่อเวลา ๑๙.๑๓ ฯ. ได้ฉายา นามว่า ธัมมสาโร
ย้ายมาอยู่ วัดราชสิทธารามเมื่อ ร.ศ. ๑๑๔ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๘
เนื่องจากท่านรุกขมูลมาจาก เมืองสุโขทัย มาพบกับท่านเจ้าคุณพระสังวรานุวงศ์
เถร (ชุ่ม) ครั้งเป็นพระปลัด พบพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ที่ป่าเมืองนครสวรรค์ เห็น
คุณธรรมอื่นๆของท่าน จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของ
สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) จึงได้ย้ายเข้ามาปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ ณ.วัดราชสิทธาราม กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา
ธุระ ของวัดราชสิทธารามในเวลานั้น
ต่อมาได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อจากท่านเจ้าคุณพระสังวรานุ
วงศ์เถร (ชุ่ม) ได้ออกรุกข์มูลไปกับพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) เป็นประจำทุกปี ท่านได้
ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้มาตลอดระยะ ๒๐ปีก็สมปารถณา ที่ตั้งใจไว้
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอาจารย์ บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน จากท่านเจ้าคุณพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)
เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ (ปีที่พระสังวรานุวงศ์เถรชุ่ม เป็นเจ้าอาวาส) ดังมี
สำเนาปรากฏ ดังนี้
(สำเนา)
วัดราชสิทธาราม
วันที่ ๑๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
ให้พระแป๊ะเป็น พระอาจารย์บอกสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แก่
พระภิกษุ สามเณร ว่าที่ ถานานุกรมชั้นที่ ๑
(พระสังวรานุวงศ์เถร)
พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นพระปลัด ของ พระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม)
---------------------
(สำเนา)
วัดราชสิทธาราม
ให้พระอาจารย์แป๊ะเป็น พระปลัด ถานานุกรมชั้นที่ ๑ เป็นภาระธุระ สั่งสอน
ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ในพระอารามโดยสมควร จง
เจริญสุขสวัสดิ์ ในพระพุทธศาสนา เทอญ
ตั้ง ณ. วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
( พระสังวรานุวงศ์เถร )
อีก ๒๓ ปีต่อมา พระปลัดแป๊ะได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้น
พิเศษที่ พระครูสังวรสมาธิวัตร เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่ออายุได้ ๖๙ พรรษา
และได้รับหน้าที่ เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อจาก
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ผู้คนทั้งหลายใน
สมัยนั้นมักเรียกขานนามท่านว่า ท่านพระครูใหญ่ ต่อมาท่านได้รับสืบทอด ไม้เท้าเถา
อริยะ สำหรับเบิกไพร ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) โดยได้รับมอบจาก พระสังวรานุ
วงศ์เถร (ชุ่ม) ผู้เป็นอาจารย์ ศิษย์สำคัญของท่าน คือ ท่านพระปลัดสุพจน์ คณะ ๓ วัด
สุทัศน์ ต่อมาเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระมงคลเทพโมลี (สุพจน์)
พ.ศ. ๒๕๐๐ วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ มรณะภาพด้วยโรคชรา
สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะตลอด ๗ วัน เมื่ออายุ ๘๘ ปี ๘ เดือน พรรษา ๖๘
พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๑(นับเดือนสากล) ณ. เมรุลอยวัด
ราชสิทธาราม
พระราชทานเพลิงศพแล้ว คณะศิษยานุศิษย์ได้หล่อรูปเหมือนประดิษฐานไว้ที่
มุมเจดีย์หลังพระอุโบสถด้านทิศเหนือ

 
 

 ประวัติพระโยคาภิรัตเถร
00006

ประวัติพระโยคาภิรัตเถร
พระโยคาภิรัติเถระ มีนามเดิมว่า มี ชาวบ้านตลอดขวัญ (นนทบุรี) มีศรัทธา
เลื่อมใสในพระญาณสังวรเถร สุก เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๗ ในรัช
สมัย พระเจ้ากรุงธนบุรี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๑ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ มารดาบิดา ของท่านนำท่านมา
ฝากบรรพชาเป็นสามเณรในสำนัก ของพระวินัยรักขิต (ฮั้น) เพื่อเล่าเรียนอักขระสมัย
ต่อมาได้เล่าเรียนพระกรรมฐานด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๘ บรรพชาอุปสมบท ณ. วัดราชสิทธาราม พระญาณ
สังวร (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็นอนุสาวนาจาย์
อุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระอุปัชฌาย์ และ
พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็น พระญาณวิสุทธิเถร แลกับพระวินัยธรรมกัน ครั้งเป็นพระ
ใบฎีกาด้วย
ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น) ออกพรรษาแล้ว
เที่ยวออกสัญจรจาริกรุกขมูลไปตามสถานที่ต่างๆ กับพระภิกษุสงฆ์ วัดราชสิทธาราม หา
ความสงบวิเวกเป็นประจำทุกปี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ในรัชกาลที่๒ เป็นพระปลัด ถานานุกรม ของพระ
รัตนมุนี (กลิ่น) ได้เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานด้วย
ปีพระพุทธศักราช .๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ เป็นพระครูสังวรสมาธิวัตร พระครู
วิปัสสนาธุระ พระคณาจารย์เอก
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๔ วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณโยคาภิรัติเถร เมื่ออายุ
ได้ ๗๗ ปี รับพระราชทานพัดงาสาน ปีเดียวที่ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งพระราชพิธีมหา
สมณุตมาภิเษก เฉลิมพระนามกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
เป็นอาจารย์ใหญ่วิปัสสนาธุระด้วย
การศึกษาสมัย พระโยคาภิรัติเถระ ครองวัดราชสิทธิ์ ด้านวิปัสสนาธุระ พระโย
คาภิรัตเถร เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระครูศีลสมาจารย์ (เมฆ) ๑ ฯ
การศึกษาด้านปริยัติธรรม-บาลีมูลกัจจายน์ พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) เป็นพระ
อาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระอาจารย์มหาเกิด ๑ พระมหาเกด ๑
ปีพระพุทธศักราช.๒๔๐๒ ลาออกจากเจ้าอาวาส เมื่ออายุได้ ๘๕ ปี เพราะชรา
ทุพพลภาพ ท่านมีปกตินิสัยชอบปลีกวิเวก หาความสงบ

เมื่อท่านลาออกจากเจ้าอาวาสแล้ว ท่านได้เปรยว่า ถ้าวัดพลับไม่มีกรรมฐาน จะไม่สงบ

ท่านได้กล่าวไว้เป็นคำกลอนว่า  วัดเอ๋ยวัดพลับ จะย่อยยับเหมือนสับขิง ฝูงสงฆ์จะลงเป็นฝูงลิง ฝูงเณร และเด็ก จะวิ่งเป็นสิงคลี
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๔ มรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี

 
 

 ประวัติพระญาณโกศลเถร (มาก)

00016

ประวัติพระญาณโกศลเถร (มาก)
อดีตพระอาจารย์กรรมฐาน และอดีตรักษาการเจ้าอาวาส
พระญาณโกศลเถร มีนามเดิมว่า มาก เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๙ สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองกรุงศรีอยุธยา ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘
บรรพชาอุปสมบท เมื่ออายุได้ ๓๙ ปีเศษ ณ.พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม เมื่อวันผูกพัทธ
สีมา ท่านอุปสมบทเป็นองค์แรกของพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม พระญาณสังวรเถร
(สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดชิต (พระพรหมมุนี หรือเจ้าคุณหอไตร) เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ พระสมุห์ฮั่น เปรียญ (พระวินัยรักขิต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เหตุที่
ท่านไม่ได้บรรพชาอุปสมบทมาแต่อายุ ๒๐ นั้น เพราะมีเหตุยุ่งยากกับเหตุการบ้านเมือง
ครอบครัวท่านพลัดพรากกระจัดกระจาย
เมื่ออุปสมบทแล้วศึกษาพระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระญาณ
สังวรเถร (สุก) และพระพรหมมุนี ครั้งเป็นพระปลัดชิต ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจ
จายน์ กับพระวินัยรักขิต ครั้งเป็นพระสมุห์ฮั่น ต่อมาได้เที่ยวออกสัญจรจาริกธุดงค์ไป
ตามสถานที่ต่างๆทุกปีมิได้ขาด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ เป็นพระครูพรหมวิหาร พระครูวิปัสสนา ถานานุ
กรมของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) เป็นพระอาจารย์บอกพระ
กรรมฐานในครั้งนั้นด้วย
ปีพระพุทธศักราช .๒๓๖๔ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ทำสังคายนาพระ
กรรมฐาน ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ ประมาณกลางปีเป็นพระราชาคณะ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ที่ พระญาณโกศลเถร พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมัย
เดียวกันกับ พระเทพโมลี (ฉิม) วัดพระเชตุพนฯ ต่อมา ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๕
พระเทพโมลี (ฉิม) ได้รับสถาปนาเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ ย้ายไปครองวัดโมลีโลกฯ
พระญาณโกศลเถร (มาก) เป็นพระราชาคณะได้ไม่ถึงสองเดือน พระเทพโมลี (กลิ่น) ก็
ถึงแก่มรณะภาพลง
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ หลังจากพระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า)มรณะภาพลง
ระหว่างรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามนั้น พระญาณโกศลเถร (มาก) ได้
รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นองค์ต่อมา และท่านก็ถึงแก่มรณะภาพลง ใน
ระหว่างรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๐ ปีเศษ พรรษา ๔๑
ครั้งนั้นที่วัดราชสิทธารามนี้ ได้ตั้งบำเพ็ญมหากุศลสรีระสังขาร ของอดีตพระ
มหาเถรผู้ใหญ่ ของวัดราชสิทธารามนี้ถึงเจ็ดพระองค์ พระมหาเถรทั้งเจ็ดพระองค์นี้ ต่าง
เป็นผู้มีชื่อเสียงผู้คนทั้งหลายนิยม เคารพนับถือมาก หลังจากพระญาณโกศลเถร (มาก)
สิ้นแล้ว ทางคณะสงฆ์วัดราชสิทธารามเก็บสรีระสังขารของอดีตมหาเถรทั้งเจ็ดท่านไว้
อีกประมาณสามปี
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๑ จึงพระราชทานเพลิงศพพร้อมกันทั้งเจ็ด
องค์ เมื่อถึงคราวออกเมรุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานโกศ
หนึ่งองค์ สำหรับพระพรหมมุนีชิต ตามตำแหน่ง และทรงอุทิศพระราชทานให้ทั้งหก
ท่านด้วย ในพระโกศใบเดียวกันนี้ โดยนำพระโกศตั้งหน้าหีบทองทึบทั้งเจ็ด เป็น
เกียรติยศสำหรับพระมหาเถรทั้งเจ็ดท่าน ทรงพระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง
ทางคณะสงฆ์มี สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ การ
พระราชทานเพลิงศพครั้งนั้น กล่าวว่า มีผู้คนมาร่วมในงานพระราชทานเพลิงสรีรสังขาร
พระมหาเถรทั้งเจ็ด ตั้งแต่เย็นจดเที่ยงคืน จึงหมด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงสถาปนาพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุพระอัฏฐิธาตุ และพระ
อังคาร ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ส่วนที่คณะสงฆ์เก็บไว้ที่วัดราชสิทธาราม
พร้อมกันนั้นก็ได้บรรจุอัฏฐิธาตุ และอังคาร ของพระมหาสงฆเถระทั้งเจ็ดองค์ ไว้ใน
พระเจดีย์องค์เดียวกันนี้ในครั้งนั้นด้วย พระเจดีย์องค์นี้ทรงสถาปนาไว้ทางด้านหน้าพระ
อุโบสถข้างทิศไต้ พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำการบูรณะวัดราช
สิทธารามเป็นการใหญ่ในปีนั้นด้วย ทำการฉลองในปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๔
ปรากฏ ในหนังสือประชุมพงศาวดารประกาศ รัชกาลที่ ๔ ภาค ๒๕ ปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๖๕ หน้า ๗๒ ตอนหนึ่งว่า
“พระสถูปเจดีย์ทั้งคู่มี พระอัคฆิยเจดีย์ ๔ ทิศเป็นบริวาร ที่หน้าพระอุโบสถวัด
ราชสิทธาราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระบรมเชษฐาธิราช
ทรงสถาปนาไว้ในหมู่ข้างใต้แต่ก่อน ครั้งนี้มีพระราชศรัทธา (หมายถึงรัชกาลที่ ๔) ทรง
อุตสาหะปฏิสังขรณ์ ให้วัฒนาถาวรดีกว่าเก่า “
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงสถาปนาเป็นพระเจดีย์แบบลังกาทรงเครื่อง มีสังวาลย์พาดห้อยประกอบด้วย
ลวดลาย ปิดทองประดับกระจก คลอบพระเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสององค์เดิม มีเจดีย์ย่อ
มุมไม้สิบสองขนาดเล็ก ๔ ทิศ ๔ มุมเป็นบริวาร อันเป็นของพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าพระ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่ทรงสถาปนาไว้หน้าพระอุโบสถ ข้างทิศใต้มาแต่ก่อน และ
พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงสถาปนาพระเจดีย์แบบลังกาทรงเครื่องอย่างเดียวกันไว้ ทางหน้า
พระอุโบสถข้างทิศเหนือ แล้วพระราชทานนามพระเจดีย์ของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
เจ้าอยู่หัวว่า พระสิราศนเจดีย์ และพระราชทานขนานพระนามพระสถูปเจดีย์ ด้วยการ
สถาปนาไว้ด้วยพระองค์เองว่า พระสิรจุมภฏเจดีย์

