กรรมฐาน

เนื้อหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐาน

 

การปฏิบัติธรรม วันมาฆบูชา
แนววิชชากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓
ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓
ณ สำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ)
แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

 

 

ตามที่สำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จัดกิจกรรมการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญ เนื่องในวันมาฆบูชา วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือวันจาตุรงคสันนิบาต สืบเนื่องพระพุทธองค์สมณโคดมได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา เป็นพุทธบูชา และบำเพ็ญน้อมถวายเป็นพระกุศลเฉลิมพระเกียรติพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

 

 

สำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) เป็นสำนักการเรียนรู้ฝึกจิตภาวนา เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีงามแห่งสุขภาวะทางปัญญา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 

ตามสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดราชสิทธาราม วรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางสายวิชชาประจำกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสายวิชชาที่สืบสานมาแต่โบราณ นับแต่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (เจ้าประคุณสุก ไก่เถื่อน) บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำรัตนโกสินทร์

 

 

โดย พระสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ผจล. ชอ.วิ.) พระอาจารย์บอกพระกรรมฐาน และคณะธรรมทายาท ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม วรวิหาร (วัดพลับ)

  

******************************************

เนื่องด้วยต้นมาแห่งสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สืบสานมาแต่พระราหุลเถระเจ้า

 

ขออนุญาตอัญเชิญพระอริยประวัติพระองค์ท่านในฐานะผู้ทรงธรรมบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ และปฏิบัติสมบัติ ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระศาสดา และเป็นอริยสาวกเจ้าที่มี เอกทัคคะเลิศทางการใฝ่ศึกษา ทรงสร้างสมพระสาวกบารมีมาหลายอสงไขย แสนมหากัปป นับชาติไม่ถ้วน ซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา
ทรงได้รับพระมหากรุณาพุทธิคุณในการอบรมพระกรรมฐาน จาก พระเถระสารีบุตรในฐานะพระพี่เลี้ยง และจากพระมหาเถระอริยะสาวกเจ้าพระองค์อื่นๆ อาทิ พระปิติ ๕ พระยุคล ๖ พระอานาปานสติ ๙ พระกายคตาสติ ๓๒ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๗ พรหมวิหาร ๔ วิสุทธิ ๗ วิปัสสนาญาณ ๑๐ อรูปญาณ ๔ พระมหาสติปัฏฐาน ๔ พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ พระไตรลักษณ์ ๓ เบญขันธ์และอายตนภายในภายนอกทั้ง ๕ ธาตุ ๔ เป็นต้น
จนกระทั่ง พระองค์บ่มวิมุติแก่กล้า ด้วยอิริยาบถไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอดช่วงปฏิบัติธรรมก่อนเป็นพระอเสขบุคคล ทรงเผยแพร่พระกรรมฐานมัชฌิมา และบรรลพระอรหันตเจ้า พร้อมด้วยมรรค ๔ ผล ๔ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว กาลต่อมาก็มีกุลบุตรที่ได้รับทราบกิตติศัพท์ ได้เข้ามาเป็นสัทธวิหาริก และอันเตวาสิก ศึกษาตามแบบอย่างในสำนักของพระราหุลเถระเจ้าที่ท่านได้ทรงศึกษามา เพื่อสืบทอดการตั้งความปรารถนาและเจตนารมณ์ของพระองค์ท่าน
 
ก่อนที่พระราหุลเถระเจ้าท่านจะเข้าสู่ขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ท่านได้เจริญอิทธิบาทภาวนา อธิษฐานขอจิตนี้กายนี้ ของพระองค์ท่าน แบ่งเป็นสองภาค คือ กายเนื้อเดิม ๑ กับกายทิพย์ใหม่ ๑ เมื่อกายเนื้อแตกดับสู่นิพพาน จึงเหลือแต่กายอธิษฐานทิพย์ คอยดูแลพระบวรพุทธศาสนาไปอีก ๕๐๐ ปี หลังท่านนิพพาน โดยมีพระเถระรุ่นสืบต่อ ๆ กันมา เป็นผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จากนั้น กายทิพย์อันเกิดจากการอธิษฐานจิตก็อันตรธานหายไป จึงกล่าวได้ว่า พระราหุลเถระเจ้าท่าน จะมีกายก็ไม่ใช่ จะไม่มีกายก็ไม่ใช่
การฝึกอบรมพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ 
ผ่านพระอาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน
เบื้องต้น เพื่อปูพื้นฐาน ทำความเข้าใจสายวิชชา

เริ่มต้นจาก การกำหนดฐานใต้สะดือ ๒ นิ้ว

 


 

 

 

 

 

การอบรมกรรมฐานแนวปฏิบัติ จะอยู่ในความดูแลของครูบาอาจารย์ใกล้ชิด
สลับการบรรยายธรรมจาก
พระพี่เลี้ยง
พระพี่เลี้ยง เสมือนผู้คอยรดน้ำพรวนดิน ช่วยปรับสภาพพื้นฐานการตั้งสภาวะจิต เตรียมพร้อมตั้งมั่น อบอุ่นใจ
(บรรดาพระพี่เลี้ยง คือ พระผู้หมั่นฝึกเพียรประสบการณ์ พร้อมเป็น ผู้เอื้อ)

 

 

 

 

ผู้เข้ารับการอบรม จะได้รับการศึกษาสดับพระธรรม จากครูบาอาจารย์

 

 

 

 

 นอกจากการฝึกนั่งกรรมฐานกำหนดจิตภาวนาแล้ว 
จะยังได้ฝึกศึกษาพิจารณาทุกขณะจิต เช่น
การกำหนดสติอิริยาบถยืน และเดินจงกรม
 

 

 

 

 

 

 

 

อานิสงส์ของการ“เดินจงกรม”
(๑) เดินทางบ่มีเจ็บแข้งเจ็บขา
(๒) ทำให้อาหารย่อยได้ดี
(๓) ทำให้เลือดลมเดินสะดวก
(๔) เวลาเดินจงกรมไปๆ มาๆ จิตจะลงเป็นสมาธิได้ สมาธิของผู้นั้นไม่เสื่อม
(๕) เทพยดาถือพานดอกไม้มา สาธุๆ มาอนุโมทนา
 

















 
 
 
 
 
นอกจากการอบรมกรรมฐานภาวนาแล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ร่วมสวดมนต์ทำวัตรเย็น ด้วยอานิสงฆ์แห่งการสาธยายเจริญมนต์ สมบุญกิริยาวัตถุ ๒๐ และกำหนดจิตแผ่เมตตาอัปมัญญาร่วมกัน 


สำนึกในพระคุณครูบาอาจารย์ สมเด้จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ต้นตำหรับพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ขั้นตอนของการปฏิบัติ สายวิชชามัชฌิมากรรมฐาน แบบลำดับ จะรวมทั้งลำดับหมวดสมถะกรรมฐาน และลำดับหมวดวิปัสสนากรรมฐานเข้าไว้ด้วยกัน อย่างต่อเนื่อง

โดยเริ่ม ผู้มีจิตศรัทราในการปฏิบัติพระกรรมฐาน

เมื่อแรกเรียน จิตยังไม่ตั้งมั่น เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย แรกเรียนใหม่ๆ จะต้องได้รับฝึกฝนให้เรียนเอายังพระกรรมฐานที่มีอานุภาพเล็กน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย มีอารมณ์แคบสั้น เป็นอนุสติ เป็นราก เป็นเง้า เป็นเค้า เป็นมูล ของพระกรรมฐานที่จะเปิดบานประตูไปสู่พระกรรมฐานอื่นๆ ได้ง่าย

ผู้ปฏิบัติจะต้องได้รับการฝึกฝนเริ่มจากลำดับสมถะ ( ซึ่งจะประกอบไปด้วยพระกรรมฐาน จำนวน ๓ ห้องพระกรรมฐาน ) เป็นการฝึกฝนตั้งกำลังสมาธิ เป็นพระกรรมฐานอย่างต่อเนื่อง ของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด จนสมาธิเต็มขั้น หรือรูปเทียมของปฐมญาณ เพื่อจะยังอารมณ์ใจเข้าถึงองค์ปิติธรรม ซึ่งแต่ละองค์ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน เพื่อเป็นราก เป็นเค้า เป็นมูล เป็นบาทฐานสมาธิเบื้องสูงต่อ ๆ ไป

 
 
 

 
 

 
 

 

 
 
 
 
 
 
 

















































 


















 


















 

































































 


 


 


 


 


 







 
 

 
 







 




 
หมวดหมู่: 
 พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

เหตุที่เรียกพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกันเพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ (คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง
พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศทาง เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถรเจ้า



 
 

