๖. ประวัติพระครูวินัยธรรม (กัน)

 ประวัติพระครูวินัยธรรมกัน
00014

ประวัติพระครูวินัยธรรมกัน
พระครูวินัยธรรม หรือพระอาจารย์กัน ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๗ กรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายจีน พระอาจารย์สุก
พบพระอาจารย์กัน ณ วัดสิงห์ แขวงกรุงเก่า ท่านนุ่งขาว ห่มขาว(เฉพาะวันธรรมสวนะ)
ถือศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดแห่งนั้น
พระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นว่าต่อไปภายหน้า อุบาสกกันจะได้
สำเร็จมรรคผลในพระพุทธศาสนา ต่อมาประมาณสามเดือนเศษ อุบาสกกัน ท่านก็มาขอ
บรรพชา-อุปสมบท กับพระอาจารย์สุก เพราะเลื่อมใสในเมตตาธรรมของ พระอาจารย์
สุก ซึ่งเวลานั้นครอบครัวของอุบาสกกัน ยังพลัดพรากกระจัดกระจาย ไปคนละทิศละ
ทาง ไม่พบพานเลยสักคน
ท่านบรรพชา-อุปสมบท ณ พัทธ์เสมา วัดท่าหอย มีพระอาจารย์สุก เป็นพระ
อุปัชฌาย์ พระอาจารย์ศุก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สี เป็นพระ
อนุศาสนาจารย์
อุปสมบทแล้ว ในพรรษานั้นท่านศึกษาเล่าเรียนกรรมฐานมัชฌิมา กับพระ
อาจารย์สุก องค์พระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาอยู่นานประมาณ แปดเดือนจึงจบสมถะ-
วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ กลางวันท่านเล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์สุก
กลางคืน ท่านบำเพ็ญเพียรสมณะธรรม
ต่อมาไม่นานเมื่อท่านศึกษาพระกรรมฐานจบแล้ว ท่านก็ได้บรรลุมรรคผล
ตามลำดับ ได้อานาคามีมรรค อานาคามีผล ได้มรรคสาม ผลสาม อภิญญาหก เป็นกำลัง
สำคัญให้กับพระอาจารย์สุก และพระพุทธศาสนา
ต่อมาพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านได้มอบไม้เท้าไผ่ยอดตาล ของท่าน
บูรพาจารย์แต่ก่อนเก่า ที่พระองค์ท่านได้มาจากถ้ำในป่าลึก แขวงเมืองกำแพงเพชร
พระองค์ท่านทรงเห็นว่า ไม้เท้าไผ่ยอดตาลอันนี้ เหมาะสมกับพระอาจารย์กัน พระองค์
ท่านจึงประทานให้กับพระอาจารย์กัน ไว้ใช้เบิกไพร แผ่เมตตาตา เวลาออกสัญจรจาริก
ธุดงค์
ต่อมาเมื่อท่านออกจาริกธุดงค์ ท่านได้พบปรอทกรอ ท่านได้มาทำเป็นปรอท
กายสิทธิ์ ประจุไว้ที่หัวไม้เท้าไผ่ยอดตาล ซึ่งน้อยองค์นักที่จะทำปรอทกายสิทธิ์ ให้
สำเร็จได้ ต้องเป็นคนที่มีบุญวาสนาบารมีมาทางนี้ ไม้เท้าไผ่ยอดตาลที่พระอาจารย์สุก
ทรงประทานให้พระอาจารย์กันนี้ ตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ในวัดราชสิทธาราม
ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๑๔๕
ตรงกับปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตาม พระอาจารย์สุก มา
กรุงเทพฯ ปีนั้นเองท่านได้รับแต่งตั้ง เป็นพระใบฎีกา ถานานุกรม ของพระญาณสังวร
เถร (สุก) รับหน้าที่ดูแลเสนาสนะ ความเรียบร้อยของภิกษุสามเณร ภายในวัด และรับ
หน้าที่เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐาน ของพระปลัดชิต และพระอาจารย์
ผู้ช่วยบอกหนังสือ ของพระสมุห์ฮั่น เปรียญด้วย ในระยะแรกๆนั้นท่านได้ช่วยพระ
อาจารย์ทั้งสองจารหนังสือเอาไว้สำหรับใช้สอนพระภิกษุ ภายในวัด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระใบฏีกากัน ได้เลื่อนเป็นถานานุกรมที่ พระครู
ใบกีกากัน ถานานุกรม ของ พระญาณสังวร (สุก)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ พระครูใบฏีกากัน ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูวินัย
ธรรม ถานานุกรม ของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เนื่องจากอัธยาศัยใจจริงของท่าน
เป็นผู้ไม่ติดในลาภยศ ในเกียรติยศ ท่านรับเป็นถานานุกรม เพราะมีความเคารพในพระ
อาจารย์อย่างสูง ท่านมีดำริในใจว่า ต่อไปจะไม่ขอรับเป็นสมณะศักดิ์อันใดขึ้นไปอีก
สมเด็จญาณสังวร ทรงทราบความดำริของท่าน ถึงความตั้งใจจริงของท่าน เพราะ
ศิษย์กับอาจารย์ย่อมทราบอัธยาศัยกันดี เหตุเพราะบรรลุคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา
ด้วยกัน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๒ เข้าร่วมทำพิธีอาพาธพินาศ ทำน้ำพระพุทธมนต์รัตน
สูตร ปราบหอิวาตกโลก ห่าลงเมืองในรัชกาลที่๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ ร่วมเป็นพระอาจารย์เข้าคุมการทำสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในปลายรัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ร่วมเป็นคณะกรรมการหล่อพระรูปสมเด็จ
พระสังฆราช ไก่เถื่อน และเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ของพระพรหมมุนี (ชิต)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ เป็นพระอาจารย์ใหญ่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ องค์ที่สามของสำนักวัดราชสิทธาราม สมัยพระเทพโมลี (กลิ่น) ครองวัดราช
สิทธาราม ปีนั้นเองพระครูวินัยธรรมกัน ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็น พระ
คณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีพระอาจารย์คำ เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกพระ
กรรมฐานฯ
พระพุทธศักราช ๒๓๖๙ ประมาณปลายปี ท่านอาพาธ และมรณะภาพลงด้วยโรค
ชรา เมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี พระครูวินัยธรรมกัน ท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่ง
ดัง ผู้คนเคารพนับถือยำเกรงท่านมากในสมัยนั้น ท่านเป็นสัทธิวิหาริก และพระสงฆ์
อนุจรติดตาม สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และเป็นพระอาจารย์ ของพระเทพโมลี(กลิ่น)
ครั้งนั้นยังมิได้พระราชทานเพลิงศพพระครูวินัยธรรมกัน พระเทพโมลี (กลิ่น)
เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ก็มาถึงแก่มรณะภาพลงอีก ครั้งนั้นพระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า)
ได้เป็นรักษาการเจ้าอาวาส รักษาการไม่กี่เดือนก็ได้ถึงมรณะภาพลงอีกองค์หนึ่ง ใน
ระหว่างรักษาการนั้น
ต่อมาพระญาณโกศลเถร (มาก) ได้เป็นรักษาการต่อมาจาก พระญาณวิสุทธิเถร
(เจ้า) และท่านก็ได้ถึงแก่มรณะภาพลงอีก ในระหว่างรักษาการเจ้าอาวาสนั้น เวลานั้น
ทางวัดราชสิทธาราม มีการตั้งบำเพ็ญกุศลสรีระสังขาร ของอดีตพระมหาเถรผู้ใหญ่ ฝ่าย
วิปัสสนาธุระเจ็ดองค์