 
 

 ประวัติพระญาณวิสุทธิ์เถร (เจ้า)

00015 ประวัติพระญาณวิสุทธิ์เถร (เจ้า)
อดีตพระอาจารย์กรรมฐาน และอดีตรักษาการเจ้าอาวาสสองสมัย
พระญาณวิสุทธิ์ (เจ้า) ท่านเกิดประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๒ ในรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บรรพชา-อุปสมบทประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๐๓ รัชสมัย
พระเจ้าเอกทัศน์ ณ วัดโรงช้าง พระญาณรักขิต(สี) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์สุก
เป็นพระพี่เลี้ยง
ต่อมาพระอาจารย์สุก ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาส วัดท่าหอย สมัยอยุธยา พระญาณ
วิสุทธิ์ (เจ้า) ครั้งเป็นภิกษุเจ้า ได้ย้ายตาม พระอาจารย์สุก ไปอยู่วัดท่าหอยด้วย
เมื่อกรุงศรีอยุธยา ใกล้ล้มสลาย พระอาจารย์เจ้า ได้นมัสการกราบลาพระอาจารย์
สุก ออกจากวัดท่าหอยหลบภัยพม่า ล่องลงมาอยู่ในป่า ทางทิศตะวันออก ของกรุงศรีอยุธยา
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๑ สมัยกรุงธนบุรี พระอาจารย์เจ้า ท่านได้จาริก
ออกมาจากป่าทางตะวันออก มาถึงวัดท่าหอย เนื่องจากทราบข่าวว่า พระอาจารย์สุก ซึ่ง
เป็นทั้งพระพี่เลี้ยง และพระอาจารย์ของท่าน กลับมาวัดท่าหอยแล้ว พระอาจารย์เจ้า
ท่านมีพระอุปัชฌาย์ และอาจารย์เดียวกันกับพระอาจารย์สุก พระอุปัชฌาย์ ได้มอบให้
พระอาจารย์สุก เป็นพระพี่เลี้ยง คอยดูแลอบรม พระอาจารย์เจ้า ในครั้งนั้น
เมื่อพระอาจารย์เจ้ามาอยู่วัดท่าหอย ยุคธนบุรีครั้งนั้น พระอาจารย์สุก ได้
ประทานไม้เท้าเบิกไพร เถาอริยะ ซึ่งพระองค์ท่านได้มาจากถ้ำในป่าลึกแห่งหนึ่ง แขวง
เมืองสุรินทร์ อันเป็นของบูรพาจารย์แต่ก่อนเก่า ซึ่งท่านมาละทิ้งสังขาร และทิ้งไม้เท้าเถา
อริยะไว้ในถ้ำแห่งนั้น
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗ พระอาจารย์เจ้าทราบข่าวว่า พระอาจารย์สุก
มาสถิตวัดพลับ กรุงเทพฯ ท่านจึงเดินทางมาวัดพลับ เมื่อเห็นความสงบร่มเย็นของวัด
พลับแล้ว ท่านชอบใจมาก
ต่อมาพระญาณสังวรเถร (สุก) ทรงแต่งตั้งพระอาจารย์เจ้า เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย
บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แก่พระภิกษุสามเณร ที่วัดราชสิทธาราม
พระอาจารย์เจ้า ท่านเป็น พระติดป่า หมายถึงชอบอยู่ป่าเป็นวัตร ท่านชอบความ
สงบ วิเวกของป่า ท่านไม่ชอบความสับสนวุ่นวายของผู้คน ท่านได้รับมอบไม้เท้าเบิก
ไพร อันหนึ่งจากพระอาจารย์สุก เรียกว่า ไม้เท้าเถาอริยะ ซึ่งเป็นของเก่าแก่ของบูรพาจารย์
ความเป็นมาของ ไม้เท้าเถาอริยะ
ไม้เถาอริยะ เป็นไม้เถาชนิดหนึ่งที่ขึ้นขนานเกี่ยวพันไปกับต้นไม้ใหญ่ ตรงปลาย
พันเกี่ยวกับกิ่งไม้ใหญ่ จะเป็นไม้เถาพันธ์อะไรก็ได้ ต่อมาเถาไม้ ที่เกี่ยวพันอยู่กับต้นไม้
ใหญ่นี้ ถูกฟ้าผ่าลงบ่อยครั้ง เนื่องจากเถาวัลย์ไม้นี้เกี่ยวพันอยู่กับต้นไม้ที่สูงที่สุดในป่า
และกาลต่อมาเถาไม้ที่พันเกี่ยวอยู่กับต้นไม้ใหญ่ตายลง รุกขเทวดาประจำเถาวัลย์ มีจิต
ศรัทธาต้องการที่จะช่วยทนุบำรุง ค้ำจุนพระพุทธศาสนา ครั้นเห็นพระธุดงค์ผ่านมาทาง
นั้น เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นอริยะบุคคลขั้นต้นแล้ว หรือต่อไปภายหน้าจะได้เป็นอริยบุคคล
รุกขเทวดาประจำเถาวัลย์ มีความศรัทธาจะไปกับพระธุดงค์นั้น เพื่อสร้างสมบุญ
กุศล จึงเข้าไปบอกพระธุดงค์ทางสมาธินิมิตขณะที่พระธุดงค์กำลังเจริญภาวนาพระ
กรรมฐานอยู่ รุกขเทวดาประจำเถาวัลย์ จะบอกให้พระธุดงค์ไปตัดเอาไม้เถาวัลย์นี้มาทำ
ไม้เท้าเบิกไพร และเนื่องจากไม้เถาวัลย์นี้ตายแล้วเทวดาประจำเถาวัลย์ไม่สามารถสิง
สถิตอยู่ได้ ดังนั้นรุกขเทวดานั้นจะนำทางพระธุดงค์ไปตัดเถาไม้นั้น เมื่อพระธุดงค์ตัดไม้
เถาวัลย์นั้นมาทำเป็นไม้เท้าเบิกไพรแล้ว ไม้เถาวัลย์นี้ตัดได้ ไม่ผิดพระวินัยเพราะเป็นไม้
เถาวัลย์ที่ตายแล้ว เนื่องจากถูกฟ้าผ่า ไม่เป็นการพรากของเขียว มอด ปลวกจะไม่กัดกิน
อยู่ได้นานไม่ผุพังง่าย เพราะถูกลนไฟจากฟ้าผ่า และด้วยอำนาจแห่งการแผ่เมตตาของ
พระสงฆ์ เมื่อตัดมาแล้ว รุกขเทวดาประจำไม้เถาวัลย์ก็เข้ามาสิงสถิตอยู่ณ.ไม้เถาวัลย์นี้
ติดตามพระสงฆ์อริย์บุคคลไปทั่ว ด้วยอำนาจแห่งรุกขเทวดา ด้วยอำนาจแห่งคุณของอริย
สงฆ์ที่แผ่เมตตา ไม้เท้านี้จึงมีอำนาจพิเศษป้องกันภัยต่างๆได้ ไม้เท้านี้เมื่อมาอยู่ในมือ
ของพระธุดงค์ ผู้เป็นอริยะสงฆ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นไม้เถาวัลย์พันธุ์อะไรก็จะเรียกว่า ไม้เท้า
เถาอริยะ ทั้งสิ้น ที่วัดพลับมีพระสมถะอริยะสงฆ์ได้ไม้เท้าเถาอริยะหลายท่านเช่น
พระเทพโมลี (กลิ่น) พระปิฏกโกศลเถร (แก้ว) พระญาณโกศลเถร(มาก) พระญาณโกศล
เถร (รุ่ง)ฯ อีกหลายท่านที่ไม่ปรากฏนาม กล่าวว่า หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็มีไม้เท้าเถาอริยะนี้เช่นกัน เพราะเป็นพระอริยบุคคล
รุกขเทวดา เมื่อมาสิงสถิตในไม้เท้าเถาอริยะแล้ว เทวดาก็จะสมาทานศีลอันหมด
จด ประพฤติธรรมให้สุจริต ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำของรุกขเทวดานั้น รุกขเทวดา
จะมีความสุขตลอดกาล อายุของรุกขเทวดานั้นก็จะเจริญ เพราะได้รักษาศีล ประพฤติ
ธรรมอันสุจริตนั้น
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ พระอาจารย์เจ้าเป็น พระครูญาณวิสุทธิ พระครู
วิปัสสนา ถานานุกรมของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน (สุก)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เข้าร่วมเป็นคณะคณะกรรมการ ทำสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะฝ่าย
วิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิสุทธิ์เถร พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ รับ
พระราชทานพัดงาสาน แทนตำแหน่งพระญาณวิสุทธิเถร (ชิต) ที่ได้รับพระราชทาน
เลื่อนที่เป็น พระธรรมมุนี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม สมัยท่านเจ้า
คุณหอไตรมรณะภาพ ซึ่งขณะนั้นพระเทพโมลี (กลิ่น) ยังอาพาธอยู่ พระญาณวิสุทธิเถร
(เจ้า)ไม่รับเป็นเจ้าอาวาส เพราะท่านเป็น พระติดป่า
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นครั้งที่
สอง สมัยพระเทพโมลี(กลิ่น) มรณะภาพ พระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า)มรณะภาพลงระหว่าง
รักษาการเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม (พลับ)ครั้งหลังนี้ เมื่อสิริรวมอายุได้ประมาณ ๘๗
ปี ท่านเป็นอีกองค์หนึ่งที่มีผู้คนนิยมเคารพนับถือมาก ในสมัยนั้น

 
 

