๗. ประวัติพระญาณวิสุทธิ์เถร (เจ้า)

 ประวัติพระญาณวิสุทธิ์เถร (เจ้า)

00015 ประวัติพระญาณวิสุทธิ์เถร (เจ้า)
อดีตพระอาจารย์กรรมฐาน และอดีตรักษาการเจ้าอาวาสสองสมัย
พระญาณวิสุทธิ์ (เจ้า) ท่านเกิดประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๒ ในรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บรรพชา-อุปสมบทประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๐๓ รัชสมัย
พระเจ้าเอกทัศน์ ณ วัดโรงช้าง พระญาณรักขิต(สี) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์สุก
เป็นพระพี่เลี้ยง
ต่อมาพระอาจารย์สุก ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาส วัดท่าหอย สมัยอยุธยา พระญาณ
วิสุทธิ์ (เจ้า) ครั้งเป็นภิกษุเจ้า ได้ย้ายตาม พระอาจารย์สุก ไปอยู่วัดท่าหอยด้วย
เมื่อกรุงศรีอยุธยา ใกล้ล้มสลาย พระอาจารย์เจ้า ได้นมัสการกราบลาพระอาจารย์
สุก ออกจากวัดท่าหอยหลบภัยพม่า ล่องลงมาอยู่ในป่า ทางทิศตะวันออก ของกรุงศรีอยุธยา
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๑ สมัยกรุงธนบุรี พระอาจารย์เจ้า ท่านได้จาริก
ออกมาจากป่าทางตะวันออก มาถึงวัดท่าหอย เนื่องจากทราบข่าวว่า พระอาจารย์สุก ซึ่ง
เป็นทั้งพระพี่เลี้ยง และพระอาจารย์ของท่าน กลับมาวัดท่าหอยแล้ว พระอาจารย์เจ้า
ท่านมีพระอุปัชฌาย์ และอาจารย์เดียวกันกับพระอาจารย์สุก พระอุปัชฌาย์ ได้มอบให้
พระอาจารย์สุก เป็นพระพี่เลี้ยง คอยดูแลอบรม พระอาจารย์เจ้า ในครั้งนั้น
เมื่อพระอาจารย์เจ้ามาอยู่วัดท่าหอย ยุคธนบุรีครั้งนั้น พระอาจารย์สุก ได้
ประทานไม้เท้าเบิกไพร เถาอริยะ ซึ่งพระองค์ท่านได้มาจากถ้ำในป่าลึกแห่งหนึ่ง แขวง
เมืองสุรินทร์ อันเป็นของบูรพาจารย์แต่ก่อนเก่า ซึ่งท่านมาละทิ้งสังขาร และทิ้งไม้เท้าเถา
อริยะไว้ในถ้ำแห่งนั้น
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗ พระอาจารย์เจ้าทราบข่าวว่า พระอาจารย์สุก
มาสถิตวัดพลับ กรุงเทพฯ ท่านจึงเดินทางมาวัดพลับ เมื่อเห็นความสงบร่มเย็นของวัด
พลับแล้ว ท่านชอบใจมาก
ต่อมาพระญาณสังวรเถร (สุก) ทรงแต่งตั้งพระอาจารย์เจ้า เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย
บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แก่พระภิกษุสามเณร ที่วัดราชสิทธาราม
พระอาจารย์เจ้า ท่านเป็น พระติดป่า หมายถึงชอบอยู่ป่าเป็นวัตร ท่านชอบความ
สงบ วิเวกของป่า ท่านไม่ชอบความสับสนวุ่นวายของผู้คน ท่านได้รับมอบไม้เท้าเบิก
ไพร อันหนึ่งจากพระอาจารย์สุก เรียกว่า ไม้เท้าเถาอริยะ ซึ่งเป็นของเก่าแก่ของบูรพาจารย์
ความเป็นมาของ ไม้เท้าเถาอริยะ
ไม้เถาอริยะ เป็นไม้เถาชนิดหนึ่งที่ขึ้นขนานเกี่ยวพันไปกับต้นไม้ใหญ่ ตรงปลาย
พันเกี่ยวกับกิ่งไม้ใหญ่ จะเป็นไม้เถาพันธ์อะไรก็ได้ ต่อมาเถาไม้ ที่เกี่ยวพันอยู่กับต้นไม้
ใหญ่นี้ ถูกฟ้าผ่าลงบ่อยครั้ง เนื่องจากเถาวัลย์ไม้นี้เกี่ยวพันอยู่กับต้นไม้ที่สูงที่สุดในป่า
และกาลต่อมาเถาไม้ที่พันเกี่ยวอยู่กับต้นไม้ใหญ่ตายลง รุกขเทวดาประจำเถาวัลย์ มีจิต
ศรัทธาต้องการที่จะช่วยทนุบำรุง ค้ำจุนพระพุทธศาสนา ครั้นเห็นพระธุดงค์ผ่านมาทาง
นั้น เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นอริยะบุคคลขั้นต้นแล้ว หรือต่อไปภายหน้าจะได้เป็นอริยบุคคล