หมวดหมู่: 
 ประวัติพระครูปัญญาวุธคุณ

ประวัติพระครูปัญญาวุธคุณ

p005
พระครูปัญญาวุธคุณ มีนามเดิมว่า สำอางค์ เกิดวันพฤหัสบดี แรม ๑ ค่ำ เดือน
อ้าย ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ บิดาชื่อนายผัน มารดาชื่อ นางปลื้ม สุขมีทรัพย์
อุปสมบทเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๖ เมื่ออายุได้๓๙ปี พระราชวิสุทธิ
ญาณ (อยู่) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูญาณสิทธิ์ (เชื้อ) เป็น
พระกรรมวาจาจารย์ พระญาณรังษี (จวบ) ครั้งเป็นพระครูวิจิตรวิหารวัตร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้วในพรรษาแรก ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระครู
ญาณสิทธิ์ (เชื้อ) องค์พระกรรมวาจาจารย์ และนับเป็นก้าวสำคัญที่ท่านได้ ต่อสืบทอด
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับไว้มิให้ขาด ถ้าขาดท่าน ช่วงนั้น พระกรรมฐานแบบนี้
จะขาดวงศ์ ฉะนั้นช่วงที่ท่านอุปสมบท จึงเป็นช่วงสำคัญ ของพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ ของพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) ต่อมาท่านได้ออกเที่ยวสัญจรจาริกธุดงค์ ไป
ตามสถานที่ต่างๆ ท่านเป็นผู้รักษา บริขาร ต่างๆ ของอดีตพระอาจารย์กรรมฐาน สืบทอด
ต่อมาจากท่านพระครูญาณสิทธิ์ (เชื้อ จันทร์ประณีต)
พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๑๐ สอบ นักธรรม ตรี โท เอก ได้ และเรียนต่อพระบาลี แต่ไม่ได้เข้าสอบ
พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นพระครูใบฎีกา ถานานุกรมชั้นที่ ๓ ของพระสังวรกิจโกศล
(บุญเลิศ) และเป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย
พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นพระครูสมุห์ ถานานุกรมชั้นที่ ๒ ของพระราชสังวรวิสุทธิ์ (บุญเลิศ)
พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นพระครูสังฆรักษ์ ถานานุกรม ของพระราชสังวรวิสุทธิ์ (บุญเลิศ) และเป็นเจ้าคณะ ๕
พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นพระครูวินัยธร ถานานุกรม ของพระเทพศีลวิสุทธิ์ (บุญเลิศ)
และเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระครูสัญญา
บัตรที่ พระครูปัญญาวุธคุณ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เวลา ๒๐.๐๐ น. ท่านมรณะภาพลงด้วย
โรคหัวใจวาย เมื่อสิริรวมอายุได้ ๗๒ ปี ๙ เดือน ๓ วัน พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่
๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๐ และต่อมาคณะศิษยานุศิษย์ได้หล่อรูปเหมือนท่านไว้ ประจำที่กุฏิ
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม อันเป็นที่สถิตเดิมของท่าน

 
 

 ประวัติพระครูญาณสิทธิ์

ประวัติพระครูญาณสิทธิ์
พระครูญาณสิทธิ์ (เชื้อ) มีนามเดิมว่า เชย นามสกุล จันทน์ปราณีต และ
เปลี่ยนเป็น เชื้อ จันทน์ปราณีต ขณะเมื่อเป็นพระถานานุกรม ของพระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม)
พระครูญาณสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๐ ตรงกับ วัน แรม ๑๓
ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน ตำบลเกาะท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี บิดาชื่อนายจัน
มารดาชื่อนางสาด
พ.ศ. ๒๔๔๗ อายุ ๑๗ ปี นายเชย จันทน์ปราณีต เข้ารับราชการทหารกองประจำการ เมื่อ
วันที่ ๘
เมษายน ๒๔๔๗ รับราชการในหน้าที่ลูกแถวพลรบ สักหมายเลข ------- สังกัดกรม
ทหารราบที่ ๑
ทบ ๑๗๑๖๖
กองมหาดเล็กรักษาพระองค์ ปลดเป็นกองหนุนชั้น ๒ ประเภทที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐ รับราชการอยู่ ๓ ปี ปลดออกจากทหารแล้ว มารดาบิดา ให้
อุปสมบท ณ.วัดราชสิทธาราม โดยมีพระภิกษุวัดราชสิทธาราม เป็นพระอำดับทั้งสิ้น
อุปสมบทเมื่อ ๑๐ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ตรงกับวัน ศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ณ.
พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี พระสังวรานุวงศ์เถร
(เอี่ยม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดชุ่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัดถมยา เป็น
พระอนุสาวนาจารย์ สำเร็จยัตติจตุถกรรมวาจา เมื่อเวลา ๑๕.๔๙ น. ได้รับฉายานามทาง
พระพุทธศาสนาว่า ติสสโร
อุปสมบทแล้วในพรรษแรก ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับ
พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) แต่องค์พระอุปัชฌาย์ มอบให้พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)
ครั้งเป็นพระปลัดชุ่ม ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ดูแลอีกทีหนึ่ง อุปสมบทแล้วได้เที่ยว
สัญจรจาริกธุดงค์ ไปกับพระปลัดชุ่ม พระแป๊ะทุกปี เมื่อสิ้นพระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม)
แล้วท่านได้รับสืบทอด ไม้เท้าไผ่ยอดตาล จากพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ต่อมาได้ศึกษา
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อจากพระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ) จนจบขั้น
สุดท้ายของพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ คือ ออกบัวบานพรหมวิหาร
พ.ศ. ๒๔๕๘ พรรษาที่ ๖ เป็นพระสมุห์ ถานานุกรมชั้นที่ ๒ ของพระสังวรานุวงศ์
เถร (ชุ่ม)
พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นพระปลัด ถานานุกรม ของพระปริยัติโกศล (สอน) และเป็น
พระอาจารย์บอกกรรมฐานด้วย
พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระครูปลัด ถานานุกรมชั้นที่ ๑ เสมอชั้นราช ของพระสังวรานุ
วงศ์เถร (สอน)
พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระครู
ญาณสิทธิ์ (จ.ป.ร). ชั้นโท
พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ของวัดราชสิทธาราม ต่อจาก
พระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ) คนทั้งหลายมักเรียกขานนามท่านว่า หลวงตาญาณ
พ.ศ. ๒๕๐๕ รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนาม
เดิมที่ พระครูญาณสิทธิ์ ศิษย์พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของท่านคือพระธรรม
คุณาภรณ์ (เจียร ปภัสสโร) วัดอรุณราชวราราม พระราชศีลาจาร(เกษม) วัดสังข์กระจาย
พระครูปัญญาวุธคุณ (สำอาง) วัดราชสิทธารามฯ
พ.ศ. ๒๕๐๙ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๙ เวลา ๒๓.๐๐ น.
มรณะภาพด้วยโรคหัวใจ
วันอาทิตย์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๐(นับเดือนสากล) พระราชทานเพลิงศพ ณ.วัด
สังข์กระจาย สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฏกษัตริยริยาราม เสด็จเป็นองค์ประธาน
ต่อมาคณะสงฆ์ และศิษยานุศิษย์ได้ทำการหล่อรูปเหมือนท่านไว้ ณ. มุมเจดีย์ด้านหลัง
พระอุโบสถ และรูปเล็กไว้ที่ กุฏิคณะ ๕ ที่สถิตเดิมของท่าน

 
 

 ประวัติพระครูสังวรสมาธิวัตร(แป๊ะ)

 