 ประวัติพระครูวินัยธรรมกัน
00014

ประวัติพระครูวินัยธรรมกัน
พระครูวินัยธรรม หรือพระอาจารย์กัน ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๗ กรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายจีน พระอาจารย์สุก
พบพระอาจารย์กัน ณ วัดสิงห์ แขวงกรุงเก่า ท่านนุ่งขาว ห่มขาว(เฉพาะวันธรรมสวนะ)
ถือศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดแห่งนั้น
พระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นว่าต่อไปภายหน้า อุบาสกกันจะได้
สำเร็จมรรคผลในพระพุทธศาสนา ต่อมาประมาณสามเดือนเศษ อุบาสกกัน ท่านก็มาขอ
บรรพชา-อุปสมบท กับพระอาจารย์สุก เพราะเลื่อมใสในเมตตาธรรมของ พระอาจารย์
สุก ซึ่งเวลานั้นครอบครัวของอุบาสกกัน ยังพลัดพรากกระจัดกระจาย ไปคนละทิศละ
ทาง ไม่พบพานเลยสักคน
ท่านบรรพชา-อุปสมบท ณ พัทธ์เสมา วัดท่าหอย มีพระอาจารย์สุก เป็นพระ
อุปัชฌาย์ พระอาจารย์ศุก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สี เป็นพระ
อนุศาสนาจารย์
อุปสมบทแล้ว ในพรรษานั้นท่านศึกษาเล่าเรียนกรรมฐานมัชฌิมา กับพระ
อาจารย์สุก องค์พระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาอยู่นานประมาณ แปดเดือนจึงจบสมถะ-
วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ กลางวันท่านเล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์สุก
กลางคืน ท่านบำเพ็ญเพียรสมณะธรรม
ต่อมาไม่นานเมื่อท่านศึกษาพระกรรมฐานจบแล้ว ท่านก็ได้บรรลุมรรคผล
ตามลำดับ ได้อานาคามีมรรค อานาคามีผล ได้มรรคสาม ผลสาม อภิญญาหก เป็นกำลัง
สำคัญให้กับพระอาจารย์สุก และพระพุทธศาสนา
ต่อมาพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านได้มอบไม้เท้าไผ่ยอดตาล ของท่าน
บูรพาจารย์แต่ก่อนเก่า ที่พระองค์ท่านได้มาจากถ้ำในป่าลึก แขวงเมืองกำแพงเพชร
พระองค์ท่านทรงเห็นว่า ไม้เท้าไผ่ยอดตาลอันนี้ เหมาะสมกับพระอาจารย์กัน พระองค์
ท่านจึงประทานให้กับพระอาจารย์กัน ไว้ใช้เบิกไพร แผ่เมตตาตา เวลาออกสัญจรจาริก
ธุดงค์
ต่อมาเมื่อท่านออกจาริกธุดงค์ ท่านได้พบปรอทกรอ ท่านได้มาทำเป็นปรอท
กายสิทธิ์ ประจุไว้ที่หัวไม้เท้าไผ่ยอดตาล ซึ่งน้อยองค์นักที่จะทำปรอทกายสิทธิ์ ให้
สำเร็จได้ ต้องเป็นคนที่มีบุญวาสนาบารมีมาทางนี้ ไม้เท้าไผ่ยอดตาลที่พระอาจารย์สุก
ทรงประทานให้พระอาจารย์กันนี้ ตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ในวัดราชสิทธาราม
ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๑๔๕
ตรงกับปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตาม พระอาจารย์สุก มา
กรุงเทพฯ ปีนั้นเองท่านได้รับแต่งตั้ง เป็นพระใบฎีกา ถานานุกรม ของพระญาณสังวร
เถร (สุก) รับหน้าที่ดูแลเสนาสนะ ความเรียบร้อยของภิกษุสามเณร ภายในวัด และรับ
หน้าที่เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐาน ของพระปลัดชิต และพระอาจารย์
ผู้ช่วยบอกหนังสือ ของพระสมุห์ฮั่น เปรียญด้วย ในระยะแรกๆนั้นท่านได้ช่วยพระ
อาจารย์ทั้งสองจารหนังสือเอาไว้สำหรับใช้สอนพระภิกษุ ภายในวัด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระใบฏีกากัน ได้เลื่อนเป็นถานานุกรมที่ พระครู
ใบกีกากัน ถานานุกรม ของ พระญาณสังวร (สุก)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ พระครูใบฏีกากัน ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูวินัย
ธรรม ถานานุกรม ของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เนื่องจากอัธยาศัยใจจริงของท่าน
เป็นผู้ไม่ติดในลาภยศ ในเกียรติยศ ท่านรับเป็นถานานุกรม เพราะมีความเคารพในพระ
อาจารย์อย่างสูง ท่านมีดำริในใจว่า ต่อไปจะไม่ขอรับเป็นสมณะศักดิ์อันใดขึ้นไปอีก
สมเด็จญาณสังวร ทรงทราบความดำริของท่าน ถึงความตั้งใจจริงของท่าน เพราะ
ศิษย์กับอาจารย์ย่อมทราบอัธยาศัยกันดี เหตุเพราะบรรลุคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา
ด้วยกัน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๒ เข้าร่วมทำพิธีอาพาธพินาศ ทำน้ำพระพุทธมนต์รัตน
สูตร ปราบหอิวาตกโลก ห่าลงเมืองในรัชกาลที่๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ ร่วมเป็นพระอาจารย์เข้าคุมการทำสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในปลายรัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ร่วมเป็นคณะกรรมการหล่อพระรูปสมเด็จ
พระสังฆราช ไก่เถื่อน และเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ของพระพรหมมุนี (ชิต)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ เป็นพระอาจารย์ใหญ่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ องค์ที่สามของสำนักวัดราชสิทธาราม สมัยพระเทพโมลี (กลิ่น) ครองวัดราช
สิทธาราม ปีนั้นเองพระครูวินัยธรรมกัน ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็น พระ
คณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีพระอาจารย์คำ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกพระ
กรรมฐานฯ
พระพุทธศักราช ๒๓๖๙ ประมาณปลายปี ท่านอาพาธ และมรณะภาพลงด้วยโรค
ชรา เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี พระครูวินัยธรรมกัน ท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่ง
ดัง ผู้คนเคารพนับถือยำเกรงท่านมากในสมัยนั้น ท่านเป็นสัทธิวิหาริก และพระสงฆ์
อนุจรติดตาม สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และเป็นพระอาจารย์ ของพระเทพโมลี(กลิ่น)
ครั้งนั้นยังมิได้พระราชทานเพลิงศพพระครูวินัยธรรมกัน พระเทพโมลี (กลิ่น)
เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ก็มาถึงแก่มรณะภาพลงอีก ครั้งนั้นพระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า)
ได้เป็นรักษาการเจ้าอาวาส รักษาการไม่กี่เดือนก็ได้ถึงมรณะภาพลงอีกองค์หนึ่ง ใน
ระหว่างรักษาการนั้น
ต่อมาพระญาณโกศลเถร (มาก) ได้เป็นรักษาการต่อมาจาก พระญาณวิสุทธิเถร
(เจ้า) และท่านก็ได้ถึงแก่มรณะภาพลงอีก ในระหว่างรักษาการเจ้าอาวาสนั้น เวลานั้น
ทางวัดราชสิทธาราม มีการตั้งบำเพ็ญกุศลสรีระสังขาร ของอดีตพระมหาเถรผู้ใหญ่ ฝ่าย
วิปัสสนาธุระเจ็ดองค์

 
 

 ประวัติพระวินัยรักขิต (ฮั่น)
00013

ประวัติพระวินัยรักขิต (ฮั่น)
พระวินัยรักขิต มีนามเดิมว่า ฮั่น เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๔
แขวงกรุงเก่า สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ท่านมีเชื้อสายจีน พระอาจารย์สุก มาพบท่าน
ถือศีลนุ่งขาว ห่มขาวอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ในแขวงกรุงเก่า ท่านศึกษาธรรมปฏิบัติอยู่ระยะ
หนึ่ง จึงมาขอบรรพชา-อุปสมบทกับพระอาจารย์สุก เหตุที่ท่านไม่ได้อุปสมบทมาแต่
อายุ ๒๐–๒๑ นั้นเพราะ ครอบของท่านยังมีเหตุยุ่งยากอยู่ จึงยังไม่ได้ทำการอุปสมบทใน
เวลานั้น ต่อมาท่านได้ บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดท่าหอย โดยมีพระอาจารย์สุก เป็นพระ
อุปัชฌาย์ พระอาจารย์สี พระอาจารย์ศุก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระ อนุศาสนาจารย์
อุปสมบทแล้ว ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา กับพระอาจารย์สุก ภายในระยะเวลา
๖ เดือนเศษท่านก็สามารถศึกษาจบทั้งสมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ เวลากลางคืน
ท่านบำเพ็ญกรรมฐาน กลางวันท่านศึกษาเล่าเรียนพระบาลีคัมภีร์มูลกัจจายน์ หรือคัมภีร์
พระบาลีใหญ่ กับพระอาจารย์สุก เมื่อท่านศึกษาเบื้องต้นพระบาลีมูลกัจจายน์จบที่วัดท่า
หอยแล้ว ต่อมาพระอาจารย์สุก จึงฝากท่าน ให้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนพระบาลีมูลกัจจายน์
ชั้นสูง ต่อที่กรุงธนบุรี กับพระศรีสมโพธิ์ (ศุก) ณ วัดสลัก (มหาธาตุ) ต่อมาท่านสามารถ
สอบผ่านคณะกรรมการสามกองได้ ท่านจึงได้เป็นเปรียญ ท่านเป็นเปรียญแล้ว จึง
เดินทางกลับวัดท่าหอย ช่วยพระอาจารย์สุก เผยแผ่พระศาสนาต่อไป
สมัยที่ท่านจบสมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับแล้ว ไม่นานท่านก็ได้บรรลุ
ธรรมตามลำดับจนถึง อนาคามีมรรค อนาคามีผล ได้มรรค๓ ผล๓ อภิญญาหก เป็นพระ
อริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เป็นกำลังให้พระอาจารย์สุก ทั้งในด้านวิปัสสนาธุระ และคันถะธุระ
ต่อมาพระอาจารย์สุก ได้ประทานไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล อันเป็นของ
บูรพาจารย์สืบทอดกันต่อๆมา พระอาจารย์สุก พระองค์ท่านได้มาจาก ถ้ำในป่าลึก ดง
พญาเย็น แขวงอุตรดิตถ์ พระองค์ท่าน ทรงประทานให้พระอาจารย์ฮั้น เอาไว้ใช้เบิกไพร
แผ่เมตตา เวลาออกสัญจรจาริกธุดงค์ ไปตามป่าเขา
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช
๑๑๔๕ ปีเถาะ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตาม พระอาจารย์สุก มา
กรุงเทพฯ สถิตวัดพลับ กาลต่อมาได้เป็น พระสมุห์ ถานานุกรมทรงเครื่อง ของพระญาณ
สังวรเถร (สุก) ทำหน้าที่บอกหนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับด้วย
ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายคันถะธุระ บอกพระปริยัติธรรมบาลี พระองค์แรก
ของวัดราชสิทธาราม(พลับ) ท่านเป็นพระอาจารย์ บอกพระบาลีมูลกัจจายน์เบื้องต้น
ของพระเทพโมลี (กลิ่น)ด้วย
สมัยแรกที่ ท่านสถิตวัดพลับนั้น หนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ไม่พอให้พระภิกษุ
ศึกษากัน พระญาณสังวรเถร (สุก) พระปลัดชิต พระสมุห์ฮั่น เปรียญ ต้องช่วยกันจาร
หนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ กัณฑ์ต้นๆเป็นหลายผูก ซึ่งสมัยนั้นต้องไปขอยืม พระ
คัมภีร์มูลกัจจายน์ จากพระสังฆราช (สี) วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆัง) และจากพระพนรัต
(สุก) สำนักวัดสลัก (วัดมหาธาตุ) มาช่วยกันจารคัดลอกขึ้นเป็นหลายฉบับ จารเอาไว้
สำหรับให้พระภิกษุได้ใช้ศึกษากัน ที่วัดพลับ
การจารครั้งนั้นของพระสมุห์ฮั่น เปรียญ เป็นการจารเพื่อทบทวนบทเรียนพระ
บาลีไปด้วยในตัว แต่การศึกษาพระบาลีขั้นสูง ทางสำนักวัดพลับ จะส่งพระภิกษุสงฆ์ไป
ศึกษาต่อที่ สำนักพระสังฆราช วัดบางหว้าใหญ่บ้าง สำนักพระพนรัต (ศุก) วัดสลักบ้าง
(วัดมหาธาตุ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำนักเรียนพระบาลีสำนักใหญ่ สมัยต้นรัตนโกสินทร์
พระพุทธศักราช ๒๓๒๗–๒๓๒๘ พระสมุห์ฮั่น ได้เลื่อนเป็นถานานุกรมที่ พระ
ครูสมุห์ฮั่น และได้เข้าร่วมผูกพัทธสีมา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และช่วยพระญาณ
สังวรเถรพิมพ์พระอรหัง ด้วยจำนวนหนึ่ง
พระพุทธศักราช ๒๓๓๑ ในรัชกาลที่๑ พระครูสมุห์ฮั่น เปรียญ ถานานุกรม
ทรงเครื่อง เข้าร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ ทรงพระปริยัติธรรม องค์หนึ่งใน ๒๑๘ รูป ทำ
สังคายนาพระไตรปิฎก
พระพุทธศักราช ๒๓๓๗ พระครูสมุห์ฮั่น เปรียญ ได้รับพระราชทานสมณะ
ศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระวินัยรักขิต หรือ ตำแหน่งพระอุบาลี เดิม พระครูสมุห์ฮั่น
เปรียญเป็น พระวินัยรักขิต องค์ที่สองของกรุง รัตนโกสินทร์ ต่อจากพระวินัยรักขิต
(มี) วัดราชบูรณะ
พระพุทธศักราช ๒๓๔๙ ได้เข้าร่วมเป็นคณะสงฆ์ ๒๘ รูป ถวายสัจจะสาบาน
ถวายพระพร ยกเจ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวร สถานมงคล
(รัชกาลที่ ๒)
พระพุทธศักราช ๒๓๖๒ ประมาณปลายปี เป็นกำลังสำคัญในการสวดพระปริต
รัตนสูตร ปราบอหิวาตกโรค หรือโรคห่าลงเมืองในรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เป็นคณะกรรมการเข้าร่วมทำการสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๕ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฝ่ายสงฆ์ หล่อพระรูป
สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ณ. วัดราชสิทธาราม
พระพุทธศักราช ๒๓๖๗ อาพาธ และมรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อสิริรวมอายุ
ท่านได้ ๘๓ ปีเศษ ทางคณะสงฆ์วัดพลับ เก็บพระสรีระสังขารของท่านบำเพ็ญกุศลไว้
สองปีเศษ