รุกขเทวดาประจำเถาวัลย์ มีความศรัทธาจะไปกับพระธุดงค์นั้น เพื่อสร้างสมบุญ
กุศล จึงเข้าไปบอกพระธุดงค์ทางสมาธินิมิตขณะที่พระธุดงค์กำลังเจริญภาวนาพระ
กรรมฐานอยู่ รุกขเทวดาประจำเถาวัลย์ จะบอกให้พระธุดงค์ไปตัดเอาไม้เถาวัลย์นี้มาทำ
ไม้เท้าเบิกไพร และเนื่องจากไม้เถาวัลย์นี้ตายแล้วเทวดาประจำเถาวัลย์ไม่สามารถสิง
สถิตอยู่ได้ ดังนั้นรุกขเทวดานั้นจะนำทางพระธุดงค์ไปตัดเถาไม้นั้น เมื่อพระธุดงค์ตัดไม้
เถาวัลย์นั้นมาทำเป็นไม้เท้าเบิกไพรแล้ว ไม้เถาวัลย์นี้ตัดได้ ไม่ผิดพระวินัยเพราะเป็นไม้
เถาวัลย์ที่ตายแล้ว เนื่องจากถูกฟ้าผ่า ไม่เป็นการพรากของเขียว มอด ปลวกจะไม่กัดกิน
อยู่ได้นานไม่ผุพังง่าย เพราะถูกลนไฟจากฟ้าผ่า และด้วยอำนาจแห่งการแผ่เมตตาของ
พระสงฆ์ เมื่อตัดมาแล้ว รุกขเทวดาประจำไม้เถาวัลย์ก็เข้ามาสิงสถิตอยู่ณ.ไม้เถาวัลย์นี้
ติดตามพระสงฆ์อริย์บุคคลไปทั่ว ด้วยอำนาจแห่งรุกขเทวดา ด้วยอำนาจแห่งคุณของอริย
สงฆ์ที่แผ่เมตตา ไม้เท้านี้จึงมีอำนาจพิเศษป้องกันภัยต่างๆได้ ไม้เท้านี้เมื่อมาอยู่ในมือ
ของพระธุดงค์ ผู้เป็นอริยะสงฆ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นไม้เถาวัลย์พันธุ์อะไรก็จะเรียกว่า ไม้เท้า
เถาอริยะ ทั้งสิ้น ที่วัดพลับมีพระสมถะอริยะสงฆ์ได้ไม้เท้าเถาอริยะหลายท่านเช่น
พระเทพโมลี (กลิ่น) พระปิฏกโกศลเถร (แก้ว) พระญาณโกศลเถร(มาก) พระญาณโกศล
เถร (รุ่ง)ฯ อีกหลายท่านที่ไม่ปรากฏนาม กล่าวว่า หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็มีไม้เท้าเถาอริยะนี้เช่นกัน เพราะเป็นพระอริยบุคคล
รุกขเทวดา เมื่อมาสิงสถิตในไม้เท้าเถาอริยะแล้ว เทวดาก็จะสมาทานศีลอันหมด
จด ประพฤติธรรมให้สุจริต ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำของรุกขเทวดานั้น รุกขเทวดา
จะมีความสุขตลอดกาล อายุของรุกขเทวดานั้นก็จะเจริญ เพราะได้รักษาศีล ประพฤติ
ธรรมอันสุจริตนั้น
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ พระอาจารย์เจ้าเป็น พระครูญาณวิสุทธิ พระครู
วิปัสสนา ถานานุกรมของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน (สุก)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เข้าร่วมเป็นคณะคณะกรรมการ ทำสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะฝ่าย
วิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิสุทธิ์เถร พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ รับ
พระราชทานพัดงาสาน แทนตำแหน่งพระญาณวิสุทธิเถร (ชิต) ที่ได้รับพระราชทาน
เลื่อนที่เป็น พระธรรมมุนี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม สมัยท่านเจ้า
คุณหอไตรมรณะภาพ ซึ่งขณะนั้นพระเทพโมลี (กลิ่น) ยังอาพาธอยู่ พระญาณวิสุทธิเถร
(เจ้า)ไม่รับเป็นเจ้าอาวาส เพราะท่านเป็น พระติดป่า
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เป็นครั้งที่
สอง สมัยพระเทพโมลี(กลิ่น) มรณะภาพ พระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า)มรณะภาพลงระหว่าง
รักษาการเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม (พลับ)ครั้งหลังนี้ เมื่อสิริรวมอายุได้ประมาณ ๘๗
ปี ท่านเป็นอีกองค์หนึ่งที่มีผู้คนนิยมเคารพนับถือมาก ในสมัยนั้น