ประวัติพระครูสังวรสมาธิวัตร(แป๊ะ)
พระครูสังวรสมาธิวัตร มีนามเดิมว่า แป๊ะ สีเนื้อขาว สันฐานสันทัด ตำหนิใฝ่ ที่
ริมฝีปากบนข้างซ้าย อาชีพกสิกรรม บิดาชื่อนายจิ๋ว มารดาชื่อนางฉิม เกิดเมื่อวันศุกร์
แรม ๕ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๔๑๒ ตำบลโตนด กิ่งอำเภอ
คิรีมาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรคนที่ ๓ ใน ๖ คน
บรรพชาอุปสมบท ณ. วัดกงไกรลาศ สุโขทัย วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๒
อายุ ๒๑ ปี พระอธิการบุญ วัดกงไกรลาศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัด
วาลุการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์นวม วัดทุ่งหลวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สำเร็จยัติจตุถกรรมวาจา เมื่อเวลา ๑๙.๑๓ ฯ. ได้ฉายา นามว่า ธัมมสาโร
ย้ายมาอยู่ วัดราชสิทธารามเมื่อ ร.ศ. ๑๑๔ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๘
เนื่องจากท่านรุกขมูลมาจาก เมืองสุโขทัย มาพบกับท่านเจ้าคุณพระสังวรานุวงศ์
เถร (ชุ่ม) ครั้งเป็นพระปลัด พบพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ที่ป่าเมืองนครสวรรค์ เห็น
คุณธรรมอื่นๆของท่าน จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของ
สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) จึงได้ย้ายเข้ามาปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ ณ.วัดราชสิทธาราม กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา
ธุระ ของวัดราชสิทธารามในเวลานั้น
ต่อมาได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อจากท่านเจ้าคุณพระสังวรานุ
วงศ์เถร (ชุ่ม) ได้ออกรุกข์มูลไปกับพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) เป็นประจำทุกปี ท่านได้
ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้มาตลอดระยะ ๒๐ปีก็สมปารถณา ที่ตั้งใจไว้
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอาจารย์ บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน จากท่านเจ้าคุณพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)
เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ (ปีที่พระสังวรานุวงศ์เถรชุ่ม เป็นเจ้าอาวาส) ดังมี
สำเนาปรากฏ ดังนี้
(สำเนา)
วัดราชสิทธาราม
วันที่ ๑๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
ให้พระแป๊ะเป็น พระอาจารย์บอกสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แก่
พระภิกษุ สามเณร ว่าที่ ถานานุกรมชั้นที่ ๑
(พระสังวรานุวงศ์เถร)
พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นพระปลัด ของ พระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม)
---------------------
(สำเนา)
วัดราชสิทธาราม
ให้พระอาจารย์แป๊ะเป็น พระปลัด ถานานุกรมชั้นที่ ๑ เป็นภาระธุระ สั่งสอน
ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ในพระอารามโดยสมควร จง
เจริญสุขสวัสดิ์ ในพระพุทธศาสนา เทอญ
ตั้ง ณ. วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
( พระสังวรานุวงศ์เถร )
อีก ๒๓ ปีต่อมา พระปลัดแป๊ะได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้น
พิเศษที่ พระครูสังวรสมาธิวัตร เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่ออายุได้ ๖๙ พรรษา
และได้รับหน้าที่ เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อจาก
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ผู้คนทั้งหลายใน
สมัยนั้นมักเรียกขานนามท่านว่า ท่านพระครูใหญ่ ต่อมาท่านได้รับสืบทอด ไม้เท้าเถา
อริยะ สำหรับเบิกไพร ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) โดยได้รับมอบจาก พระสังวรานุ
วงศ์เถร (ชุ่ม) ผู้เป็นอาจารย์ ศิษย์สำคัญของท่าน คือ ท่านพระปลัดสุพจน์ คณะ ๓ วัด
สุทัศน์ ต่อมาเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระมงคลเทพโมลี (สุพจน์)
พ.ศ. ๒๕๐๐ วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ มรณะภาพด้วยโรคชรา
สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะตลอด ๗ วัน เมื่ออายุ ๘๘ ปี ๘ เดือน พรรษา ๖๘
พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๑(นับเดือนสากล) ณ. เมรุลอยวัด
ราชสิทธาราม
พระราชทานเพลิงศพแล้ว คณะศิษยานุศิษย์ได้หล่อรูปเหมือนประดิษฐานไว้ที่
มุมเจดีย์หลังพระอุโบสถด้านทิศเหนือ

 
 

 ประวัติพระโยคาภิรัตเถร
00006

ประวัติพระโยคาภิรัตเถร
พระโยคาภิรัติเถระ มีนามเดิมว่า มี ชาวบ้านตลอดขวัญ (นนทบุรี) มีศรัทธา
เลื่อมใสในพระญาณสังวรเถร สุก เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๗ ในรัช
สมัย พระเจ้ากรุงธนบุรี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๑ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ มารดาบิดา ของท่านนำท่านมา
ฝากบรรพชาเป็นสามเณรในสำนัก ของพระวินัยรักขิต (ฮั้น) เพื่อเล่าเรียนอักขระสมัย
ต่อมาได้เล่าเรียนพระกรรมฐานด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๘ บรรพชาอุปสมบท ณ. วัดราชสิทธาราม พระญาณ
สังวร (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็นอนุสาวนาจาย์
อุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระอุปัชฌาย์ และ
พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็น พระญาณวิสุทธิเถร แลกับพระวินัยธรรมกัน ครั้งเป็นพระ
ใบฎีกาด้วย
ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ กับพระวินัยรักขิต (ฮั่น) ออกพรรษาแล้ว
เที่ยวออกสัญจรจาริกรุกขมูลไปตามสถานที่ต่างๆ กับพระภิกษุสงฆ์ วัดราชสิทธาราม หา
ความสงบวิเวกเป็นประจำทุกปี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ในรัชกาลที่๒ เป็นพระปลัด ถานานุกรม ของพระ
รัตนมุนี (กลิ่น) ได้เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานด้วย
ปีพระพุทธศักราช .๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ เป็นพระครูสังวรสมาธิวัตร พระครู
วิปัสสนาธุระ พระคณาจารย์เอก
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๔ วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณโยคาภิรัติเถร เมื่ออายุ
ได้ ๗๗ ปี รับพระราชทานพัดงาสาน ปีเดียวที่ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งพระราชพิธีมหา
สมณุตมาภิเษก เฉลิมพระนามกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
เป็นอาจารย์ใหญ่วิปัสสนาธุระด้วย
การศึกษาสมัย พระโยคาภิรัติเถระ ครองวัดราชสิทธิ์ ด้านวิปัสสนาธุระ พระโย
คาภิรัตเถร เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระครูศีลสมาจารย์ (เมฆ) ๑ ฯ
การศึกษาด้านปริยัติธรรม-บาลีมูลกัจจายน์ พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) เป็นพระ
อาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระอาจารย์มหาเกิด ๑ พระมหาเกด ๑
ปีพระพุทธศักราช.๒๔๐๒ ลาออกจากเจ้าอาวาส เมื่ออายุได้ ๘๕ ปี เพราะชรา
ทุพพลภาพ ท่านมีปกตินิสัยชอบปลีกวิเวก หาความสงบ

เมื่อท่านลาออกจากเจ้าอาวาสแล้ว ท่านได้เปรยว่า ถ้าวัดพลับไม่มีกรรมฐาน จะไม่สงบ

ท่านได้กล่าวไว้เป็นคำกลอนว่า  วัดเอ๋ยวัดพลับ จะย่อยยับเหมือนสับขิง ฝูงสงฆ์จะลงเป็นฝูงลิง ฝูงเณร และเด็ก จะวิ่งเป็นสิงคลี
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๔ มรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี

 
 

 ประวัติพระญาณโกศลเถร (มาก)