 
 

 ประวัติพระญาณโพธิ์เถร (ขาว)
00017

ประวัติพระญาณโพธิ์เถร (ขาว)
พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) หรือพระอาจารย์ขาว ท่านเกิด ประมาณปีพระ
พุทธศักราช ๒๒๘๐–๒๒๘๑ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ท่าน
บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดน้อย ซึ่งเป็นวัดป่า แขวงกรุงศรีอยุธยา ท่านศึกษาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระอุปัชฌาย์ของท่าน อยู่ที่วัดน้อย
ต่อมาท่านได้ออกสัญจรจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ และพบกับพระอาจารย์สุก ที่
ป่าแขวงเมืองสิงหบุรี ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีอยู่
ต่อมาพระอาจารย์ขาว เกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระอาจารย์สุก ท่านจึง
มาขอ ศึกษาวิชาพระกรรมฐานเพิ่มเติม จากพระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ได้ถ่ายทอด
วิชาสยบจิต และวิชาฌานโลกุตระ ให้กับพระอาจารย์ขาว
ครั้นเมื่อท่านทราบว่า พระอาจารย์สุก มาสถิตวัดท่าหอย แขวงกรุงเก่า ในสมัย
ธนบุรีนี้ ท่านจึงตามมาขอศึกษาวิชาการต่างๆเพิ่มเติมจากพระองค์ท่านอีก และบางครั้ง
ท่านก็ได้ช่วยพระอาจารย์สุก ปั้นบาตรดิน เผาขึ้นใช้เอง เนื่องจากบาตรดิน บริขารเดิม
ของพระอาจารย์สุก เกิดชำรุด เสียหาย
ต่อมาเมื่อมีกุลบุตร เข้ามาบรรพชา-อุปสมบท ณ วัดท่าหอยมากขึ้น บริขาร
บางอย่างไม่พอใช้ เช่น บาตร เป็นต้น สหายธรรมที่จาริกมาในครั้งนั้น ก็ได้ช่วยพระ
อาจารย์สุก พระอาจารย์ของตน ปั้นบาตรดิน เผาขึ้นไว้ใช้สำหรับ บรรพชาอุปสมบท
เนื่องจากอยู่ในยุคสร้างบ้านแปลงเมือง ข้าวของบริขารบางอย่างหายาก
ต่อมามีกุลบุตรเข้ามาบรรพชา-อุปสมบท พระอาจารย์ขาว และเพื่อนสหธรรมิก
คือพระอาจารย์เที่ยง พระอาจารย์สี พระอาจารย์ศุก ทั้ง ๔ องค์ ท่านก็เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ และพระอนุศาสนาจารย์ และเพื่อนสหายธรรมอื่นๆ ที่มาในครั้งนั้น ก็
ช่วยลงนั่งเป็นพระลำดับด้วย บางครั้งพระลำดับ ไม่ครบสงฆ์ปัญจวรรค ต้องไป
อาราธนานิมนต์ พระสงฆ์ตามป่า ตามเขามา
ครั้งแรกวัดท่าหอย ยุคต้นธนบุรี ยังไม่มีพัทธเสมา ทำสังฆกรรมอุปสมบท ต้อง
สวดสมมุติเสมาขึ้นมา พระอาจารย์ขาว เมื่อท่านมาสถิตวัดท่าหอยแล้ว พระอาจารย์สุก พระอาจารย์ ของท่าน ได้มอบ ไม้เท้าเบิกไพรให้ท่าน ๑ อัน เรียกว่าไม้เท้า ไผ่ยอดตาล
พระอาจารย์สุก ท่านได้ไม้เท้า ไผ่ยอดตาล มาจากจากถ้ำ ในป่าลึกแห่งหนึ่ง เป็น
ของบูรพาจารย์ ท่านทิ้งสังขารไว้ ในถ้ำแห่งนั้น พร้อมไม้เท้า เบิกไพร ไผ่ยอดตาล
พระพุทธศักราช ๒๓๒๗ ประมาณต้นปี พระอาจารย์ขาว ท่านได้เดินทางกลับ
จากป่า มาวัดท่าหอย ท่านทราบว่าพระอาจารย์สุกมากรุงเทพฯ ท่านจึงลาพระอาจารย์
มาก เจ้าอาวาสวัดท่าหอย ขอเดินทางมาช่วยงานพระอาจารย์สุก ที่วัดพลับ กรุงเทพฯ
และท่านได้สถิตวัดพลับตั้งแต่นั้นตลอดมา ต่อมาพระญาณสังวรเถร(สุก) แต่งตั้งให้ท่าน
เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม)
ครั้งนั้นบาตรดินเผา บริขารเดิมของท่านเกิดชำรุด พระญาณสังวรเถร (สุก) จึง
ประทานบาตรดินเผาเดิมของพระองค์ท่านที่นำมาจากวัดท่าหอย ประทานให้แก่พระ
อาจารย์ขาว ใช้แทนบาตรดินเผา บริขารเดิมของท่าน ที่ชำรุด พระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระอาจารย์ขาว ได้เป็นถานานุกรมที่ พระครูธรรมรักขิต ของพระญาณสังวร
พระพุทธศักราช ๒๓๓๗ พระครูธรรมรักขิต (ขาว) ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระครูปลัด
ถานานุกรมของ พระญาณสังวร (สุก) เนื่องจากพระครูปลัดชิต ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณวิสุทธิเถร ( ท่านเจ้าคุณหอไตร)
พระพุทธศักราช ๒๓๕๙ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ ปีชวด ได้รับ
พระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณโพธิ์เถร คราว
สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี) รับพระราชทานพัดงาสาน เมื่อท่านเป็นพระราชาคณะ
นั้น อายุท่านประมาณได้ ๗๙ ปี เหตุที่ท่านไม่ได้เป็นราชาคณะมาแต่ก่อนนั้น เพราะท่าน
ไม่ติดลาภยศ ได้ปฏิเสธเรื่อยมา ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ขอให้
ท่านรับเป็นพระราชาคณะ รับภารธุระทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงยอมรับ
ตำแหน่งที่ พระญาณโพธิ์นี้ ถ้าผู้ครองตำแหน่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนา
ธุระ เติมคำว่า เถร เป็นพระพระญาณโพธิ์เถร ถ้าผู้ครองตำแหน่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายคันถะ
ธุระ ไม่มีคำว่า เถร เป็น พระญาณโพธิ์
พระพุทธศักราช ๒๓๖๒ ประมาณปลายปี ร่วมกับพระเถรานุเถระ ผู้ใหญ่ ผู้น้อย
ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์รัตนสูตร ปราบอหิวาตกโรค ห่าลงเมืองในรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ทำการสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๖ ท่านอาพาธลงด้วยโรคชรา กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์
เสด็จเยี่ยมอาการอาพาธของท่าน และมีพระดำริในพระทัยว่า ถ้าพระอาจารย์มรณะภาพ
ลง จะกราบบังคมทูลขอถวายเกียรติยศจากพระเจ้าแผ่นดิน (รัชกาลที่ ๒)ให้เป็นพิเศษ
เพื่อบูชาคุณธรรมของท่าน เพราะท่านเป็นพระอาจารย์ของกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ด้วย
องค์หนึ่ง ทรงนับถือว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่บรรลุคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา เพราะท่าน
ทรงคุ้นเคยกันมาแต่ครั้งทรงผนวชอยู่ที่วัดราชสิทธารามนี้ ๑ พรรษา
พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) ท่านทราบความดำรินี้ พระญาณโพธิ์เถร ได้กล่าวขึ้นมา
ลอยๆว่า ธรรมดาศิษย์ไม่ควรทำตัวเทียบ ตีเสมอพระอาจารย์
อาจารย์ในที่นี้ หมายถึง สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) กรมหมื่นเจษฏา
บดินทร์ ทรงสดับฟังดังนั้น ก็ทรงเข้าพระทัยดี ต่อมาเมื่อพระญาณโพธิ์เถร ถึงแก่
มรณะภาพลง เมื่อสิริรวมมายุได้ประมาณ ๘๖ ปี
พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) มรณะภาพภายหลัง สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
๑ ปี(นับเดือนไทย) สรีระสังขารของ พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) ทางวัดเก็บบำเพ็ญกุศลไว้
ได้ประมาณ ๑ ปีเศษ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) ก็ถึงแก่มรณะภาพลงอีกองค์หนึ่ง และทางวัด
ก็ได้เก็บสรีระของ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) ไว้บำเพ็ญกุศลอีกประมาณ ๑ ปีเศษ ระหว่างเก็บ
สรีระบำเพ็ญกุศล พระมหาเถรทั้งสองท่านอยู่ พระพรหมมุนี (ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอ
ไตร ก็อาพาธถึงแก่มรณะภาพลงอีก เวลานั้นที่วัดราชสิทธาราม จึงมีการตั้งบำเพ็ญมหา
กุศล สรีระสังขารของ พระมหาเถรผู้ใหญ่ถึงสามท่าน
การตั้งบำเพ็ญกุศล อดีตพระมหาเถร ณ. ศาลาการเปรียญหลังเก่า หลังพระ
อุโบสถ เป็นประเพณีของผู้คนในครั้งนั้น ถ้าพระเถรผู้ใหญ่ที่มีผู้คนเคารพนับถือมาก
มรณะภาพลง จะเก็บสรีระสังขารของท่านไว้บำเพ็ญกุศลหลายปี ยกเว้นตำแหน่งสมเด็จ
พระสังฆราช สมเด็จราชาคณะ เมื่อครบ ๑๐๐ วัน ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
พระราชทานเพลิงเลย
พระราชาคณะ พระครู พระถานานุกรม วัดราชสิทธาราม ที่ตั้งอยู่ในฐานะพระ
อาจารย์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และทรงนับถือว่าเป็นผู้บรรลุคุณ
วิเศษในพระพุทธศาสนานั้น นอกจากองค์พระอาจารย์ใหญ่คือ สมเด็จพระสังฆราช (ไก่
เถื่อน)แล้ว ยังมี พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) ๑ พระพรหมมุนี (ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอไตร ๑ พระ
วินัยรักขิต (ฮั่น) ๑ พระครูวินัยธรรมกัน ๑ พระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า) ๑ พระญาณโกศล
เถร (มาก) ๑ พระเทพโมลี (กลิ่น) ๑ พระปิฏกโกศลเถร (แก้ว) ๑ พระญาณสังวร (ด้วง) ๑
พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) ๑ พระญาณสังวร (บุญ) ๑ พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ๑ เพราะ
ท่านทั้งหลายเหล่านี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงคุ้นเคย ทรงเคยมีพระ
ราชปฎิสันฐาน ทรงเคยทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษวัตรปฏิบัติปฏิปทาอันงดงาม มาแต่
ครั้งทรงผนวชอยู่ ณ. วัดราชสิทธาราม หนึ่งพรรษา ภายหลังรงลาผนวชแล้วยังได้ทรงติดตามเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ มาวัดราชสิทธารามเสมอเนืองๆ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้น
ครองราชสมบัติแล้ว ก็เสด็จพระราชดำเนินมาวัดราชสิทธารามบ่อยครั้ง เช่นคราวเสด็จ
พระราชดำเนินมา ทรงทอดผ้าพระกฐินทาน เป็นต้น อีกทั้งพระมหาเถระ ที่กล่าวนาม
มาแล้วในที่นี้ก็ตั้งอยู่ในฐานะพระอาจารย์ของ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) และพระมหา
เถรทั้งหมดที่กล่าวนามมาแล้วนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี นับถือมาก
เพราะเป็นพระมหาเถรรุ่นอาจารย์ของท่าน สมัยครั้งยังศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ อยู่ในสำนักพระญาณสังวรเถร (สุก) ไก่เถื่อน

