ประวัติพระวินัยรักขิต (ฮั่น) พระวินัยรักขิต มีนามเดิมว่า ฮั่น เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๔ แขวงกรุงเก่า สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ท่านมีเชื้อสายจีน พระอาจารย์สุก มาพบท่าน ถือศีลนุ่งขาว ห่มขาวอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ในแขวงกรุงเก่า ท่านศึกษาธรรมปฏิบัติอยู่ระยะ หนึ่ง จึงมาขอบรรพชา-อุปสมบทกับพระอาจารย์สุก เหตุที่ท่านไม่ได้อุปสมบทมาแต่ อายุ ๒๐–๒๑ นั้นเพราะ ครอบของท่านยังมีเหตุยุ่งยากอยู่ จึงยังไม่ได้ทำการอุปสมบทใน เวลานั้น ต่อมาท่านได้ บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดท่าหอย โดยมีพระอาจารย์สุก เป็นพระ อุปัชฌาย์ พระอาจารย์สี พระอาจารย์ศุก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระ อนุศาสนาจารย์ อุปสมบทแล้ว ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา กับพระอาจารย์สุก ภายในระยะเวลา ๖ เดือนเศษท่านก็สามารถศึกษาจบทั้งสมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ เวลากลางคืน ท่านบำเพ็ญกรรมฐาน กลางวันท่านศึกษาเล่าเรียนพระบาลีคัมภีร์มูลกัจจายน์ หรือคัมภีร์ พระบาลีใหญ่ กับพระอาจารย์สุก เมื่อท่านศึกษาเบื้องต้นพระบาลีมูลกัจจายน์จบที่วัดท่า หอยแล้ว ต่อมาพระอาจารย์สุก จึงฝากท่าน ให้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนพระบาลีมูลกัจจายน์ ชั้นสูง ต่อที่กรุงธนบุรี กับพระศรีสมโพธิ์ (ศุก) ณ วัดสลัก (มหาธาตุ) ต่อมาท่านสามารถ สอบผ่านคณะกรรมการสามกองได้ ท่านจึงได้เป็นเปรียญ ท่านเป็นเปรียญแล้ว จึง เดินทางกลับวัดท่าหอย ช่วยพระอาจารย์สุก เผยแผ่พระศาสนาต่อไป สมัยที่ท่านจบสมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับแล้ว ไม่นานท่านก็ได้บรรลุ ธรรมตามลำดับจนถึง อนาคามีมรรค อนาคามีผล ได้มรรค๓ ผล๓ อภิญญาหก เป็นพระ อริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เป็นกำลังให้พระอาจารย์สุก ทั้งในด้านวิปัสสนาธุระ และคันถะธุระ ต่อมาพระอาจารย์สุก ได้ประทานไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล อันเป็นของ บูรพาจารย์สืบทอดกันต่อๆมา พระอาจารย์สุก พระองค์ท่านได้มาจาก ถ้ำในป่าลึก ดง พญาเย็น แขวงอุตรดิตถ์ พระองค์ท่าน ทรงประทานให้พระอาจารย์ฮั้น เอาไว้ใช้เบิกไพร แผ่เมตตา เวลาออกสัญจรจาริกธุดงค์ ไปตามป่าเขา ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตาม พระอาจารย์สุก มา กรุงเทพฯ สถิตวัดพลับ กาลต่อมาได้เป็น พระสมุห์ ถานานุกรมทรงเครื่อง ของพระญาณ สังวรเถร (สุก) ทำหน้าที่บอกหนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายคันถะธุระ บอกพระปริยัติธรรมบาลี พระองค์แรก ของวัดราชสิทธาราม(พลับ) ท่านเป็นพระอาจารย์ บอกพระบาลีมูลกัจจายน์เบื้องต้น ของพระเทพโมลี (กลิ่น)ด้วย สมัยแรกที่ ท่านสถิตวัดพลับนั้น หนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ไม่พอให้พระภิกษุ ศึกษากัน พระญาณสังวรเถร (สุก) พระปลัดชิต พระสมุห์ฮั่น เปรียญ ต้องช่วยกันจาร หนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ กัณฑ์ต้นๆเป็นหลายผูก ซึ่งสมัยนั้นต้องไปขอยืม พระ คัมภีร์มูลกัจจายน์ จากพระสังฆราช (สี) วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆัง) และจากพระพนรัต (สุก) สำนักวัดสลัก (วัดมหาธาตุ) มาช่วยกันจารคัดลอกขึ้นเป็นหลายฉบับ จารเอาไว้ สำหรับให้พระภิกษุได้ใช้ศึกษากัน ที่วัดพลับ การจารครั้งนั้นของพระสมุห์ฮั่น เปรียญ เป็นการจารเพื่อทบทวนบทเรียนพระ บาลีไปด้วยในตัว แต่การศึกษาพระบาลีขั้นสูง ทางสำนักวัดพลับ จะส่งพระภิกษุสงฆ์ไป ศึกษาต่อที่ สำนักพระสังฆราช วัดบางหว้าใหญ่บ้าง สำนักพระพนรัต (ศุก) วัดสลักบ้าง (วัดมหาธาตุ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำนักเรียนพระบาลีสำนักใหญ่ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระพุทธศักราช ๒๓๒๗–๒๓๒๘ พระสมุห์ฮั่น ได้เลื่อนเป็นถานานุกรมที่ พระ ครูสมุห์ฮั่น และได้เข้าร่วมผูกพัทธสีมา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และช่วยพระญาณ สังวรเถรพิมพ์พระอรหัง ด้วยจำนวนหนึ่ง พระพุทธศักราช ๒๓๓๑ ในรัชกาลที่๑ พระครูสมุห์ฮั่น เปรียญ ถานานุกรม ทรงเครื่อง เข้าร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ ทรงพระปริยัติธรรม องค์หนึ่งใน ๒๑๘ รูป ทำ สังคายนาพระไตรปิฎก พระพุทธศักราช ๒๓๓๗ พระครูสมุห์ฮั่น เปรียญ ได้รับพระราชทานสมณะ ศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระวินัยรักขิต หรือ ตำแหน่งพระอุบาลี เดิม พระครูสมุห์ฮั่น เปรียญเป็น พระวินัยรักขิต องค์ที่สองของกรุง รัตนโกสินทร์ ต่อจากพระวินัยรักขิต (มี) วัดราชบูรณะ พระพุทธศักราช ๒๓๔๙ ได้เข้าร่วมเป็นคณะสงฆ์ ๒๘ รูป ถวายสัจจะสาบาน ถวายพระพร ยกเจ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวร สถานมงคล (รัชกาลที่ ๒) พระพุทธศักราช ๒๓๖๒ ประมาณปลายปี เป็นกำลังสำคัญในการสวดพระปริต รัตนสูตร ปราบอหิวาตกโรค หรือโรคห่าลงเมืองในรัชกาลที่ ๒ พระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เป็นคณะกรรมการเข้าร่วมทำการสังคายนาพระ กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระพุทธศักราช ๒๓๖๕ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฝ่ายสงฆ์ หล่อพระรูป สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ณ. วัดราชสิทธาราม พระพุทธศักราช ๒๓๖๗ อาพาธ และมรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อสิริรวมอายุ ท่านได้ ๘๓ ปีเศษ ทางคณะสงฆ์วัดพลับ เก็บพระสรีระสังขารของท่านบำเพ็ญกุศลไว้ สองปีเศษ
|