00016

ประวัติพระญาณโกศลเถร (มาก)
อดีตพระอาจารย์กรรมฐาน และอดีตรักษาการเจ้าอาวาส
พระญาณโกศลเถร มีนามเดิมว่า มาก เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๙ สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองกรุงศรีอยุธยา ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘
บรรพชาอุปสมบท เมื่ออายุได้ ๓๙ ปีเศษ ณ.พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม เมื่อวันผูกพัทธ
สีมา ท่านอุปสมบทเป็นองค์แรกของพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม พระญาณสังวรเถร
(สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดชิต (พระพรหมมุนี หรือเจ้าคุณหอไตร) เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ พระสมุห์ฮั่น เปรียญ (พระวินัยรักขิต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เหตุที่
ท่านไม่ได้บรรพชาอุปสมบทมาแต่อายุ ๒๐ นั้น เพราะมีเหตุยุ่งยากกับเหตุการบ้านเมือง
ครอบครัวท่านพลัดพรากกระจัดกระจาย
เมื่ออุปสมบทแล้วศึกษาพระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระญาณ
สังวรเถร (สุก) และพระพรหมมุนี ครั้งเป็นพระปลัดชิต ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจ
จายน์ กับพระวินัยรักขิต ครั้งเป็นพระสมุห์ฮั่น ต่อมาได้เที่ยวออกสัญจรจาริกธุดงค์ไป
ตามสถานที่ต่างๆทุกปีมิได้ขาด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ เป็นพระครูพรหมวิหาร พระครูวิปัสสนา ถานานุ
กรมของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) เป็นพระอาจารย์บอกพระ
กรรมฐานในครั้งนั้นด้วย
ปีพระพุทธศักราช .๒๓๖๔ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ทำสังคายนาพระ
กรรมฐาน ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ ประมาณกลางปีเป็นพระราชาคณะ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ที่ พระญาณโกศลเถร พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมัย
เดียวกันกับ พระเทพโมลี (ฉิม) วัดพระเชตุพนฯ ต่อมา ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๕
พระเทพโมลี (ฉิม) ได้รับสถาปนาเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ ย้ายไปครองวัดโมลีโลกฯ
พระญาณโกศลเถร (มาก) เป็นพระราชาคณะได้ไม่ถึงสองเดือน พระเทพโมลี (กลิ่น) ก็
ถึงแก่มรณะภาพลง
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ หลังจากพระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า)มรณะภาพลง
ระหว่างรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามนั้น พระญาณโกศลเถร (มาก) ได้
รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นองค์ต่อมา และท่านก็ถึงแก่มรณะภาพลง ใน
ระหว่างรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๐ ปีเศษ พรรษา ๔๑
ครั้งนั้นที่วัดราชสิทธารามนี้ ได้ตั้งบำเพ็ญมหากุศลสรีระสังขาร ของอดีตพระ
มหาเถรผู้ใหญ่ ของวัดราชสิทธารามนี้ถึงเจ็ดพระองค์ พระมหาเถรทั้งเจ็ดพระองค์นี้ ต่าง
เป็นผู้มีชื่อเสียงผู้คนทั้งหลายนิยม เคารพนับถือมาก หลังจากพระญาณโกศลเถร (มาก)
สิ้นแล้ว ทางคณะสงฆ์วัดราชสิทธารามเก็บสรีระสังขารของอดีตมหาเถรทั้งเจ็ดท่านไว้
อีกประมาณสามปี
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๑ จึงพระราชทานเพลิงศพพร้อมกันทั้งเจ็ด
องค์ เมื่อถึงคราวออกเมรุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานโกศ
หนึ่งองค์ สำหรับพระพรหมมุนีชิต ตามตำแหน่ง และทรงอุทิศพระราชทานให้ทั้งหก
ท่านด้วย ในพระโกศใบเดียวกันนี้ โดยนำพระโกศตั้งหน้าหีบทองทึบทั้งเจ็ด เป็น
เกียรติยศสำหรับพระมหาเถรทั้งเจ็ดท่าน ทรงพระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง
ทางคณะสงฆ์มี สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ การ
พระราชทานเพลิงศพครั้งนั้น กล่าวว่า มีผู้คนมาร่วมในงานพระราชทานเพลิงสรีรสังขาร
พระมหาเถรทั้งเจ็ด ตั้งแต่เย็นจดเที่ยงคืน จึงหมด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงสถาปนาพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุพระอัฏฐิธาตุ และพระ
อังคาร ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ส่วนที่คณะสงฆ์เก็บไว้ที่วัดราชสิทธาราม
พร้อมกันนั้นก็ได้บรรจุอัฏฐิธาตุ และอังคาร ของพระมหาสงฆเถระทั้งเจ็ดองค์ ไว้ใน
พระเจดีย์องค์เดียวกันนี้ในครั้งนั้นด้วย พระเจดีย์องค์นี้ทรงสถาปนาไว้ทางด้านหน้าพระ
อุโบสถข้างทิศไต้ พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำการบูรณะวัดราช
สิทธารามเป็นการใหญ่ในปีนั้นด้วย ทำการฉลองในปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๔
ปรากฏ ในหนังสือประชุมพงศาวดารประกาศ รัชกาลที่ ๔ ภาค ๒๕ ปีพระ
พุทธศักราช ๒๔๖๕ หน้า ๗๒ ตอนหนึ่งว่า
“พระสถูปเจดีย์ทั้งคู่มี พระอัคฆิยเจดีย์ ๔ ทิศเป็นบริวาร ที่หน้าพระอุโบสถวัด
ราชสิทธาราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระบรมเชษฐาธิราช
ทรงสถาปนาไว้ในหมู่ข้างใต้แต่ก่อน ครั้งนี้มีพระราชศรัทธา (หมายถึงรัชกาลที่ ๔) ทรง
อุตสาหะปฏิสังขรณ์ ให้วัฒนาถาวรดีกว่าเก่า “
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงสถาปนาเป็นพระเจดีย์แบบลังกาทรงเครื่อง มีสังวาลย์พาดห้อยประกอบด้วย
ลวดลาย ปิดทองประดับกระจก คลอบพระเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสององค์เดิม มีเจดีย์ย่อ
มุมไม้สิบสองขนาดเล็ก ๔ ทิศ ๔ มุมเป็นบริวาร อันเป็นของพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าพระ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่ทรงสถาปนาไว้หน้าพระอุโบสถ ข้างทิศใต้มาแต่ก่อน และ
พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงสถาปนาพระเจดีย์แบบลังกาทรงเครื่องอย่างเดียวกันไว้ ทางหน้า
พระอุโบสถข้างทิศเหนือ แล้วพระราชทานนามพระเจดีย์ของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
เจ้าอยู่หัวว่า พระสิราศนเจดีย์ และพระราชทานขนานพระนามพระสถูปเจดีย์ ด้วยการ
สถาปนาไว้ด้วยพระองค์เองว่า พระสิรจุมภฏเจดีย์

 
 

 ประวัติพระญาณวิสุทธิ์เถร (เจ้า)