 
 

 ประวัติพระปัญญาภิษารเถร (ศุก)
00019

ประวัติพระปัญญาภิษารเถร (ศุก)
พระปัญญาภิศาลเถร หรือพระอาจารย์ศุก ท่านเกิดประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๗๘ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ท่านบรรพชา-อุปสมบท ณ วัดโคกขวิด (โคกมะขวิด) แขวงอยุธยา อุปสมบทแล้วเล่าเรียนพระปริยัติ และพระกรรมฐาน ในสำนัก
พระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้ออกสัญจรจาริกธุดงค์ หาความสงบ วิเวก ไปตามสถานที่ต่างๆ
ไปกับหมู่คณะบ้าง ไปลำพังเพียงองค์เดียวบ้าง จนท่านมีความชำนาญ ในการออกป่า
ขากลับจากรุกขมูล ท่านพบพระอาจารย์สุก ที่ป่าชุมแพ (อยุธยา) แขวงสิงห์บุรี
พระอาจารย์สุก ทรงสอนวิชาพระกรรมฐานชั้นสูง โดยให้ท่านศึกษาวิชาสงัดจิต สงัดใจ
เพ่งจิตให้สงบวิเวก วังเวง อธิฐานอาโปธาตุ ลงไปในน้ำ ทำให้เย็น ทำให้ร้อน ทำให้เดือด
ท่านได้พบไม้เท้าเถาอริยะในถ้ำแห่งหนึ่ง ท่านนำติดตัวไป-มาเสมอ เป็นไม้เท้า
ของเก่า ของบูรพาจารย์ แต่โบราณกาล ท่านพบในถ้ำป่าลึกแห่งหนึ่ง
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗ ท่านจาริกกลับจากป่า มาวัดท่าหอย ทราบข่าวว่า
พระอาจารย์สุก และคณะสงฆ์อนุจร มาสถิตอยู่วัดพลับ ท่านจึงเดินทางออกจากวัดท่าหอย พร้อมเพื่อนสหธรรมิก มาวัดพลับ เพื่อช่วยกิจการพระศาสนา ต่อมาพระญาณ
สังวรเถร (ศุก) ตั้งให้ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครู
วิปัสสนาธุระที่ พระครูธรรมสถิต เป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐาน ในวัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ พระครูธรรมสถิต (ศุก) ได้รับพระราชทานเลื่อน
สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระปัญญาภิษารเถร โปรดเกล้าฯ ให้
ไปครองวัด โปรดเกษเชษฐาราม วัดอรัญวาสีหัวเมือง สืบสายพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ชาวบ้านแถวเมืองนครเขื่อนขันธ์ ให้
ฉายานามท่านว่า ท่านท่าหอย เนื่องจากท่านมีปฏิปทา มีเมตตา เหมือนสมเด็จพระอาจารย์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๗ ประมาณกลางปี พระปัญญาภิษารเถร (ศุก) อาพาธ
ลงด้วยโรคชรา และได้มรณะภาพลง เมื่อสิริมายุได้ประมาณ ๘๘ ปีเศษ ณ วัดโปรดเกษ
เชษฐาราม เมืองนครเขื่อนขันธ์

 
 

00018 ประวัติพระครูกิจานุวัตร(สี)

ประวัติพระครูกิจานุวัตร(สี)
พระครูกิจจานุวัตร หรือพระอาจารย์สี ท่านเกิดประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๗๙ รัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ แขวงเมืองนครสวรรค์ บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดพระ
ศรีฯ เมืองนครสวรรค์
ท่านพบ กับพระอาจารย์สุก ที่ป่าดงพญาเย็น แขวงอุตรดิตถ์ ท่านมีความศรัทธา
เลื่อมใสในพระอาจารย์สุก ต่อมาท่านได้ขอศึกษาวิชากรรมฐานชั้นสูง พระอาจารย์สุก
ได้สอนวิชาแยกธาตุขันธ์ วิชาสลายธาตุขันธ์ ให้กับพระอาจารย์สี ไว้เจริญวิปัสสนา
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๐ สมัยธนบุรี ท่านทราบข่าวว่าพระอาจารย์สุก
มาสถิตวัดท่าหอย ท่านจึงจาริกติดตามมาอยู่ที่วัดท่าหอยด้วย และได้ช่วยพระอาจารย์สุก
ทำอุปสมบทกรรมอุปสมบท
ต่อมาพระอาจารย์สุก ได้มอบไม้เท้าเบิกไพร ที่เรียกว่า ไม้เท้าเถาอริยะ ที่
พระองค์ท่านได้มาจากถ้ำแห่งหนึ่งในป่าลึก อันเป็นของบูรพาจารย์ มาแต่โบราณกาล ซึ่ง
ท่านมาละสังขาร พร้อมทิ้งไม้เท้าเถาอริยะนี้ไว้ในถ้ำแห่งนั้น พระองค์ท่าน ทรงประทาน
ไม้เท้าเถาอริยนี้ให้ กับพระอาจารย์สี ไว้ใช้เบิกไพร เปิดทาง แหวกทาง แผ่เมตตา เวลา
สัญจรจาริกธุดงค์ ออกป่าเขาลำเนาไพร
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗ ท่านกลับออกมาจากป่า ถึงวัดท่าหอย ทราบข่าวว่า
พระอาจารย์สุก มากรุงเทพฯ สถิตวัดพลับ ท่านจึงเดินทางจาริกมา วัดพลับ พร้อมด้วย
เพื่อนสหธรรมิก มาช่วยพระอาจารย์สุก พระอาจารย์ ของท่านในกิจการต่างๆ ภายในวัด
พลับ ต่อมาพระญาณสังวรเถร (สุก) ตั้งท่านให้ช่วยดูแลพระกรรมฐาน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ท่านเป็นพระถานานุกรม ของสมเด็จพระญาณสังวร
ที่พระครูสมุห์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ ท่านพระครูสมุห์สี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
เป็นพระครูฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระครูกิจจานุวัตร
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ - ๒๓๖๕ เป็นคณะกรรมการสังคายนาพระกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับ และเป็นคณะกรรมการหล่อพระรูป สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๖ ท่านอาพาธด้วยโรคชรา และถึงแก่มรณะภาพด้วย
อาการสงบ เมื่ออายุได้ ๘๖ ปีเศษ ได้ทำการพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดราชสิทธาราม

 
 

 ประวัติพระพรหมมุนี(ชิต)

 

00004

 

 

 

ประวัติพระพรหมมุนี(ชิต)
( ท่านเจ้าคุณหอไตร อดีตเจ้าอาวาส องค์ที่ ๒)
พระพรหมมุนี หรือ พระอาจารย์ชิต ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๐ - ๒๒๘๑ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แขวงเมืองสิงห์บุรี เมื่อท่านเจริญวัยอายุย่างเข้า ๒๐ แล้ว ท่านมีศรัทธา เข้าถือศีลฟังธรรม เจริญพระกรรมฐาน ถือเพศเป็นปะขาว นุ่งขาว ห่มขาว ออกเที่ยวจาริกธุดงค์ ไปตามวัด ไปตามป่าเขา นั่งบำเพ็ญสมณธรรมตามวัดบ้าง ตามป่าบ้าง ตามถ้ำบ้าง สืบเสาะแสวงหา วิชาความรู้ กับครูบาพระอาจารย์ตามป่าเขา ตามวัดวาอาราม และตามสถานที่ต่างๆเรื่อยไป จนกระทั้งบางครั้งท่านสามารถใช้สมาธิขั้นเอกัคตาจิตบางอย่าง เสกเป่าใบมะขามเป็น ตัวต่อตัวแตนได้ในบางครั้ง
 สมัยปลายอยุธยา ถึงต้นกรุงธนบุรี มีอุบาสกมากมาย เกิดมีความสังเวศสลดใจ
เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ถือเพศเป็นปะขาวกันมาก ชอบเที่ยวสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีมากมายในยุคนั้นสมัยนั้น ใช้กลดขาว มุ้งกลดขาว ธุดงค์ไปนมัสการตามสถานที่สำคัญต่างๆเช่น เขาพระพุทธบาท พระแท่นดงรัง เป็นต้น สถานที่เหล่านั้นเมื่อถึงเทศกาลนมัสการ ก็จะมีทั้งพระภิกษุ ปะขาว ชี มาปักกลดในบริเวณสถานที่เหล่านั้นกันมากมายและท่านเหล่านั้นจะได้พบปะกับสหายธรรมมากมาย ได้ทำการแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กัน
บริเวณที่พระภิกษุปักกลดก็จะมีกลดสีกลักเต็มไปหมด บริเวณปะขาว หรือพวก
แม่ชี ที่มีสมาธิจิตกล้าแข็ง ก็จะออกสัญจรจาริก มาปักกลด และก็จะมีกลดสีขาวเต็มพรึด
ไปหมด เหมือนดอกเห็ด ซึ่งปะขาวชิต ท่านก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ท่านปะขาว
มักจะไม่อยู่ในสถานที่เช่นนั้นนานๆ ท่านมักหลบออกไปหาความสงบ วิเวก ตามป่าเขา
เพียงลำพังผู้เดียวเสมอ
วันหนึ่ง ท่านปะขาวชิต ท่านได้พบกับพระอาจารย์สุก ในป่าแห่งหนึ่ง แขวงเมือง
สิงห์บุรี ท่านปะขาวชิตเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระเมตตาธรรมของพระอาจารย์สุก
ภายหลังเมื่อท่านทราบข่าวว่า พระเจ้าตากสินกู้อิสระภาพคืนจากข้าศึกได้แล้ว และตั้ง
กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาท่านได้ทราบข่าวอีกว่าพระอาจารย์สุก กลับมาสถิตวัดท่า
หอยแล้ว
ท่านปะขาวชิต มีความปีติ ยินดีมาก จึงเดินทางจาริกมาวัดท่าหอย ขอบรรพชา-
อุปสมบท กับพระอาจารย์สุก ท่านปะขาวชิต บรรพชา-อุปสมบทครั้งนั้น ชนมายุของ
ท่านได้ประมาณ ๒๘ ปี เหตุที่ไม่ได้บรรพชา-อุปสมบทมาแต่ก่อนในคราวอายุ ๒๐–๒๑
ปีนั้น เพราะเหตุว่า ท่านยังไม่อยากจะอุปสมบท และเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาของท่าน ต่อมา
เมื่อท่านได้พบกับพระอาจารย์สุกแล้ว ท่านเห็นว่า ถึงเวลาที่ท่านจะบรรพชาอุปสมบท
ศึกษาบำเพ็ญสมณธรรมอย่างจริงจังเสียที่ เพราะได้อาจารย์ดีมีความรู้สามารถมาก ทั้งทางวิปัสสนาธุระ และคันถธุระ ท่านปะขาวชิต ได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธเสมา วัดท่าหอย โดยมีพระอาจารย์
สุก ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ศุก พระอาจารย์สี สหายธรรม ของพระอาจารย์
สุก เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ อุปสมบทแล้วในพรรษานั้นเอง ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ท่านปฏิบัติพระกรรมฐานไม่ถึงพรรษาดีนัก ท่านก็จบ
ทั้งสมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ เพราะท่านมีพื้นฐานมาดีก่อนแล้ว จึงเล่าเรียนได้
เร็วไว ต่อมาเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านได้ออกเที่ยวสัญจรจาริกธุดงค์ ไปตามสถานที่
ต่างๆ แต่ลำพังองค์เดียว บำเพ็ญสมณะธรรม หาความสงบวิเวกตามป่าเขา เนื่องจากท่าน
มีความชำนาญในการออกรุกขมูล มาตั้งแต่ถือเพศเป็นปะขาวแล้ว
พรรษานั้น ท่านเจริญสมณะธรรม ได้บรรลุมรรคผลตามลำดับ โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อานาคามีมรรค อนาคามีผล ตามลำดับ
พร้อมด้วยมรรค ๓ ผล ๓ และอภิญญาหก เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เป็น
ศิษย์เอก เป็นกำลังสำคัญให้กับพระอาจารย์สุก และพระศาสนา ในกาลต่อมา ท่านเป็นผู้
มีวัตรปฏิบัติมั่นคง เสมอต้น เสมอปลาย
พระอาจารย์ชิต ท่านมีไม้เท้าเบิกไพร ๑ อัน เรียกว่าไม้เท้าเถาอริยะ ท่านได้จากถ้ำ
แห่งหนึ่งในป่าลึก เป็นของพระบูรพาจารย์แต่ก่อนเก่า ซึ่งท่านมาละสังขาร และทิ้งไม้
เท้าเบิกไพรเถาอริยะไว้ที่ถ้ำแห่งนี้
ครั้งเมื่อพระอาจารย์ชิต ยังถือเพศเป็นปะขาวอยู่นั้น ท่านได้เดินทางจาริกมา
บำเพ็ญสมณะธรรมในถ้ำแห่งนั้นและพบไม้เท้าเถาอริยะเข้า กล่าวว่าเทวดาผู้พิทักษ์
รักษาไม้เท้าเถาอริยะบอกถวายให้ท่าน แต่ครั้งนั้นท่านยังมิได้นำเอาไม้เท้าเถาอริยะอัน
นั้น ออกมาจากถ้ำแห่งนี้ เพราะท่านเห็นว่าไม้เท้าเถาอริยะนี้ ควรเป็นของบุคคลที่ถือเพศ
เป็นบรรพชิตเท่านั้น ต่อมาภายหลัง เมื่อท่านบรรพชา-อุปสมบท และบรรลุมรรคผลแล้ว
ท่านจึงได้จาริกมาที่ถ้ำแห่งนี้อีกครั้ง และได้นำไม้เท้าเถาอริยนี้ออกมา ใช้เบิกไพร แผ่
เมตตา เป็นไม้เท้าประจำตัว คู่บารมี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๑๔๕
ตรงกับปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ พระอาจารย์ชิต เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตาม พระ
อาจารย์สุก มากรุงเทพฯ สถิตวัดพลับ
ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็น พระปลัด ถานานุกรมชั้นที่หนึ่ง
รับภาระธุระหน้าที่ช่วยดูแล งานด้านการบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในวัด
พลับองค์แรก ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยของ พระญาณสังวรเถร (สุก) และท่านทำ
หน้าที่เป็น พระอุปัฏฐาก ปรนนิบัติรับใช้ พระญาณสังวรเถร (สุก) ด้วย ท่านจะไม่ยอมรับอาราธนาไปกิจนิมนต์นอกวัด เว้นแต่จะตามพระญาณสังวรเถร
(สุก)ไป ท่านชอบสถิตและจารหนังสือ เจริญภาวนา จำวัด อยู่ณ.บนหอไตรของวัดเสมอ
เวลาท่านไม่อยู่บนหอไตรคือ เวลาที่ไปอุปัฏฐากพระญาณสังวรเถร (สุก) หรือตามพระ
ญาณสังวรเถร ไปกิจธุระนอกพระอาราม
ท่านเป็นผู้มั่นคงด้วยอุปัชฌายวัตร อุปัฏฐากวัตร มีความสันโดด มักน้อย ตราบ
เท่าจนตลอดชีวิตของท่าน,ท่านประพฤติปฎิบัติตนอย่างสม่ำเสมอเช่น เคยต้มน้ำฉันถวาย
พระญาณสังวรเถร (สุก) เมื่อก่อนเคยปฏิบัติอย่างไร ขณะท่านแก่ชราแล้วท่าน ก็ยัง
ประพฤติปฏิบัติอย่างนั้น สมัยแรกท่านสถิตอยู่บนหอไตรของวัด ตอนแก่ชราภาพลงแล้ว
ท่านก็อยู่บนหอไตรอย่างเดิมเสมอ
พระสงฆ์ที่มาอยู่วัดพลับสมัยแรกๆ ต้องจารหนังสือใบลานเองทุกองค์ รวมทั้ง
ท่านพระปลัดชิตด้วย บางครั้งพระปลัดชิต ต้องจารวิชาการต่างๆลงไปในใบลาน และ
สมุดข่อยไทยดำ ตามคำบอกของพระญาณสังวรเถร (สุก) เนื่องจากตำราต่างๆในสมัยนั้น
หายาก เพราะส่วนมากเป็นของชำรุด ส่วนหนึ่งสูญหายแตกกระจายไปเมื่อครั้งกรุงแตก
มีเป็นจำนวนมาก
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗–๒๓๒๘ พระปลัดชิต ได้เลื่อนเป็นที่ พระครูปลัดชิต ถานานุกรม ของพระญาณสังวร (สุก)
และช่วยพระญาณสังวรเถร (สุก) ทำพระพิมพ์อรหัง จำนวนหนึ่ง สำหรับแจก
เพื่อเป็นบาทฐานของพระกรรมฐาน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๗ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ ท่านพระครูปลัดชิต ได้รับ
พระราชทานแต่งตั้งให้ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิสุทธิเถร พระ
คณาจารย์เอก รับพระราชทานพัดงาสาน
ถ้าเป็นพระสงฆ์ฝ่ายคันถะธุระตัดคำว่า เถร ออก ปีที่ท่านเป็นพระราชาคณะ เป็น
ปีที่สถาปนาพระสังฆราช (ศุก) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระสังฆราชองค์ที่สอง แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ หลังจากท่านได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯเป็นพระราชาคณะแล้ว พระญาณสังวรเถร (สุก)อุปัชฌาย์ของท่าน ทรงมอบให้พระญาณวิสุทธิเถร ดูแลพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ทั้งหมด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๒ ปลายปี เข้าร่วมทำพิธีอาพาธพินาส เจริญพระปริต
รัตนสูตร ปราบอหิวาตกโลก ห่าลงเมืองในรัชกาลที่๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เป็นคณะกรรมการควบคุมการทำสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อวันอังคาร แรม ๘ ค่ำ เดือน ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เนื่องจากสมเด็จ พระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) สิ้นพระชนม์ลง และอยู่ระหว่างการบำเพ็ญพระราชกุศล
พ.ศ. ๒๓๖๕ ประมาณปลายเดือน ๑๒ เป็นแม่กองงาน หล่อพระรูปสมเด็จ
พระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ร่วมกับทางสำนักราชวัง
ถึงคราวมีกิจนิมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระญาณวิสุทธิเถร (ชิต) นั่งหน้า
สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เหตุว่ามีพรรษายุกาลมากกว่า พระญาณวิสุทธิเถร (ชิต) มี
พรรษายุกาลมากกว่า สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) ถึง ๒๐ พรรษา และเป็นพระอาจารย์
บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) มาแต่ก่อนด้วย
เนื่องจากทำเนียบตำแหน่งพระราชาคณะผู้ใหญ่ ฝ่ายอรัญวาสีไม่มีตำแหน่งว่าง
แต่พระญาณวิสุทธิเถร(ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอไตร เวลามีกิจนิมนต์เข้าไปใน
พระบรมมหาราชวัง ท่านนั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้วนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
เจ้ากรมอาลักษณ์ ตั้งราชทินนามพระราชาคณะผู้ใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี นอกทำเนียบขึ้นมา
ใหม่เป็นการเฉพาะ เนื่องจากตำแหน่งราชาคณะผู้น้อย จะนั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราชนั้น
ไม่เหมาะสมนัก ต่อมาเจ้ากรมอาลักษณ์ ถวายพระราชทินนามที่ พระธรรมมุนี พระ
เจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัย
ถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนอ้าย จุลศักราช ๑๑๘๔ ตรงกับพระพุทธศักราช
๒๓๖๕ เป็นปีที่ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อน
พระญาณวิสุทธิเถรเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระธรรมมุนี
สำเนา แต่งตั้ง
ให้พระญาณวิสุทธิเถร (ชิต) เลื่อนที่เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระธรรมมุนี ศรี
วิสุทธิญาณ สัตตวิสุทธิ์ จริยาปรินายก สปิฏกธรา มหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี สถิตวัด
ราชสิทธาวาส พระอารามหลวง
เทียบตำแหน่งเจ้าคณะอรัญวาสี เป็นพระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
พระราชทานนิตยภัต ๔ ตำลึงกึ่ง(๒ บาท ) ตั้งถานานุกรมได้ ๕ รูป พระครูปลัด ๑ พระ
ครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฏีกา ๑ พระราชทานพัดแฉก
ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ๑ กับพัดงาสาน ๑ เป็นปีที่ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุ
พระธรรมมุนี (ชิต) เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ต่อมาจากสมเด็จ
พระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระองค์ที่สอง ของวัด
ราชสิทธาราม (พลับ) ปรกติท่านมีปกตินิสัยรักสันโดด ชอบสถิตอยู่บนหอไตร ของวัด
เสมอ เพราะเป็นสถานที่สงบเงียบ ท่านสถิตอยู่บนหอไตร ตั้งแต่มาอยู่วัดพลับครั้งแรก
จนตราบเท่าถึงสิ้นอายุขัยของท่าน คนทั้งหลายมักเรียกขานนามของท่านว่า ท่านเจ้าคุณ
หอไตร จนติดปาก ต่อมาสมัยในหลังๆ ไม่มีใครรู้จักราชทินนามสมณะศักดิ์ของท่าน
เพราะท่านถือความสันโดด มักน้อย อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ตลอดชนชีพของท่าน เมื่อ
แรกมาสถิตวัดพลับ เคยปฏิบัติอย่างไร ปั้นปลายชีวิตของท่าน ก็ประพฤติปฏิบัติเหมือน
อย่างนั้น
อธิบายศัพท์ ธรรมมุนี
ธรรม หมายความว่า สภาพที่ทรงไว้ ธรรมดา ธรรมชาติ สภาวธรรม คุณความดี
ความประพฤติชอบ ความยุติธรรม มุนี หมายความว่า นักปราชญ์ ผู้สละเรือน
ทรัพย์สมบัติแล้ว มีจิตใจตั้งมั่นเป็นอิสระไม่เกาะเกี่ยวติดพันในสิ่งทั้งหลาย สงบเย็น ไม่
ทะเยอทะยานฝันใฝ่ความหมายเหล่านี้เป็นลักษณะคุณสมบัตินิสัยของพระธรรมมุนี(ชิต)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ ทรงตั้งราชทินนามนี้ขึ้นใหม่ ถวาย
เฉพาะพระญาณวิสุทธิ์เถร(ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอไตร ภายหลังจากท่านเลื่อนที่จากพระ
ธรรมมุนี เลื่อนที่ขึ้นเป็นพระพรหมมุนีแล้ว จึงทรงยกเลิกตำแหน่ง พระธรรมมุนี
ตำแหน่งพระธรรมมุนีนี้เทียบเท่าพระราชาคณะผู้ใหญ่ตำแหน่งที่ พระพรหมมุนี
เนื่องจากเวลานั้น พระพรหมมุนี (นาค) วัดราชบูรณะ ยังคงดำรงตำแหน่งนี้อยู่
ท่านดำรงตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ปีที่สถาปนา สมเด็จพระญาณ
สังวร (สุก) ต่อมาประมาณเดือนหก จุลศักราช ๑๑๘๕ ตรงกับปีพระพุทธศักราช
๒๓๖๖ ปลายรัชกาลที่๒ ห่างจากการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน)ประมาณ ๕
เดือน พระธรรมอุดม (ไม่ทราบวัด) ได้ถึงแก่มรณภาพลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เลื่อน พระพรหมมุนี (นาค) ขึ้นเป็นพระธรรมอุดม แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เลื่อนพระธรรมมุนี (ชิต) เป็นที่ พระพรหมมุนี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๗ ประมาณปลายปี เริ่มเข้ารัชกาลที่ ๓ พระธรรมมุนี
(ชิต) เลื่อนที่เป็น พระพรหมมุนี เนื่องจากพระพรหมมุนี (นาค) วัดราชบูรณะ เลื่อนที่
เป็น พระธรรมอุดม พระพรหมมุนี (ชิต)ได้รับพระราชทาน นิตยภัต ๕ ตำลึง เป็นเจ้า
คณะใหญ่อรัญวาสี เทียบเท่าตำแหน่งพระพุฒาจารย์เดิม เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์
(เป้า) ไปสถิตวัดธรรมาวาส แขวงกรุงเก่า อันเคยเป็นที่สถิตของ พระอุบาลี สมัยพระ
เจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯโปรดเกล้าฯให้ไปประดิษฐานพระศาสนา
ในลังกาทวีป
ให้พระธรรมมุนีเป็น พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณ สัตตวิสุทธิ จริยาปรินายก
สปิฏกธรา มหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี สถิตในวัดราชสิทธาวาส พระอารามหลวง
ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี มีนิตย์ภัต ๕ ตำลึง มีถานานุศักดิ์ควรตั้ง ถานานุ
กรมได้ ๘ รูป พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูศัพทสุนทร ๑
พระครูอมรโฆสิต ๑ พระครูสมุห์๑ พระครูใบฏีกา ๑ พระครูธรรมรักขิต ๑ รับ พระราชทานพัดสองเล่ม พัดงาสาน เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ๑ พัดทรงแฉกพุ่ม
ข้าวบิณฑ์ ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ๑ เล่ม ทำหน้าที่แทนตำแหน่งสมเด็จพระพุฒา
จารย์ (เป้า) เนื่องจากวัดพลับ เป็นสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่
แทนวัดป่าแก้วสมัยอยุธยา เจ้าอาวาสจึงทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
ในกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดอรัญวาสีไม่มากเหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในสมัยกรุง
ศรีอยุธยา มีวัดอรัญวาสีอยู่ถึง ๑๐ กว่าวัด ตำแหน่งพระพุฒาจารย์ จึงมีวัดอยู่ในบังคับ
บัญชา และจึงคุมคณะอรัญวาสีทั้งหมด แต่กรุงรัตนโกสินทร์มี วัดอรัญวาสีเพียง ๒ วัด
คือวัดพลับ และวัดราชาธิวาส จึงไม่พอตั้งเป็นคณะได้ จึงยกตำแหน่งสมเด็จพระพุฒา
จารย์ ขึ้นเป็นคณะกิตติมศักดิ์เท่านั้น
เมื่อมีกิจนิมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระพรหมมุนี (ชิต) นั่งหน้าสมเด็จ
พระสังฆราช (ด่อน) เพราะมีพรรษายุกาลมากกว่า อีกทั้งยังเป็นพระอาจารย์กรรมฐาน
องค์ที่สอง ของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) กับพระมหาเถร ผู้ใหญ่ ผู้น้อยทั้งปวงในสมัย
นั้น และเป็นพระอาจารย์กรรมฐานองค์ที่สอง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๓ ครั้งทรงผนวชอยู่วัดราชสิทธาราม หนึ่งพรรษา
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ถืออาวุโสทางอายุพรรษาตามพระ
ธรรมวินัย มากกว่าสมณะศักดิ์ จึงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานาน มาจนถึงรัชกาลที่ ๔ จึง
ทรงให้ถืออาวุโส ทางผู้มีสมณะศักดิ์สูงนั่งหน้า พระมหาเถรทั้งปวง ทรงยกเลิกอาวุโส
ทางอายุพรรษา ตั้งแต่นั้นมา
อธิบายคำว่า พรหม หมายความว่า ผู้ประเสริฐ เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม มุนี
หมายความว่า ผู้สละเรือนแล้ว มีจิตใจตั้งมั่น ไม่เกาะเกี่ยว ติดพัน ในลาภ ยศ สุข
สรรเสริญ สงบเย็น ไม่ทะเยอทะยานอยากมีอยากเป็น คำอธิบายนี้เป็นอุปนิสัย ของพระ
พรหมมุนี (ชิต)
ในกรุงรัตนโกสินทร์ มีสร้อยราชทินนามเหมือนกันห้าองค์ ต่างกันตรงคำแรก
นอกนั้นเหมือนกัน
๑. สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดพลับ คำแรกคือ อดิศรสังฆเถรา นอกนั้น
เหมือนกัน
๒. พระพรหมมุนี (ชิต) วัดพลับ คำแรกคือ ศรีวิสุทธิญาณ นอกนั้น
เหมือนกัน
๓. พระพุทธาจารย์ (สนธิ์) วัดสระเกศ คำแรกคือ ญาณวรา นอกนั้น
เหมือนกัน
๔. พระญาณสังวร (ด้วง) วัดพลับ คำแรกคือ สุนทรสังฆเถรา นอกนั้น
เหมือนกัน
๕. พระญาณสังวร (บุญ) วัดพลับ คำแรกคือ สุนทรสังฆเถรา นอกนั้น
เหมือนกัน
ตำแหน่ง พระญาณสังวรเถร (ด้วง) พระญาณสังวรเถร (บุญ) ต่อมาเลื่อนที่ขึ้น
เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ในราชทินนามเดิม ตัดคำว่า เถร ออก นอกนั้นเหมือนกัน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๗ เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก ฉอศก พระธรรมมุนี (ชิต)
พร้อม ถานานุกรมชั้นต้น ๕ รูป พระเทพโมลี (กลิ่น) พร้อมถานานุกรม ๔ รูป เข้ารับ
พระราชทานเทียนพรรษาประจำปี ณ. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ดังนี้