00015 ประวัติพระญาณวิสุทธิ์เถร (เจ้า)
อดีตพระอาจารย์กรรมฐาน และอดีตรักษาการเจ้าอาวาสสองสมัย
พระญาณวิสุทธิ์ (เจ้า) ท่านเกิดประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๒ ในรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บรรพชา-อุปสมบทประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๐๓ รัชสมัย
พระเจ้าเอกทัศน์ ณ วัดโรงช้าง พระญาณรักขิต(สี) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์สุก
เป็นพระพี่เลี้ยง
ต่อมาพระอาจารย์สุก ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาส วัดท่าหอย สมัยอยุธยา พระญาณ
วิสุทธิ์ (เจ้า) ครั้งเป็นภิกษุเจ้า ได้ย้ายตาม พระอาจารย์สุก ไปอยู่วัดท่าหอยด้วย
เมื่อกรุงศรีอยุธยา ใกล้ล้มสลาย พระอาจารย์เจ้า ได้นมัสการกราบลาพระอาจารย์
สุก ออกจากวัดท่าหอยหลบภัยพม่า ล่องลงมาอยู่ในป่า ทางทิศตะวันออก ของกรุงศรีอยุธยา
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๑ สมัยกรุงธนบุรี พระอาจารย์เจ้า ท่านได้จาริก
ออกมาจากป่าทางตะวันออก มาถึงวัดท่าหอย เนื่องจากทราบข่าวว่า พระอาจารย์สุก ซึ่ง
เป็นทั้งพระพี่เลี้ยง และพระอาจารย์ของท่าน กลับมาวัดท่าหอยแล้ว พระอาจารย์เจ้า
ท่านมีพระอุปัชฌาย์ และอาจารย์เดียวกันกับพระอาจารย์สุก พระอุปัชฌาย์ ได้มอบให้
พระอาจารย์สุก เป็นพระพี่เลี้ยง คอยดูแลอบรม พระอาจารย์เจ้า ในครั้งนั้น
เมื่อพระอาจารย์เจ้ามาอยู่วัดท่าหอย ยุคธนบุรีครั้งนั้น พระอาจารย์สุก ได้
ประทานไม้เท้าเบิกไพร เถาอริยะ ซึ่งพระองค์ท่านได้มาจากถ้ำในป่าลึกแห่งหนึ่ง แขวง
เมืองสุรินทร์ อันเป็นของบูรพาจารย์แต่ก่อนเก่า ซึ่งท่านมาละทิ้งสังขาร และทิ้งไม้เท้าเถา
อริยะไว้ในถ้ำแห่งนั้น
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗ พระอาจารย์เจ้าทราบข่าวว่า พระอาจารย์สุก
มาสถิตวัดพลับ กรุงเทพฯ ท่านจึงเดินทางมาวัดพลับ เมื่อเห็นความสงบร่มเย็นของวัด
พลับแล้ว ท่านชอบใจมาก
ต่อมาพระญาณสังวรเถร (สุก) ทรงแต่งตั้งพระอาจารย์เจ้า เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย
บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แก่พระภิกษุสามเณร ที่วัดราชสิทธาราม
พระอาจารย์เจ้า ท่านเป็น พระติดป่า หมายถึงชอบอยู่ป่าเป็นวัตร ท่านชอบความ
สงบ วิเวกของป่า ท่านไม่ชอบความสับสนวุ่นวายของผู้คน ท่านได้รับมอบไม้เท้าเบิก
ไพร อันหนึ่งจากพระอาจารย์สุก เรียกว่า ไม้เท้าเถาอริยะ ซึ่งเป็นของเก่าแก่ของบูรพาจารย์
ความเป็นมาของ ไม้เท้าเถาอริยะ
ไม้เถาอริยะ เป็นไม้เถาชนิดหนึ่งที่ขึ้นขนานเกี่ยวพันไปกับต้นไม้ใหญ่ ตรงปลาย
พันเกี่ยวกับกิ่งไม้ใหญ่ จะเป็นไม้เถาพันธ์อะไรก็ได้ ต่อมาเถาไม้ ที่เกี่ยวพันอยู่กับต้นไม้
ใหญ่นี้ ถูกฟ้าผ่าลงบ่อยครั้ง เนื่องจากเถาวัลย์ไม้นี้เกี่ยวพันอยู่กับต้นไม้ที่สูงที่สุดในป่า
และกาลต่อมาเถาไม้ที่พันเกี่ยวอยู่กับต้นไม้ใหญ่ตายลง รุกขเทวดาประจำเถาวัลย์ มีจิต
ศรัทธาต้องการที่จะช่วยทนุบำรุง ค้ำจุนพระพุทธศาสนา ครั้นเห็นพระธุดงค์ผ่านมาทาง
นั้น เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นอริยะบุคคลขั้นต้นแล้ว หรือต่อไปภายหน้าจะได้เป็นอริยบุคคล
รุกขเทวดาประจำเถาวัลย์ มีความศรัทธาจะไปกับพระธุดงค์นั้น เพื่อสร้างสมบุญ
กุศล จึงเข้าไปบอกพระธุดงค์ทางสมาธินิมิตขณะที่พระธุดงค์กำลังเจริญภาวนาพระ
กรรมฐานอยู่ รุกขเทวดาประจำเถาวัลย์ จะบอกให้พระธุดงค์ไปตัดเอาไม้เถาวัลย์นี้มาทำ
ไม้เท้าเบิกไพร และเนื่องจากไม้เถาวัลย์นี้ตายแล้วเทวดาประจำเถาวัลย์ไม่สามารถสิง
สถิตอยู่ได้ ดังนั้นรุกขเทวดานั้นจะนำทางพระธุดงค์ไปตัดเถาไม้นั้น เมื่อพระธุดงค์ตัดไม้
เถาวัลย์นั้นมาทำเป็นไม้เท้าเบิกไพรแล้ว ไม้เถาวัลย์นี้ตัดได้ ไม่ผิดพระวินัยเพราะเป็นไม้
เถาวัลย์ที่ตายแล้ว เนื่องจากถูกฟ้าผ่า ไม่เป็นการพรากของเขียว มอด ปลวกจะไม่กัดกิน
อยู่ได้นานไม่ผุพังง่าย เพราะถูกลนไฟจากฟ้าผ่า และด้วยอำนาจแห่งการแผ่เมตตาของ
พระสงฆ์ เมื่อตัดมาแล้ว รุกขเทวดาประจำไม้เถาวัลย์ก็เข้ามาสิงสถิตอยู่ณ.ไม้เถาวัลย์นี้
ติดตามพระสงฆ์อริย์บุคคลไปทั่ว ด้วยอำนาจแห่งรุกขเทวดา ด้วยอำนาจแห่งคุณของอริย
สงฆ์ที่แผ่เมตตา ไม้เท้านี้จึงมีอำนาจพิเศษป้องกันภัยต่างๆได้ ไม้เท้านี้เมื่อมาอยู่ในมือ
ของพระธุดงค์ ผู้เป็นอริยะสงฆ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นไม้เถาวัลย์พันธุ์อะไรก็จะเรียกว่า ไม้เท้า
เถาอริยะ ทั้งสิ้น ที่วัดพลับมีพระสมถะอริยะสงฆ์ได้ไม้เท้าเถาอริยะหลายท่านเช่น
พระเทพโมลี (กลิ่น) พระปิฏกโกศลเถร (แก้ว) พระญาณโกศลเถร(มาก) พระญาณโกศล
เถร (รุ่ง)ฯ อีกหลายท่านที่ไม่ปรากฏนาม กล่าวว่า หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็มีไม้เท้าเถาอริยะนี้เช่นกัน เพราะเป็นพระอริยบุคคล
รุกขเทวดา เมื่อมาสิงสถิตในไม้เท้าเถาอริยะแล้ว เทวดาก็จะสมาทานศีลอันหมด
จด ประพฤติธรรมให้สุจริต ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำของรุกขเทวดานั้น รุกขเทวดา
จะมีความสุขตลอดกาล อายุของรุกขเทวดานั้นก็จะเจริญ เพราะได้รักษาศีล ประพฤติ
ธรรมอันสุจริตนั้น
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ พระอาจารย์เจ้าเป็น พระครูญาณวิสุทธิ พระครู
วิปัสสนา ถานานุกรมของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน (สุก)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เข้าร่วมเป็นคณะคณะกรรมการ ทำสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะฝ่าย
วิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิสุทธิ์เถร พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ รับ
พระราชทานพัดงาสาน แทนตำแหน่งพระญาณวิสุทธิเถร (ชิต) ที่ได้รับพระราชทาน
เลื่อนที่เป็น พระธรรมมุนี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม สมัยท่านเจ้า
คุณหอไตรมรณะภาพ ซึ่งขณะนั้นพระเทพโมลี (กลิ่น) ยังอาพาธอยู่ พระญาณวิสุทธิเถร
(เจ้า)ไม่รับเป็นเจ้าอาวาส เพราะท่านเป็น พระติดป่า
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นครั้งที่
สอง สมัยพระเทพโมลี(กลิ่น) มรณะภาพ พระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า)มรณะภาพลงระหว่าง
รักษาการเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม (พลับ)ครั้งหลังนี้ เมื่อสิริรวมอายุได้ประมาณ ๘๗
ปี ท่านเป็นอีกองค์หนึ่งที่มีผู้คนนิยมเคารพนับถือมาก ในสมัยนั้น

 
 

 ประวัติพระครูวินัยธรรมกัน
00014

ประวัติพระครูวินัยธรรมกัน
พระครูวินัยธรรม หรือพระอาจารย์กัน ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๗ กรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายจีน พระอาจารย์สุก
พบพระอาจารย์กัน ณ วัดสิงห์ แขวงกรุงเก่า ท่านนุ่งขาว ห่มขาว(เฉพาะวันธรรมสวนะ)
ถือศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดแห่งนั้น
พระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นว่าต่อไปภายหน้า อุบาสกกันจะได้
สำเร็จมรรคผลในพระพุทธศาสนา ต่อมาประมาณสามเดือนเศษ อุบาสกกัน ท่านก็มาขอ
บรรพชา-อุปสมบท กับพระอาจารย์สุก เพราะเลื่อมใสในเมตตาธรรมของ พระอาจารย์
สุก ซึ่งเวลานั้นครอบครัวของอุบาสกกัน ยังพลัดพรากกระจัดกระจาย ไปคนละทิศละ
ทาง ไม่พบพานเลยสักคน
ท่านบรรพชา-อุปสมบท ณ พัทธ์เสมา วัดท่าหอย มีพระอาจารย์สุก เป็นพระ
อุปัชฌาย์ พระอาจารย์ศุก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สี เป็นพระ
อนุศาสนาจารย์
อุปสมบทแล้ว ในพรรษานั้นท่านศึกษาเล่าเรียนกรรมฐานมัชฌิมา กับพระ
อาจารย์สุก องค์พระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาอยู่นานประมาณ แปดเดือนจึงจบสมถะ-
วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ กลางวันท่านเล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์สุก
กลางคืน ท่านบำเพ็ญเพียรสมณะธรรม
ต่อมาไม่นานเมื่อท่านศึกษาพระกรรมฐานจบแล้ว ท่านก็ได้บรรลุมรรคผล
ตามลำดับ ได้อานาคามีมรรค อานาคามีผล ได้มรรคสาม ผลสาม อภิญญาหก เป็นกำลัง
สำคัญให้กับพระอาจารย์สุก และพระพุทธศาสนา
ต่อมาพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านได้มอบไม้เท้าไผ่ยอดตาล ของท่าน
บูรพาจารย์แต่ก่อนเก่า ที่พระองค์ท่านได้มาจากถ้ำในป่าลึก แขวงเมืองกำแพงเพชร
พระองค์ท่านทรงเห็นว่า ไม้เท้าไผ่ยอดตาลอันนี้ เหมาะสมกับพระอาจารย์กัน พระองค์
ท่านจึงประทานให้กับพระอาจารย์กัน ไว้ใช้เบิกไพร แผ่เมตตาตา เวลาออกสัญจรจาริก
ธุดงค์
ต่อมาเมื่อท่านออกจาริกธุดงค์ ท่านได้พบปรอทกรอ ท่านได้มาทำเป็นปรอท
กายสิทธิ์ ประจุไว้ที่หัวไม้เท้าไผ่ยอดตาล ซึ่งน้อยองค์นักที่จะทำปรอทกายสิทธิ์ ให้
สำเร็จได้ ต้องเป็นคนที่มีบุญวาสนาบารมีมาทางนี้ ไม้เท้าไผ่ยอดตาลที่พระอาจารย์สุก
ทรงประทานให้พระอาจารย์กันนี้ ตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ในวัดราชสิทธาราม
ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๑๔๕
ตรงกับปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตาม พระอาจารย์สุก มา
กรุงเทพฯ ปีนั้นเองท่านได้รับแต่งตั้ง เป็นพระใบฎีกา ถานานุกรม ของพระญาณสังวร
เถร (สุก) รับหน้าที่ดูแลเสนาสนะ ความเรียบร้อยของภิกษุสามเณร ภายในวัด และรับ
หน้าที่เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐาน ของพระปลัดชิต และพระอาจารย์
ผู้ช่วยบอกหนังสือ ของพระสมุห์ฮั่น เปรียญด้วย ในระยะแรกๆนั้นท่านได้ช่วยพระ
อาจารย์ทั้งสองจารหนังสือเอาไว้สำหรับใช้สอนพระภิกษุ ภายในวัด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระใบฏีกากัน ได้เลื่อนเป็นถานานุกรมที่ พระครู
ใบกีกากัน ถานานุกรม ของ พระญาณสังวร (สุก)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ พระครูใบฏีกากัน ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูวินัย
ธรรม ถานานุกรม ของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เนื่องจากอัธยาศัยใจจริงของท่าน
เป็นผู้ไม่ติดในลาภยศ ในเกียรติยศ ท่านรับเป็นถานานุกรม เพราะมีความเคารพในพระ
อาจารย์อย่างสูง ท่านมีดำริในใจว่า ต่อไปจะไม่ขอรับเป็นสมณะศักดิ์อันใดขึ้นไปอีก
สมเด็จญาณสังวร ทรงทราบความดำริของท่าน ถึงความตั้งใจจริงของท่าน เพราะ
ศิษย์กับอาจารย์ย่อมทราบอัธยาศัยกันดี เหตุเพราะบรรลุคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา
ด้วยกัน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๒ เข้าร่วมทำพิธีอาพาธพินาศ ทำน้ำพระพุทธมนต์รัตน
สูตร ปราบหอิวาตกโลก ห่าลงเมืองในรัชกาลที่๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ ร่วมเป็นพระอาจารย์เข้าคุมการทำสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในปลายรัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ร่วมเป็นคณะกรรมการหล่อพระรูปสมเด็จ
พระสังฆราช ไก่เถื่อน และเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ของพระพรหมมุนี (ชิต)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ เป็นพระอาจารย์ใหญ่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ องค์ที่สามของสำนักวัดราชสิทธาราม สมัยพระเทพโมลี (กลิ่น) ครองวัดราช
สิทธาราม ปีนั้นเองพระครูวินัยธรรมกัน ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็น พระ
คณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีพระอาจารย์คำ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกพระ
กรรมฐานฯ
พระพุทธศักราช ๒๓๖๙ ประมาณปลายปี ท่านอาพาธ และมรณะภาพลงด้วยโรค
ชรา เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี พระครูวินัยธรรมกัน ท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่ง
ดัง ผู้คนเคารพนับถือยำเกรงท่านมากในสมัยนั้น ท่านเป็นสัทธิวิหาริก และพระสงฆ์
อนุจรติดตาม สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และเป็นพระอาจารย์ ของพระเทพโมลี(กลิ่น)
ครั้งนั้นยังมิได้พระราชทานเพลิงศพพระครูวินัยธรรมกัน พระเทพโมลี (กลิ่น)
เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ก็มาถึงแก่มรณะภาพลงอีก ครั้งนั้นพระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า)
ได้เป็นรักษาการเจ้าอาวาส รักษาการไม่กี่เดือนก็ได้ถึงมรณะภาพลงอีกองค์หนึ่ง ใน
ระหว่างรักษาการนั้น
ต่อมาพระญาณโกศลเถร (มาก) ได้เป็นรักษาการต่อมาจาก พระญาณวิสุทธิเถร
(เจ้า) และท่านก็ได้ถึงแก่มรณะภาพลงอีก ในระหว่างรักษาการเจ้าอาวาสนั้น เวลานั้น
ทางวัดราชสิทธาราม มีการตั้งบำเพ็ญกุศลสรีระสังขาร ของอดีตพระมหาเถรผู้ใหญ่ ฝ่าย
วิปัสสนาธุระเจ็ดองค์

 
 

 ประวัติพระวินัยรักขิต (ฮั่น)
00013

ประวัติพระวินัยรักขิต (ฮั่น)
พระวินัยรักขิต มีนามเดิมว่า ฮั่น เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๔
แขวงกรุงเก่า สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ท่านมีเชื้อสายจีน พระอาจารย์สุก มาพบท่าน
ถือศีลนุ่งขาว ห่มขาวอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ในแขวงกรุงเก่า ท่านศึกษาธรรมปฏิบัติอยู่ระยะ
หนึ่ง จึงมาขอบรรพชา-อุปสมบทกับพระอาจารย์สุก เหตุที่ท่านไม่ได้อุปสมบทมาแต่
อายุ ๒๐–๒๑ นั้นเพราะ ครอบของท่านยังมีเหตุยุ่งยากอยู่ จึงยังไม่ได้ทำการอุปสมบทใน
เวลานั้น ต่อมาท่านได้ บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดท่าหอย โดยมีพระอาจารย์สุก เป็นพระ
อุปัชฌาย์ พระอาจารย์สี พระอาจารย์ศุก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระ อนุศาสนาจารย์
อุปสมบทแล้ว ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา กับพระอาจารย์สุก ภายในระยะเวลา
๖ เดือนเศษท่านก็สามารถศึกษาจบทั้งสมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ เวลากลางคืน
ท่านบำเพ็ญกรรมฐาน กลางวันท่านศึกษาเล่าเรียนพระบาลีคัมภีร์มูลกัจจายน์ หรือคัมภีร์
พระบาลีใหญ่ กับพระอาจารย์สุก เมื่อท่านศึกษาเบื้องต้นพระบาลีมูลกัจจายน์จบที่วัดท่า
หอยแล้ว ต่อมาพระอาจารย์สุก จึงฝากท่าน ให้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนพระบาลีมูลกัจจายน์
ชั้นสูง ต่อที่กรุงธนบุรี กับพระศรีสมโพธิ์ (ศุก) ณ วัดสลัก (มหาธาตุ) ต่อมาท่านสามารถ
สอบผ่านคณะกรรมการสามกองได้ ท่านจึงได้เป็นเปรียญ ท่านเป็นเปรียญแล้ว จึง
เดินทางกลับวัดท่าหอย ช่วยพระอาจารย์สุก เผยแผ่พระศาสนาต่อไป
สมัยที่ท่านจบสมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับแล้ว ไม่นานท่านก็ได้บรรลุ
ธรรมตามลำดับจนถึง อนาคามีมรรค อนาคามีผล ได้มรรค๓ ผล๓ อภิญญาหก เป็นพระ
อริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เป็นกำลังให้พระอาจารย์สุก ทั้งในด้านวิปัสสนาธุระ และคันถะธุระ
ต่อมาพระอาจารย์สุก ได้ประทานไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล อันเป็นของ
บูรพาจารย์สืบทอดกันต่อๆมา พระอาจารย์สุก พระองค์ท่านได้มาจาก ถ้ำในป่าลึก ดง
พญาเย็น แขวงอุตรดิตถ์ พระองค์ท่าน ทรงประทานให้พระอาจารย์ฮั้น เอาไว้ใช้เบิกไพร
แผ่เมตตา เวลาออกสัญจรจาริกธุดงค์ ไปตามป่าเขา
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช
๑๑๔๕ ปีเถาะ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตาม พระอาจารย์สุก มา
กรุงเทพฯ สถิตวัดพลับ กาลต่อมาได้เป็น พระสมุห์ ถานานุกรมทรงเครื่อง ของพระญาณ
สังวรเถร (สุก) ทำหน้าที่บอกหนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับด้วย
ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายคันถะธุระ บอกพระปริยัติธรรมบาลี พระองค์แรก
ของวัดราชสิทธาราม(พลับ) ท่านเป็นพระอาจารย์ บอกพระบาลีมูลกัจจายน์เบื้องต้น
ของพระเทพโมลี (กลิ่น)ด้วย
สมัยแรกที่ ท่านสถิตวัดพลับนั้น หนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ไม่พอให้พระภิกษุ
ศึกษากัน พระญาณสังวรเถร (สุก) พระปลัดชิต พระสมุห์ฮั่น เปรียญ ต้องช่วยกันจาร
หนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ กัณฑ์ต้นๆเป็นหลายผูก ซึ่งสมัยนั้นต้องไปขอยืม พระ
คัมภีร์มูลกัจจายน์ จากพระสังฆราช (สี) วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆัง) และจากพระพนรัต
(สุก) สำนักวัดสลัก (วัดมหาธาตุ) มาช่วยกันจารคัดลอกขึ้นเป็นหลายฉบับ จารเอาไว้
สำหรับให้พระภิกษุได้ใช้ศึกษากัน ที่วัดพลับ
การจารครั้งนั้นของพระสมุห์ฮั่น เปรียญ เป็นการจารเพื่อทบทวนบทเรียนพระ
บาลีไปด้วยในตัว แต่การศึกษาพระบาลีขั้นสูง ทางสำนักวัดพลับ จะส่งพระภิกษุสงฆ์ไป
ศึกษาต่อที่ สำนักพระสังฆราช วัดบางหว้าใหญ่บ้าง สำนักพระพนรัต (ศุก) วัดสลักบ้าง
(วัดมหาธาตุ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำนักเรียนพระบาลีสำนักใหญ่ สมัยต้นรัตนโกสินทร์
พระพุทธศักราช ๒๓๒๗–๒๓๒๘ พระสมุห์ฮั่น ได้เลื่อนเป็นถานานุกรมที่ พระ
ครูสมุห์ฮั่น และได้เข้าร่วมผูกพัทธสีมา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และช่วยพระญาณ
สังวรเถรพิมพ์พระอรหัง ด้วยจำนวนหนึ่ง
พระพุทธศักราช ๒๓๓๑ ในรัชกาลที่๑ พระครูสมุห์ฮั่น เปรียญ ถานานุกรม
ทรงเครื่อง เข้าร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ ทรงพระปริยัติธรรม องค์หนึ่งใน ๒๑๘ รูป ทำ
สังคายนาพระไตรปิฎก
พระพุทธศักราช ๒๓๓๗ พระครูสมุห์ฮั่น เปรียญ ได้รับพระราชทานสมณะ
ศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระวินัยรักขิต หรือ ตำแหน่งพระอุบาลี เดิม พระครูสมุห์ฮั่น
เปรียญเป็น พระวินัยรักขิต องค์ที่สองของกรุง รัตนโกสินทร์ ต่อจากพระวินัยรักขิต
(มี) วัดราชบูรณะ
พระพุทธศักราช ๒๓๔๙ ได้เข้าร่วมเป็นคณะสงฆ์ ๒๘ รูป ถวายสัจจะสาบาน
ถวายพระพร ยกเจ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวร สถานมงคล
(รัชกาลที่ ๒)
พระพุทธศักราช ๒๓๖๒ ประมาณปลายปี เป็นกำลังสำคัญในการสวดพระปริต
รัตนสูตร ปราบอหิวาตกโรค หรือโรคห่าลงเมืองในรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เป็นคณะกรรมการเข้าร่วมทำการสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๕ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฝ่ายสงฆ์ หล่อพระรูป
สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ณ. วัดราชสิทธาราม
พระพุทธศักราช ๒๓๖๗ อาพาธ และมรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อสิริรวมอายุ
ท่านได้ ๘๓ ปีเศษ ทางคณะสงฆ์วัดพลับ เก็บพระสรีระสังขารของท่านบำเพ็ญกุศลไว้
สองปีเศษ