-----------------------------------
๐พระราชาคณะ ๑ (พระพรหมมุนี ชิต )
ถานานุกรม ๕
วัดราชสิทธิ์ เปรียญสามประโยค ๑
อาจารย์วิปัสสนา ๑ รวม ๑๔
คู่สวดนาค-กฐิณ ๒
คู่สวดภาณยักษ์ ๔ ทั้งหมด ๒๒ รูป
๐พระราชาคณะ ๑ (พระเทพโมลี กลิ่น)
ถานานุกรม ๔ รวม ๘
อาจารย์วิปัสสนา ๑
คู่สวดภาณยักษ์ ๒
(จากหมายรับสั่ง รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๑๘๖ เลขที่ ๓๖ สมุดไทยดำ )
-------------------------------------------
ประมาณต้นปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสีโดยตรง
เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์(เป้า) วัดธรรมาวาส กรุงเก่า ได้มรณะภาพลง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ยังมิได้สถาปนาตำแหน่ง (สมเด็จ) พระพุฒา
จารย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งพระทัยไว้ว่า เมื่อ
พระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เป้า)แล้ว จะสถาปนาพระพรหมมุนี (ชิต)
วัดราชสิทธาราม เป็นพระพุฒาจารย์ แต่พระพรหมมุนี (ชิต) ก็มามรณะภาพลงเสียก่อน
ประมาณปีพระพุทธศักราช. ๒๓๖๘ พระพรหมมุนี (ชิต) วัดราชสิทธาราม
มรณะภาพลงนั้น ตำแหน่งพระพรหมมุนี ได้ว่างลงถึง ๖ ปี ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๗๓ จึง
ทรงแต่งตั้งพระญาณวิริยะ (สนธิ์) วัดสระเกศ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระพรหมมุนี
เพราะพระพุฒาจารย์ (สนธิ์)เป็นศิษย์พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จ
พระสังฆราช (ไก่เถื่อน) และเป็นศิษย์พระพรหมมุนี (ชิต) วัดราชสิทธาราม ครั้งนั้นจึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า ยังไม่มีพระเถรองค์ใดเหมาะสมกับ
ตำแหน่งนี้ เพราะตำแหน่งพระพุฒาจารย์ต้องเชี่ยวชาญพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
และเป็นพระคณาจารย์เอกด้วย ครั้งนั้นทางการคณะสงฆ์ก็ยังมีความวุ่นวายอยู่มาก
ตำแหน่งพระพุฒาจารย์จึงว่างลงถึง ๑๗ ปี คือตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ ถึงปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๘๕ ต่อมาถึงปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๖ จึงทรงแต่งตั้ง พระพรหมมุนี
(สนธิ์)วัดสระเกศ ขึ้นดำรงตำแหน่งพระพุฒาจารย์ ญาณวราฯ เพราะพระพุฒาจารย์
(สนธิ์)ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแต่เดิมจากวัดพลับ สมัยพระญาณ
สังวรเถร (สุก) ยังทรงพระชนม์อยู่ และพระพุฒาจารย์(สนธิ์)ก็มีคุณธรรมสูงมากแล้ว
การศึกษาสมัยพระพรหมมุนี(ชิต) ครองวัดราชสิทธาราม
การศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมี พระพรหมมุนี (ชิต) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่าย
วิปัสสนาธุระ พระอาจารย์ผู้ช่วยบอกกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับมี พระญาณโพธิ์เถร
(ขาว) ๑ พระครูกิจจานุวัตร (สี )๑พระครูวินัยธรรมกัน ๑พระญาณสังวรเถร (ด้วง) ๑
พระครูญาณมุนี (สน) ๑ พระครูญาณกิจ (ด้วง) ๑ พระอาจารย์กลิ่น (คนละองค์กับมหา
กลิ่น) ๑ พระอาจารย์คำ ๑ พระครูศีลวิสุทธิ์ (รุ่ง) ๑ พระครูศีลสมาจารย์ (บุญ) ๑ พระ
ปลัดมี ๑ พระปลัดเมฆ ๑ ฯ
การศึกษาด้านพระปริยัติธรรม พระบาลีมูลกัจจายน์มี พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็น
พระอาจารย์ใหญ่ เมื่อพระวินัยรักขิต มรณะภาพลงแล้ว พระเทพโมลี (กลิ่น) เป็นพระ
อาจารย์ใหญ่ มีพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกหนังสือปริยัติธรรมพระบาลีคือ พระปิฏกโกศลเถร
(แก้ว) ๑ พระมหาทัด ๑พระมหาเกิด ๑ และยังมีอีกหลายท่านไม่ปรากฏนาม
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ พระพรหมมุนี (ชิต) ท่านปกครองวัดราช
สิทธาราม (พลับ) อยู่ประมาณ ๒ ปี ๖เดือนเศษ ท่านก็ถึงแก่มรณะภาพลงด้วยโรคชรา
เมื่อสิริรวมอายุได้๘๘ ปี
ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพลงในปีนั้น ท่านได้ออกเดินทางไปที่ถ้ำในป่าแห่งหนึ่ง
ท่านเดินทางไปทางเรือ ไปขึ้นบกเมื่อใกล้เขตป่าใกล้ถ้ำแห่งนั้น เพราะเวลานั้นท่านมีชน
มายุมากแล้วถึง ๘๘ ปี การไปครั้งนั้นท่านไปกับ พระอาจารย์คำ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็น
พระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๖๔ และต่อมาพระพรหมมุนี (ชิต)ได้อาพาธ และถึงแก่มรณะภาพลงที่ถ้ำแห่งนั้นกล่าวว่าท่านให้พระอาจารย์คำ พยุงพาท่านเข้าไปในซอกถ่ำลึกที่ท่านเคยเข้าไป
เข้าฌานสมาบัติแต่ก่อนนั้น เมื่อคราวออกสัญจรจาริกธุดงค์ ก่อนมรณะภาพท่านได้สั่งไว้
กับ พระอาจารย์คำ ว่าไม่ต้องนำเอาสรีระสังขาร กับบริขารของท่านกลับวัดพลับ ให้
เอาไว้ในถ้ำแห่งนี้ จะได้ไม่เป็นภาระยุ่งยากแก่ผู้อื่น ท่านตั้งใจไว้อย่างนี้ เหตุที่ท่านไป
มรณะภาพในป่าก็ด้วยเหตุ ดังนี้…………..
ท่านไม่ต้องการให้สรีระสังขารของท่านเป็นภาระแก่ผู้อื่น เนื่องจากถ้าท่าน
มรณะภาพลงที่วัด ทางคณะศิษยานุศิษย์ฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆราวาส จะต้องเก็บสรีระของท่าน
ไว้บำเพ็ญกุศลนานหลายปี ตามประเพณีนิยมในครั้งนั้น จะเป็นที่วุ่นวาย ทำให้ภายในวัด
ไม่สงบ เสียเวลาการบำเพ็ญเพียรภาวนาของผู้อื่น เนื่องจากท่านเป็นพระมหาเถระที่มี
ชื่อเสียงมีผู้คนเคารพนับถือ ยำเกรงท่านมากในสมัยนั้น รองลงมาจากสมเด็จ
พระสังฆราช ไก่เถื่อน อีกทั้งในเวลานั้น ที่วัดราชสิทธาราม ก็ได้ตั้งบำเพ็ญกุศลศพ อดีต
พระมหาเถรผู้ใหญ่แล้วถึงสองศพคือ พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) พระวินัยรักขิต (ฮั่น) อีก
ประการหนึ่งท่านไม่ต้องการ เข้าโกศ เพราะท่านไม่ต้องการเทียบชั้น ตีเสมอ องค์พระ
อาจารย์ คือสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน นี่เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งของท่าน และของ
พระสมถะทั้งปวงในวัดราชสิทธาราม (พลับ) ครั้งนั้นคณะสงฆ์ในกรุงรัตนโกสินทร์
กำลังวุ่นวาย ท่านจึงหนีความวุ่นวายนี้ด้วย
พระอาจารย์คำ กลับมารายงานทางวัดให้ พระเถรผู้ใหญ่ทราบ ทางวัดก็ได้
รายงานให้ทางราชสำนักทราบ สมัยนั้นพระราชาคณะมรณะภาพลง ต้องกราบบังคมทูล
ลามรณะภาพตามธรรมเนียม เมื่อทางราชสำนักทราบ ก็เตรียมโกศ สำหรับเจ้าคณะใหญ่
อรัญวาสี มาสำหรับใส่สรีระสังขารท่าน มาในครั้งนั้นด้วย แต่มาแล้วก็ต้องเอาโกศนั้น
กลับไป เพราะพระศพของท่านไม่อยู่ที่วัด ท่านได้สั่งไว้กับพระอาจารย์คำ ไว้ในเรื่องนี้
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงทราบฝ่าพระบาท ทรงเสีย
พระราชหฤทัยมาก ต่อมาทางราชการ และคณะสงฆ์ ได้จัดการบำเพ็ญอุทิศส่วนกุศล ๗
วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วันให้กับท่านตามประเพณี ระหว่างบำเพ็ญกุศล พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมา ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายฆราวาส ทุก
คราว สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายคณะสงฆ์ สรีระสังขารของ
ทั้งสององค์ สรีรสังขารของพระพรหมมุนี (ชิต) ซึ่งไม่มีอยู่ แต่ยังเก็บไว้บำเพ็ญกุศลอีก
ขณะบำเพ็ญกุศลอยู่ พระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า) เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดพลับ
เพราะพระเทพโมลี(กลิ่น)ยังอาพาธอยู่ หลังจากพระเทพโมลี (กลิ่น)หายจากอาพาธแล้ว
จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม

พระครูสิทธิสังวร รวบรวม

 

 
 

 

                 พระครูสิทธิสังวร (หลวงพ่อวีระ ศิษย์ไก่เถื่อน )
              
วิทยฐานะ น.ธ.เอก ป.ว.ช
                
วัดราชสิทธาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพ ๑๐๖๐๐

                                                          บรรพชา - อุปสมบท 

                    •   พระอุปัชฌาย์ พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (พระธรรมรัตนวิสุทธิ์)
                •   พระกรรมวาจาจารย์ พระครูไพโรจน์กิจจาทร (วิโรจน์)
                •   พระอนุสาสนาจารย์ พระครูประสิทธิวุธคุณ(พระมหาบุญเชิด สุชิโต)

 

                                     การศึกษาทางโลก

         พ.ศ. ๒๕๑๔ จบการศึกษา ป.ว.ช. พนิชยการราชดำเนิน ธนบุรี

 

                              การศึกษาพระปริยัติธรรม

         พ.ศ. ๒๕๒๘  จบนักธรรมเอก สำนักเรียน วัดราชสิทธาราม

 

                              การศึกษาวิปัสสนากัมมัฎฐาน                                                

 

         พ.ศ.๒๕๒๖ - ๒๕๒๘ ศึกษาพระกัมมัฎฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

                                       ของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)

 

                                          ปริญญากิตติศักดิ์   

           พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์

                            สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยารามคำแหง

 

   เป็นอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาปริญญาเอก (วิชาปรัชญา- กัมมัฏฐานมัชฌิมา)

      ชาวต่างประเทศ มี

          ดร.โอลิวิเยร์ เดอ แบตง  ประเทศฝรังเศส แห่งสมาคมฝรังเศสปลายบูรพาทิศ

         ดร.แคทเธอรีน  นิวส์เวล  ประเทศอังอังกฤษ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน (S.O.A.S)

         นายแพทริท วาง   นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ชาวประเทศสิงคโปร์ 

      เป็นที่ปรึกษา คณะผู้ร่วมวิจัย  เกี่ยวกับหนังสือพระกรรมฐาน (มัชฌิมา แบบลำดับ)  ของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ที่ วัดราชสิทธาราม กับคณะที่ มาจาก มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด แห่งลอนดอน  และให้คำปรึกษา หลังจบปริญญาเอก ประกอบด้วย 

 - ดร. แอนครู สกิวตั้น  ผู้จัดการโ ครงการ  หอสมุดโบเดียน มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส  คณะโบราณคดี และศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยคิงคอลเลท แห่งลอนดอน  เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านการศึกษาศาสนาพุทธ . ภาษาสันสกฤษ ภาษาบาลี และ และตัวอักษรโบราณ 

- ดร.เคท คอสบี้   ที่ปรึกษาโครงการ  คณะศึกษาเอเชียตะวันออก และอัฟริกา  มหาวิทยาลัย ลอนดอน   ดร.เคท คอสบี้   เป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาศาสนาพุทธ  ที่คณะเอเชียตะวันออก และอัฟฟริกาศึกษา  มหาวิทยาลัย ลอนดอน เป็นผู้เชียวชาญการศึกษาศาสนาพุทธ ภาษาสันสกฤษ ภาษาบาลี และตัวอักษรโบราณ โยคะวัชระ (คณะบดี) 

- ดร.พิบูลย์ ชมพูไพศาล ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสื่อภาษาไทย  หอสมุดโบเดียน มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เป็นผู้ติดตาม ศึกษาหลังจบปริญญาเอก แผนกศาสนศึกษา มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคอกคอลเลท (UCC), ไอร์แลน 

  - ดร.กิลเลี่ยน อีวีสัน   เป็นผู้อำนวยการโครงการ และ ผู้อำนวยการเอเชียตะวันออก หอสมุดโบเดียน มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เป็นบรรนาธิการห้องสมุดที่อาวุโสสูงสุค ในแผนกเอเชียศึกษา ใน สหราชอณาจักร  

- โจติกา เคอร์เยิน  ผู้ช่วยโครงการ และผู้ช่วยภาษาฉาน (ไทยใหญ่) หอสมุดโบเดียน  เขาเป็นบรรณรักษ์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ คณะอัฟริกา และเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน กำลังศึกษาปริญญาเอกอยู่ 

- ลอง สลู   ผู้ช่วยโครงการ หอสมุดโบเดียน เป็นผู้เชียวชาญศาสนาพุทธกัมพูชา  

 - ผู้ช่วยชั่วคราวคนอื่นๆประกอบด้วย เดวิด วาตัน และศาสดาจารย์ฮารอล ฮุนเดียส มหาวิทยาลัยพัสซู เยอรมันนี ทั้งสองท่านทำงานอยู่ที่ห้องสมุด แห่งชาติลาว

- ห้องสมุดบ๊อดเลียน มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เชิญพระครูสิทธิสังวรเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการค้นคว้าความลับที่ซ่อนอยู่ (ของคัมภีร์โบราณ )โดยดร.แอนดรู สกิวตั้น ผู้จัดกาโครงการฯ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ประกอบด้วย 

          - ดร.แอนดรู สกิวตั่น       ผู้จัดการโครงการค้นคว้าความลับที่ซ่อนอยู่ (ของคัมภีร์โบราณ) 

          - ดร.พิบูลย์ ชมพูไพศาล ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อภาษาไทย  หอสมุดโบเดียนน มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด 

          - ดร.เคท คอสบี้   ที่ปรึกษาโครงการฯ คณะศึกษาเอเชียตะวันออก และ อัฟริกา  มหาวิทยาลัยลอนดอน 

          - ดร.กิลเลี่ยน อีวีสัน หัวหน้าบรรณารักษ์  หอสมุดโบเดียนมหาวิทยาลัย อ๊อกฟอร์ด

    หน้าที่การงาน

     พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระวินยาธิการ ประจำเขต บางกอกใหญ่

     พ.ศ. ๒๕๔๐ รักษาการเจ้าคณะ ๕ คณะกัมมัฏฐาน

     พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ๕  คณะกัมมัฏฐาน

    พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นกรรมการดูแล สร้างหลังคาพระอุโบสถ

    พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นคณะกรรมการอนุรักษ์และบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม 

  สมณศักดิ์

     พ.ศ. ๒๕๓๔  เป็น พระครูใบฎีกา ถานานุกรม ใน พระราชพิพัฒน์วิริยาภรณ์ เจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม
     พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระครูสังฆรักษ์ ถานานุกรม ใน
พระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม

    พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุร ที่ พระครูสิทธิสังวร

 ผลงานด้านทนุบำรุงพระกัมมัฎฐานมัชฌิมา แบบลำดับ  แบบสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

 

                                 

    ๑. สร้างพระรูปเหมือน หุ่นขี้ผึ้ง สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน 

    ๒. ผดุงฟื้นฟู พระกรรมฐานสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

    ๓. จัดสร้างพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน 

     ๔.สร้างสวนปฏิบัติธรรม สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

     ๕.ทำโครงการคืนป่า และไก่ป่า สู่วัดพลับ

     ๖.จัดตั้งมูลนิธิ สถาบันปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

     ๗.สร้างพระพุทธมัชฌิมามุนี พระประจำกรรมฐานมัชฌิมา

 

 

Pages

Subscribe to RSS - อาจารย์