 
 

 ประวัติพระญาณโพธิ์เถร (ขาว)
00017

ประวัติพระญาณโพธิ์เถร (ขาว)
พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) หรือพระอาจารย์ขาว ท่านเกิด ประมาณปีพระ
พุทธศักราช ๒๒๘๐–๒๒๘๑ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ท่าน
บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดน้อย ซึ่งเป็นวัดป่า แขวงกรุงศรีอยุธยา ท่านศึกษาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระอุปัชฌาย์ของท่าน อยู่ที่วัดน้อย
ต่อมาท่านได้ออกสัญจรจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ และพบกับพระอาจารย์สุก ที่
ป่าแขวงเมืองสิงหบุรี ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีอยู่
ต่อมาพระอาจารย์ขาว เกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระอาจารย์สุก ท่านจึง
มาขอ ศึกษาวิชาพระกรรมฐานเพิ่มเติม จากพระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ได้ถ่ายทอด
วิชาสยบจิต และวิชาฌานโลกุตระ ให้กับพระอาจารย์ขาว
ครั้นเมื่อท่านทราบว่า พระอาจารย์สุก มาสถิตวัดท่าหอย แขวงกรุงเก่า ในสมัย
ธนบุรีนี้ ท่านจึงตามมาขอศึกษาวิชาการต่างๆเพิ่มเติมจากพระองค์ท่านอีก และบางครั้ง
ท่านก็ได้ช่วยพระอาจารย์สุก ปั้นบาตรดิน เผาขึ้นใช้เอง เนื่องจากบาตรดิน บริขารเดิม
ของพระอาจารย์สุก เกิดชำรุด เสียหาย
ต่อมาเมื่อมีกุลบุตร เข้ามาบรรพชา-อุปสมบท ณ วัดท่าหอยมากขึ้น บริขาร
บางอย่างไม่พอใช้ เช่น บาตร เป็นต้น สหายธรรมที่จาริกมาในครั้งนั้น ก็ได้ช่วยพระ
อาจารย์สุก พระอาจารย์ของตน ปั้นบาตรดิน เผาขึ้นไว้ใช้สำหรับ บรรพชาอุปสมบท
เนื่องจากอยู่ในยุคสร้างบ้านแปลงเมือง ข้าวของบริขารบางอย่างหายาก
ต่อมามีกุลบุตรเข้ามาบรรพชา-อุปสมบท พระอาจารย์ขาว และเพื่อนสหธรรมิก
คือพระอาจารย์เที่ยง พระอาจารย์สี พระอาจารย์ศุก ทั้ง ๔ องค์ ท่านก็เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ และพระอนุศาสนาจารย์ และเพื่อนสหายธรรมอื่นๆ ที่มาในครั้งนั้น ก็
ช่วยลงนั่งเป็นพระลำดับด้วย บางครั้งพระลำดับ ไม่ครบสงฆ์ปัญจวรรค ต้องไป
อาราธนานิมนต์ พระสงฆ์ตามป่า ตามเขามา
ครั้งแรกวัดท่าหอย ยุคต้นธนบุรี ยังไม่มีพัทธเสมา ทำสังฆกรรมอุปสมบท ต้อง
สวดสมมุติเสมาขึ้นมา พระอาจารย์ขาว เมื่อท่านมาสถิตวัดท่าหอยแล้ว พระอาจารย์สุก พระอาจารย์ ของท่าน ได้มอบ ไม้เท้าเบิกไพรให้ท่าน ๑ อัน เรียกว่าไม้เท้า ไผ่ยอดตาล
พระอาจารย์สุก ท่านได้ไม้เท้า ไผ่ยอดตาล มาจากจากถ้ำ ในป่าลึกแห่งหนึ่ง เป็น
ของบูรพาจารย์ ท่านทิ้งสังขารไว้ ในถ้ำแห่งนั้น พร้อมไม้เท้า เบิกไพร ไผ่ยอดตาล
พระพุทธศักราช ๒๓๒๗ ประมาณต้นปี พระอาจารย์ขาว ท่านได้เดินทางกลับ
จากป่า มาวัดท่าหอย ท่านทราบว่าพระอาจารย์สุกมากรุงเทพฯ ท่านจึงลาพระอาจารย์
มาก เจ้าอาวาสวัดท่าหอย ขอเดินทางมาช่วยงานพระอาจารย์สุก ที่วัดพลับ กรุงเทพฯ
และท่านได้สถิตวัดพลับตั้งแต่นั้นตลอดมา ต่อมาพระญาณสังวรเถร(สุก) แต่งตั้งให้ท่าน
เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม)
ครั้งนั้นบาตรดินเผา บริขารเดิมของท่านเกิดชำรุด พระญาณสังวรเถร (สุก) จึง
ประทานบาตรดินเผาเดิมของพระองค์ท่านที่นำมาจากวัดท่าหอย ประทานให้แก่พระ
อาจารย์ขาว ใช้แทนบาตรดินเผา บริขารเดิมของท่าน ที่ชำรุด พระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระอาจารย์ขาว ได้เป็นถานานุกรมที่ พระครูธรรมรักขิต ของพระญาณสังวร
พระพุทธศักราช ๒๓๓๗ พระครูธรรมรักขิต (ขาว) ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระครูปลัด
ถานานุกรมของ พระญาณสังวร (สุก) เนื่องจากพระครูปลัดชิต ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณวิสุทธิเถร ( ท่านเจ้าคุณหอไตร)
พระพุทธศักราช ๒๓๕๙ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ ปีชวด ได้รับ
พระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณโพธิ์เถร คราว
สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี) รับพระราชทานพัดงาสาน เมื่อท่านเป็นพระราชาคณะ
นั้น อายุท่านประมาณได้ ๗๙ ปี เหตุที่ท่านไม่ได้เป็นราชาคณะมาแต่ก่อนนั้น เพราะท่าน
ไม่ติดลาภยศ ได้ปฏิเสธเรื่อยมา ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ขอให้
ท่านรับเป็นพระราชาคณะ รับภารธุระทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงยอมรับ
ตำแหน่งที่ พระญาณโพธิ์นี้ ถ้าผู้ครองตำแหน่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนา
ธุระ เติมคำว่า เถร เป็นพระพระญาณโพธิ์เถร ถ้าผู้ครองตำแหน่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายคันถะ
ธุระ ไม่มีคำว่า เถร เป็น พระญาณโพธิ์
พระพุทธศักราช ๒๓๖๒ ประมาณปลายปี ร่วมกับพระเถรานุเถระ ผู้ใหญ่ ผู้น้อย
ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์รัตนสูตร ปราบอหิวาตกโรค ห่าลงเมืองในรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ทำการสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๖ ท่านอาพาธลงด้วยโรคชรา กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์
เสด็จเยี่ยมอาการอาพาธของท่าน และมีพระดำริในพระทัยว่า ถ้าพระอาจารย์มรณะภาพ
ลง จะกราบบังคมทูลขอถวายเกียรติยศจากพระเจ้าแผ่นดิน (รัชกาลที่ ๒)ให้เป็นพิเศษ
เพื่อบูชาคุณธรรมของท่าน เพราะท่านเป็นพระอาจารย์ของกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ด้วย
องค์หนึ่ง ทรงนับถือว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่บรรลุคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา เพราะท่าน
ทรงคุ้นเคยกันมาแต่ครั้งทรงผนวชอยู่ที่วัดราชสิทธารามนี้ ๑ พรรษา
พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) ท่านทราบความดำรินี้ พระญาณโพธิ์เถร ได้กล่าวขึ้นมา
ลอยๆว่า ธรรมดาศิษย์ไม่ควรทำตัวเทียบ ตีเสมอพระอาจารย์
อาจารย์ในที่นี้ หมายถึง สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) กรมหมื่นเจษฏา
บดินทร์ ทรงสดับฟังดังนั้น ก็ทรงเข้าพระทัยดี ต่อมาเมื่อพระญาณโพธิ์เถร ถึงแก่
มรณะภาพลง เมื่อสิริรวมมายุได้ประมาณ ๘๖ ปี
พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) มรณะภาพภายหลัง สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
๑ ปี(นับเดือนไทย) สรีระสังขารของ พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) ทางวัดเก็บบำเพ็ญกุศลไว้
ได้ประมาณ ๑ ปีเศษ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) ก็ถึงแก่มรณะภาพลงอีกองค์หนึ่ง และทางวัด
ก็ได้เก็บสรีระของ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) ไว้บำเพ็ญกุศลอีกประมาณ ๑ ปีเศษ ระหว่างเก็บ
สรีระบำเพ็ญกุศล พระมหาเถรทั้งสองท่านอยู่ พระพรหมมุนี (ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอ
ไตร ก็อาพาธถึงแก่มรณะภาพลงอีก เวลานั้นที่วัดราชสิทธาราม จึงมีการตั้งบำเพ็ญมหา
กุศล สรีระสังขารของ พระมหาเถรผู้ใหญ่ถึงสามท่าน
การตั้งบำเพ็ญกุศล อดีตพระมหาเถร ณ. ศาลาการเปรียญหลังเก่า หลังพระ
อุโบสถ เป็นประเพณีของผู้คนในครั้งนั้น ถ้าพระเถรผู้ใหญ่ที่มีผู้คนเคารพนับถือมาก
มรณะภาพลง จะเก็บสรีระสังขารของท่านไว้บำเพ็ญกุศลหลายปี ยกเว้นตำแหน่งสมเด็จ
พระสังฆราช สมเด็จราชาคณะ เมื่อครบ ๑๐๐ วัน ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
พระราชทานเพลิงเลย
พระราชาคณะ พระครู พระถานานุกรม วัดราชสิทธาราม ที่ตั้งอยู่ในฐานะพระ
อาจารย์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และทรงนับถือว่าเป็นผู้บรรลุคุณ
วิเศษในพระพุทธศาสนานั้น นอกจากองค์พระอาจารย์ใหญ่คือ สมเด็จพระสังฆราช (ไก่
เถื่อน)แล้ว ยังมี พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) ๑ พระพรหมมุนี (ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอไตร ๑ พระ
วินัยรักขิต (ฮั่น) ๑ พระครูวินัยธรรมกัน ๑ พระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า) ๑ พระญาณโกศล
เถร (มาก) ๑ พระเทพโมลี (กลิ่น) ๑ พระปิฏกโกศลเถร (แก้ว) ๑ พระญาณสังวร (ด้วง) ๑
พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) ๑ พระญาณสังวร (บุญ) ๑ พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ๑ เพราะ
ท่านทั้งหลายเหล่านี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงคุ้นเคย ทรงเคยมีพระ
ราชปฎิสันฐาน ทรงเคยทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษวัตรปฏิบัติปฏิปทาอันงดงาม มาแต่
ครั้งทรงผนวชอยู่ ณ. วัดราชสิทธาราม หนึ่งพรรษา ภายหลังรงลาผนวชแล้วยังได้ทรงติดตามเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ มาวัดราชสิทธารามเสมอเนืองๆ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้น
ครองราชสมบัติแล้ว ก็เสด็จพระราชดำเนินมาวัดราชสิทธารามบ่อยครั้ง เช่นคราวเสด็จ
พระราชดำเนินมา ทรงทอดผ้าพระกฐินทาน เป็นต้น อีกทั้งพระมหาเถระ ที่กล่าวนาม
มาแล้วในที่นี้ก็ตั้งอยู่ในฐานะพระอาจารย์ของ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) และพระมหา
เถรทั้งหมดที่กล่าวนามมาแล้วนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี นับถือมาก
เพราะเป็นพระมหาเถรรุ่นอาจารย์ของท่าน สมัยครั้งยังศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ อยู่ในสำนักพระญาณสังวรเถร (สุก) ไก่เถื่อน

 
 

 ประวัติพระปัญญาภิษารเถร (ศุก)
00019

ประวัติพระปัญญาภิษารเถร (ศุก)
พระปัญญาภิศาลเถร หรือพระอาจารย์ศุก ท่านเกิดประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๗๘ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ท่านบรรพชา-อุปสมบท ณ วัดโคกขวิด (โคกมะขวิด) แขวงอยุธยา อุปสมบทแล้วเล่าเรียนพระปริยัติ และพระกรรมฐาน ในสำนัก
พระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้ออกสัญจรจาริกธุดงค์ หาความสงบ วิเวก ไปตามสถานที่ต่างๆ
ไปกับหมู่คณะบ้าง ไปลำพังเพียงองค์เดียวบ้าง จนท่านมีความชำนาญ ในการออกป่า
ขากลับจากรุกขมูล ท่านพบพระอาจารย์สุก ที่ป่าชุมแพ (อยุธยา) แขวงสิงห์บุรี
พระอาจารย์สุก ทรงสอนวิชาพระกรรมฐานชั้นสูง โดยให้ท่านศึกษาวิชาสงัดจิต สงัดใจ
เพ่งจิตให้สงบวิเวก วังเวง อธิฐานอาโปธาตุ ลงไปในน้ำ ทำให้เย็น ทำให้ร้อน ทำให้เดือด
ท่านได้พบไม้เท้าเถาอริยะในถ้ำแห่งหนึ่ง ท่านนำติดตัวไป-มาเสมอ เป็นไม้เท้า
ของเก่า ของบูรพาจารย์ แต่โบราณกาล ท่านพบในถ้ำป่าลึกแห่งหนึ่ง
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗ ท่านจาริกกลับจากป่า มาวัดท่าหอย ทราบข่าวว่า
พระอาจารย์สุก และคณะสงฆ์อนุจร มาสถิตอยู่วัดพลับ ท่านจึงเดินทางออกจากวัดท่าหอย พร้อมเพื่อนสหธรรมิก มาวัดพลับ เพื่อช่วยกิจการพระศาสนา ต่อมาพระญาณ
สังวรเถร (ศุก) ตั้งให้ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครู
วิปัสสนาธุระที่ พระครูธรรมสถิต เป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐาน ในวัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ พระครูธรรมสถิต (ศุก) ได้รับพระราชทานเลื่อน
สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระปัญญาภิษารเถร โปรดเกล้าฯ ให้
ไปครองวัด โปรดเกษเชษฐาราม วัดอรัญวาสีหัวเมือง สืบสายพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ชาวบ้านแถวเมืองนครเขื่อนขันธ์ ให้
ฉายานามท่านว่า ท่านท่าหอย เนื่องจากท่านมีปฏิปทา มีเมตตา เหมือนสมเด็จพระอาจารย์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๗ ประมาณกลางปี พระปัญญาภิษารเถร (ศุก) อาพาธ
ลงด้วยโรคชรา และได้มรณะภาพลง เมื่อสิริมายุได้ประมาณ ๘๘ ปีเศษ ณ วัดโปรดเกษ
เชษฐาราม เมืองนครเขื่อนขันธ์

 
 

Pages

Subscribe to RSS - กรรมฐาน